รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 23, 2012 12:15 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. ชัชชาติเตรียมเสนอ ครม.ต้น ส.ค.อนุมัติสร้างมอเตอร์เวย์เชื่อมนิคมฯ ทวาย

2. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที 13 ก.ค.55 อยู่ที 1.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

3. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ปรับลดการคาดการณ์เติบโตของเศรษฐกิจเอเชียในปีนี

Highlight:
1. ชัชชาติเตรียมเสนอ ครม.ต้น ส.ค.อนุมัติสร้างมอเตอร์เวย์เชือมนิคมฯทวาย
  • นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอทีประชุม ครม.ต้นเดือน ส.ค. พิจารณาอนุมัติโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางใหญ่ - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี ระยะทาง 98 กิโลเมตร งบประมาณ 24,040 ล้านบาทและเส้นทางบางปะอิน - นครราชสีมา ระยะทาง 199 กิโลเมตร งบประมาณ 59,000 ล้านบาท เพือรองรับโครงการท่าเรือนำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย นอกจากนี นายชัชชาติยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจุบันต้นทุนด้านระบบโลจิสติกส์ของไทยค่อนข้างสูง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจเลือกลงทุนในกลุ่มประเทศเพือนบ้านแทน ดังนันเพือเตรียมความพร้อมในระบบคมนาคม เพือรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ไทยจึงควรลดต้นทุน โดยการเปลียนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนทีมีต้นทุนด้านขนส่งสูงถึง 86% มาเป็นระบบราง
  • สศค.วิเคราะห์ว่า โครงการสร้างถนนเชือมต่อระหว่างไทยและพม่า (ทวาย) ดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย เนืองจากทวายถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาคในอนาคต โดยในปัจจุบันได้มีโครงการพัฒนาท่าเรือนำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ซึงจะส่งผลทำให้ทวายสามารถก้าวขึนมาเป็นศูนย์กลางของการค้าในภูมิภาคนี ดังนัน การสร้างระบบคมนาคมขนส่งเชือมต่อระหว่างทวายและไทย ย่อมเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชนไทยในอนาคต ส่วนระบบโลจิสติกส์ของไทยควรมีการปรับปรุงเพือดึงดูดนักลงทุนให้มากขึน โดยจากข้อมูลความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ทีจัดทำโดย World Bank พบว่าไทยอยู่อันดับที 35 ของโลก โดยยังเป็นรองประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนี พบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยอยู่ทีร้อยละ 17-20 ซึงเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูง เมือเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วทีมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยควรเร่งปรับปรุงระบบขนส่งทังระบบเพือเพิมขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์
2. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 13 ก.ค.55 อยู่ที่ 1.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 13 ก.ค.ปี 55 อยู่ที่ระดับ 1.747 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5.551 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.11 หมื่นล้านบาท จากสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 1.734 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5.485 ล้านล้านบาท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศทีปรับตัวสูงขึน ส่วนหนึงคาดว่าเป็นผลมาจากการดูแลเสถียรภาพทางด้านอัตราแลกเปลียนของธนาคารแห่งประเทศไทยทีไม่ให้อัตราแลกเปลียนมีความผันผวนมากนัก โดย ณ วันที่ 20 ก.ค.55 ค่าเงินบาทอยู่ทีระดับ 31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึนจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.20 แต่ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินของประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม จากการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศปรับตัวสูงขึน จะเป็นปัจจัยบวกในแง่ของเสริมสร้างให้เสถียรภาพภายนอกทางเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็งเพิมขึน และจะช่วยรองรับความความเสียงจากปัจจัยภายนอกทีจะเข้าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้
3. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ปรับลดการคาดการณ์เติบโตของเศรษฐกิจเอเชียในปีนี
  • ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ปรับลดการคาดการณ์เติบโตของเศรษฐกิจเอเชียในปีนี้ โดยมองว่าสมาชิก 44 ประเทศของเอดีบีไม่นับรวมญี่ปุ่นและประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.6 จากที่เคยประมาณการไว้เมือเดือนเมษายนว่า จะเจริญเติบโตร้อยละ 6.9 นอกจากนี้ เอดีบียังได้ปรับลดคาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้าลงมาเหลือร้อยละ 7.1 จากที่เคยประเมินว่าจะเติบโตร้อยละ 7.3
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียสอดคล้องกับการประมาณการเศรษฐกิจของ IMF และหน่วยงานเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มการเจริญเติบโตชะลอลงเนื่องมาจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีสาเหตุหลักมาจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนซึ่งมีแนวโน้มยืดเยื้อ ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่า จีนและอินเดียที่ถือเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักของภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มทีจะชะลอตัวลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเหลือร้อยละ 7.9 จากร้อยละ 9.2 ในปีทีผ่านมา ส่วนเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 6.7 จากร้อยละ 7.5 สำหรับการคาดการณ์ของประเทศอื่นๆ ที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ก็มีแนวโน้มขยายตัวลดลงเช่นเดียวกัน เช่น มาเลเซีย ลดลงจากร้อยละ 5.1 ปีก่อนหน้า เหลือร้อยละ 4.8 สิงคโปร์ ลดลงจากร้อยละ 4.9 ปีก่อนหน้า เหลือร้อยละ 2.9

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ