Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2555
Summary:
1. กรมส่งเสริมการส่งออก จัดงานเมดอินไทยแลนด์ 2012
2. คณะทำงานกู้วิกฤตส่งออกเร่งทำงานดันเป้าส่งออกปี 55 ร้อยละ 15.0
3. GDP ของสหรัฐในไตรมาส 2 ปี นี้ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5
Highlight:
1. กรมส่งเสริมการส่งออก จัดงาน เมดอินไทยแลนด์ 2012
- อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า "งานเมดอินไทยแลนด์ 2012 พาณิชย์เทิดพระเกียรติ เทิดไท้องค์ราชินี" เป็นงานแสดงสินค้าและเวทีการค้าการส่งออกเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยใช้เป็นเวทีการค้า โดยจะมุ่งเน้นสินค้า 7 กลุ่มหลักที่มีศักยภาพการส่งออกสูง คือ กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มสินค้าแฟชั่น กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ และอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสินค้าธุรกิจบริการ สปา นวดแผนไทยและแฟรนไชส์ และกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ โดยคาดว่ามูลค่าการสั่งซือ้ จะเพิ่มขึน้ จากปีที่ผ่านมา 5% เป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านบาท นอกจากนี มั่นใจตลาดไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
- สศค.วิเคราะห์ว่า ภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปี แรก มูลค่าการส่งออกหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหน้ โดยกลุ่มสินค้าที่เป็ นแหล่งที่มาของการหดตัว(contribution) สูงที่สุดคือ สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ตามลำดับ สำหรับสาเหตุหลักของการหดตัวเป็ นผลมาจากปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการส่งออกไทย โดยสินค้ ที่ส่ งออกได้ดีในกลุ่มประเทศยุโรปจำ พวกเครื่องคอมพิวเตอร์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุปสงค์ที่ลดลง ส่วนผลกระทบทางอ้อม คือ ปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปจะส่งผลลุกลามไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของโลกชะลอตัวลงส่งผลต่ออุปสงค์โดยรวมต่อสินค้าส่งออกของไทย ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 55 อุตสาหกรรมภาคส่งออกของไทยพึ่งฟื้นจากภาวะน้ำท่วม จึงอาจส่งผลให้การส่งออกในช่วงครึ่งปี แรกยังคงหดตัวอยู่ อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปี หลังคาดว่าอุตสาหกรรมส่งออกส่วนใหญ่จะสามารถกลับมาผลิตได้เต็มศักยภาพ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลัก คือปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย
2. คณะทำงานกู้วิกฤตส่งออกเร่งทำงานดันเป้าส่งออกปี 55 ร้อยละ 15.0
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาอุปสรรคและผลักดันการส่งออกของไทยว่า ได้สั่งการให้ทุกคณะทำงานเริ่มทำงานทันทีเพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออก และผลักดันให้การส่งออกของไทยในปี 55 เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์วางไว้ร้อยละ 15.0
- การส่งออกไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 54 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 โดยในช่วง 6 เดือนแรกปี 55 การส่งออกไทยหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อนตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 9.4 ของการส่งออกรวม อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของปี 55 การส่งออกจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่ง เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำปี 54 ที่การส่งออกหดตัวจากปัญหาน้ำท่วม ประกอบกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อาทิ ประเทศในกลุ่มอาเซียน และจีนยังขยายตัวตัวได้ดี และจะเป็นประเทศคู่ค้าหลักที่ทำให้การส่งออกไทยขยายตัวได้ในปี 55 ทั้งนี้ ในปี 55 สศค. คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 12.8 และหากจะให้ได้ตามเป้าร้อยละ 15.0 อาจต้องมีการเจาะตลาดส่งออกเพิ่มเติม เช่น กลุ่มตลาดที่มีศักยภาพ เช่น แอฟริกา รวมถึงกลุ่ม BRIC
3. GDP ของสหรัฐในไตรมาส 2 ปี นี้ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5
- GDP ของสหรัฐในไตรมาส 2 ปีนีข้ ยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 แต่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ร้อยละ 1.4 โดยการใช้จ่ายผู้บริโภคในสหรัฐมีอัตราการเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 1.5 ในไตรมาส 2 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาสแรก เป็นผลจากสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น กลุ่มยานยนต์ และคอมพิวเตอร์ มียอดขายลดน้อยลง ทัง้ นี ธนาคารกลางสหรัฐได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP สหรัฐในปีนีล้ งมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9-2.4 เทียบกับที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ร้อยละ 2.4-2.9 แต่คาดการณ์ว่า อัตราว่างงานจะยืนระดับอยู่ที่ร้อยละ 8-8.2 ในปี 55 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ระดับร้อยละ 7.8-8
- สศค. วิเคราะห์ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าวมีทิศทางสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์สศค. มีความเห็นว่า ผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสหรัฐค่อนข้างมากเป็นสาเหตุหนึ่ง นอกเหนือไปจากภาคธุรกิจขนาดย่อมของสหรัฐเองที่ก็ประสบปัญหาทางการเงินไม่น้อย และ บททดสอบจากประเด็นด้านการคลังในประเทศ หรือ Fiscal Cliff ที่อาจผลักให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ เชื่อว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะยังคงจุดยืนในการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปในการประชุมรอบที่ 5 ของปี ในวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2555 ที่จะถึงนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณในทิศทางชะลอลง
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th