Macro Morning Focus ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 255
1. ครม. ขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิตดีเซลอีก 1 เดือน เป็นสิ้นสุด 31 ส.ค. 55
2. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยวเสนอแนะรัฐบาลตั้งคณะทางานท่องเที่ยวเพื่อรับมือ AEC
3. Moody’s ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของ 3 ชาติเศรษฐกิจยุโรป เป็น “เชิงลบ”
- คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซลต่อไปอีก 1 เดือน จากที่จะครบกาหนดในวันที่ 31 ก.ค. 55 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค. 55 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน เนื่องจากราคาน้ามันในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้น
- สศค. วิเคราะห์ว่า การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซลเป็นอัตราภาษี 0.005 บาทต่อลิตรนั้น จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ เนื่องจากเป็นปัญหาเงินเฟ้อทางด้านอุปทานที่เกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (Supply Inflation or Cost-Push Inflation) ดังนั้น การลดอัตราภาษีสรรพาสามิตน้ามันจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ สาหรับกระทรวงการคลังจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตน้ามันที่ลดลงประมาณ 4.9 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม รายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 คาดว่าจะยังเป็นไปตามเป้าหมาย 1.98 ล้านล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนแรก สามารถจัดเก็บได้ 1.43 ล้านล้านบาท ซึ่งยังสูงกว่าเป้าหมาย 10.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
- สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ได้เสนอว่ารัฐบาลควรจัดตั้งคณะทางานท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชนเพื่อกาหนดยุทธศาสตร์ต่างๆ ร่วมกัน รวมถึงการจัดตั้งคณะทางานเพื่อวิเคราะห์กฎหมายของแต่ละประเทศที่จะส่งผลต่อประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 และการตั้งกองทุนสาหรับผู้ประกอบการด้านธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนด้านการลงทุนและการดาเนินธูรกิจท่องเที่ยวของผู้ประกอบการ
- สศค. วิเคราะห์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558 โดยในส่วนของภาคการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้กาหนดยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC เช่น ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทยปี 2555-2557 ยุทธศาสตร์การดาเนินงานด้านการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกโดยให้ความสาคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมทางการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนงานเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยประเมินว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้ 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ในส่วนของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ กระทรวงการคลังได้กาหนดยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน 4 ด้าน คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม การเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ Moody’s ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก เป็น"เชิงลบ" (Negative Outlook) จากเดิม "มีเสถียรภาพ" (Stable Outlook)โดยให้เหตุผลถึงความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของทั้ง 3 ประเทศในครั้งนี้พิจารณาจากความเสี่ยงที่กรีซอาจต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตการณ์ภาคการเงินแบบลูกโซ่ ส่งผลให้ประเทศชั้นนาในกลุ่มยูโรโซนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงต้องแบกรับภาระในการให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหา อย่างไรก็ตาม การปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือเป็นเพียงเครื่องบ่งชี้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่านั้น โดย Moody’s ยังไม่ได้ทาการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ 3 ประเทศนี้แต่อย่างใด สาหรับประเทศที่มีระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP มากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่ กรีซ มีหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 132.4 อิตาลี ร้อยละ 123.3 โปรตุเกส ร้อยละ 111.4 และไอร์แลนด์ ร้อยละ 108.5 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในปี 55 จะหดตัวร้อยละ -0.9 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th