รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 23 - 27 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 30, 2012 11:34 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การส่งออกในเดือน มิ.ย. 55 หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.6
  • วันที่ 25 ก.ค.55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ( MPI) เดือน มิ.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม
  • GDP เกาหลีใต้ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของจีน จัดทาโดย HSBC (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 49.5
  • มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่น เดือน มิ.ย.55 หดตัวลงร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -2.2
  • อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น เดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ ขยายตัวร้อยละ 5.3
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ เดือน มิ.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                          Forecast             Previous
Jul: Headline Inflation(% YoY)         2.6                   2.6
  • โดยมีสาเหตุมาจากการปรับตัวลดลงของราคาไข่และราคาเนื้อสัตว์ (เนื้อหมูและเนื้อไก่) ในขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก โดยมีกองทุนน้ำมันเป็นตัวปรับลดราคาน้ำมันไม่ให้เพิ่มขึ้นเร็วจนเกินไป ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ คาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.25 (%mom)
Economic Indicators: This Week
  • การส่งออกในเดือน มิ.ย. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 19,771 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สะท้อนถึงผลกระทบจากการลุกลามของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป ที่ส่งผลต่อการผลิตและจาหน่ายสินค้าในหลายประเทศ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทยทำให้ประเทศเหล่านั้นมีการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง โดยเฉพาะสินค้าหมวดเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ที่หดตัวร้อยละ -27.3 และ -11.2 ตามลาดับ ตามการหดตัวของข้าว ยางพารา และกุ้งแช่แข็งและแปรรูป เป็นสำคัญในขณะที่สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัวที่ร้อยละ -5.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ราคาส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -0.2 และปริมาณการส่งออกหดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -4.1 ส่งผลให้การส่งออกหดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -4.1 ส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 112,265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • การนำเข้าในเดือน มิ.ย. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 20,317 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการหดตัวของเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการหดตัวของสินค้าวัตถุดิบที่ร้อยละ -17.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.9 ส่วนสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้ายานยนต์ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 9.9 6.7 และ 40.8 ตามลาดับ แต่ยังคงได้รับอานิสงค์ดีจากสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 32.1 ทั้งนี้ราคานำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.3 และปริมาณการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.3 ส่งผลให้การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากการที่มูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าทำให้ดุลการค้าในเดือน มิ.ย. 55 ขาดดุลต่อเนื่องที่ -546.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • วันที่ 25 ก.ค.55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 จากการที่ กนง. ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่อนคลายลงในช่วงที่ผ่านมามีส่วนช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างน่าพอใจและเร็วกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศ ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่จัดการได้ จึงเห็นว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 เป็นระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติและสอดคล้องกับการรักษาเงินเฟ้อในกรอบเป้าหมาย
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ไตรมาส 2 ปี 55 MPI หดตัวร้อยละ -1.5 (YoY) โดยมีปัจจัยสาคัญจากการหดตัวของการผลิต HDD อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากปัจจัยฐานสูงในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพราะมีการเร่งผลิตหลังจากเหตุการณ์ Tsunami เมื่อต้นปี 54 ในญี่ปุ่น ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตในประเทศไทย ประกอบกับภาวะการฟื้นตัวที่ล่าช้าในหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ต้องอาศัยการนาเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักร เพื่อทดแทนส่วนเดิมที่เสียหาย นอกจากนี้ ในส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสาเร็จรูปยังคงชะลอการผลิตจากต้นทุนปัจจัยการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
  • การจ้างงานเดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ 39.53 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.43 แสนคน ขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาล พบว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.8 แสนคนจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการจ้างงานภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานภาคบริการมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย.55 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม คิดเป็นผู้ว่างงาน 2.7 แสนคน
Economic Indicators: Nest Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการปรับตัวลดลงของราคาไข่และราคาเนื้อสัตว์ (เนื้อหมูและเนื้อไก่) ในขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก โดยมีกองทุนน้ำมันเป็นตัวปรับลดราคาน้ำมันไม่ให้เพิ่มขึ้นเร็วจนเกินไป ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ คาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.25 (%mom)

Global Economic Indicators: This Week

China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จัดทำโดย HSBC (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ค.55 อยู่ที่ระดับ 49.5 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน แต่ยังอยู่ระดับต่ากว่า 50 ซึ่งบ่งชี้ภาคการผลิตที่หดตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 51.2 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 54 และดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ส่งสัญญาณดีขึ้น สะท้อนว่าภาคการผลิตจีนกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
Euro Zone: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ค.55 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 46.4 จุด ทั้งนี้ ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ากว่า 50 จุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ค. 55 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.1 และ 47.6 จุด ตามลำดับ จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนเริ่มส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดในยูโรโซนเริ่มหดตัวแล้ว
Japan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย.55 หดตัวลงร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ส่งผลให้อุปสงค์ภายนอกปรับตัวลดลง ผนวกกับค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ มูลค่าการนาเข้า เดือน มิ.ย.55 หดตัวที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการที่ญี่ปุ่นสามารถกลับมาดาเนินการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ได้อีกครั้ง หลังจากได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปีที่ผ่านมา ทาให้ความต้องการพลังงานนำเข้าลดลง ทำให้ดุลการค้าเดือน มิ.ย.55 เกินดุล 61.7 พันล้านเยน หรือ 788.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 55 อยู่ที่ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากราคาสินค้าหมวดเฟอร์นิเจอร์ สันทนาการ อาหาร และขนส่งที่หดตัว ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย.55 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ผลจากยอดขายร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่หดตัวลงมาก สะท้อนภาคการบริโภคที่ยังคงเปราะบาง
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดี โดยการนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -15.3 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารกลางยังกังวลต่อสถานการณ์วิกฤตยูโรโซน จึงลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่าสุดเป็นประวัติการณ์
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากปีก่อน เพิ่มขึ้นจากราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.55 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากปีก่อน จากการผลิตผลิตภัณฑ์ยาที่ขยายตัวร้อยละ 68.7
Australia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาส 2 ปี 55 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาสินค้านำเข้าที่ชะลอลง ตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย.55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาพลังงานที่ชะลอลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก มูลค่าการส่งออกเดือน มิ.ย.55 หดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย.55 หดตัวร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
South Korea: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนชะลอลง ขณะที่การลงทุนหดตัวบ่งชี้อุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศที่ชะลอลงชัดเจน ส่งผลให้คาดว่าธนาคารกลางเกาหลีใต้น่าจะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง
Taiwan: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย.55 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย.55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมากจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดย ณ วันที่ 26 ก.ค. 55 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,172.92 จุด เนื่องจากมีแรงขายของนักลงทุนเป็นจานวนมากช่วงกลางสัปดาห์ โดยเฉพาะ นักลงทุนสถาบัน บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และ นักลงทุนต่างชาติ จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในยูโรโซน อาทิ การที่ Moody 's ปรับลดแนวโน้มของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ตลอดจนการคาดการณ์ว่ากรีซไม่สามารถดาเนินการตามมาตรการรัดเข็มขัดได้และอาจไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจาก IMF นำมาสู่ข่าวลือว่ากรีซอาจออกจากยูโรโซน อย่างไรก็ตาม คำแถลงของประธาน ECB ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ว่า ECB จะทำทุกทางเพื่อมิให้ยูโรโซนล่มสลายน่าจะทำให้นักลงทุนกลับมาเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 26 ก.ค.55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -6,249.19 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวสูงขึ้นในพันธบัตรระยะสั้น ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง ด้วยปริมาณซื้อขายเบาบางเนื่องจากนักลงทุนรอผลการประชุม กนง. ในช่วงกลางสัปดาห์ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 26 ก.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,495.8 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนโดย ณ วันที่ 26 ก.ค.55 ปิดที่ระดับ 31.66 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.09 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลภูมิภาค ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ทาให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ -0.03
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาทองคา ณ วันที่ 26 ก.ค.55 ปิดที่ 1,613.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,575.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ