รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 24, 2012 11:49 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. กสิกรไทย คาด กนง.คงดอกเบี้ยที่ร้อยละ 3

2. ปตท.เตรียมขอผ่อนผันเวลาสารองน้ามันเพิ่ม

3. รมว.คลังเยอรมนีจี้กรีซเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจตามคามั่นสัญญา

Highlight:
1. กสิกรไทย คาด กนง.คงดอกเบี้ยที่ร้อยละ 3
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3 ในการประชุมรอบที่ 5 ของปีในวันที่ 25 ก.ค.55 นี้ เพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
  • สศค.วิเคราะห์ว่า จากวิกฤติหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่ได้กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน และอุปสงค์โดยรวมของโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างเปราะบางและอาจใช้ระยะเวลานานกว่าที่คาด ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่เริ่มส่งสัญญาณการขยายตัวที่ชะลอลง ทาให้คาดว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.0 เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 55 จะมีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 2. 50-3. 50 ต่อปี คาดการณ์ ณ มิ.ย.55)
2. ปตท.เตรียมขอผ่อนผันเวลาสำรองน้ำมันเพิ่ม
  • ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด เปิดเผยความพร้อมของกลุ่ม ปตท.ในการเพิ่มปริมาณสารองน้ามันตามกฎหมายจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6 ของปริมาณการจาหน่ายว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการสารวจว่ามีถังเก็บน้ามันบริษัทในเครือฯ ที่ยังใช้ไม่เต็มที่ รวมทั้งหาเช่าถังเก็บน้ำมันของภาคเอกชนรายอื่น และคลังน้ำมันที่อู่ตะเภา หากไม่เพียงพอก็อาจจะต้องใช้วิธีเช่าเรือเก็บน้ามัน ดังนั้น ปตท.อาจจะขอผ่อนผันขยายเวลาออกไปมากกว่า 90 วัน หลังกรมธุรกิจพลังงานออกกฎหมายบังคับใช้ และอาจเสนอแนวคิดการเพิ่มปริมาณสำรองเป็นระยะ คือในช่วง 90 วันแรกให้เพิ่มปริมาณสำรองร้อยละ 50 ของปริมาณที่จะเพิ่มและช่วงเวลาถัดไปให้เพิ่มปริมาณสำรองอีกจนครบถ้วน
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การปรับเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรองเป็นไปตามมติที่ประชุมของ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้มีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์ของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 90 วัน โดยให้เอกชนสำรองเพิ่มขึ้นคิดเป็นปริมาณสำรอง 43 วัน ส่วนที่เหลือรัฐจะลงทุนเองให้ครบ 90 วัน สาเหตุจากประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบกว่าร้อยละ 85 ของการจัดหาทั้งประเทศ จึงมีความเสี่ยงหากประสบภัยสงคราม หรือภัยธรรมชาติ จะทำให้เกิดการหยุดชะงักของการจัดหาน้ำมันให้เพียงพอต่อความต้องการ (Oil Supply Disruption) ทั้งนี้การเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันอาจส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการเล็กน้อยประมาณ 12-14 สตางค์/ลิตร หรือราคาน้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 0.5 จึงไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากนัก
3. รมว.คลังเยอรมนีจี้กรีซเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจตามคำมั่นสัญญา
  • รมว.คลังเยอรมนี เผยว่ากรีซจะต้องหลีกเลี่ยงการประวิงเวลาในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ในขณะที่ตลาดการเงินไม่เชื่อมันว่ากรีซจะสามารถรักษาคำมั่นสัญญาในเรื่องดังกล่าวได้ และกรีซอาจจะไม่ได้รับเงินกู้เบิกจ่ายงวดต่อไปมูลค่า 3.15 หมื่นล้านยูโรซึ่งมีกาหนดจะได้รับภายในเดือนก.ย.นี้
  • สศค.วิเคราะห์ว่า กรีซมีความเสี่ยงที่จะต้องถูกบีบให้ออกจากกลุ่มยูโรโซน ในกรณีที่กลุ่มทรอยก้า (ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป (EC), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ IMF) พิจารณาว่ากรีซไม่สามารถปรับลดหนี้สาธารณะลงสู่ระดับ 120% ของ GDP ได้ภายในปี 2020 ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจของกรีซจะมีขนาดเพียงร้อยละ 2 ของ GDP ยูโรโซน แต่หากต้องถูกบีบออกจะส่งผลกระทบในหลายมิติ อาทิ อัตราดอกเบี้ยสำหรับประเทศอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น (อันสะท้อนจากความเสี่ยงของประเทศอื่นๆในยูโรโซนที่มีความอ่อนแอทางการคลังเช่นกัน ต้องออกจากเงินยูโรและผิดนัดชาระหนี้) การสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อสหภาพยุโรป ตลอดจนผลกระทบต่อตลาดการเงินจากความผันผวนของเงินทุน และปัญหาความไม่เชื่อมั่นในเครดิตการค้าที่จะขัดขวางและส่งผลกระทบต่อกิจกรรมภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงต่อไป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ