รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 6, 2012 12:05 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2555

Summary:

1. ธปท.ชี้หากปี 55 จะโตร้อยละ 5.7 ครึ่งปีหลัง GDP ต้องขยายร้อยละ 9.7

2. ส่งออกเส้นก๋วยเตี๋ยวทำท่าแย่จำนำข้าว-ค่าแรงดันต้นทุนพุ่ง

3. IMF ประเมินว่าหากสหรัฐไม่สามารถขจัดภาวะหดตัวทางด้านการคลังได้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทั้งหมด

Highlight:
1. ธปท.ชี้หากปี 55 จะโตร้อยละ 5.7 ครึ่งปีหลัง GDP ต้องขยายร้อยละ 9.7
  • นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2 ปี 55 จะเติบโตได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทาให้ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ระดับการเติบโตเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังนั้น ธปท. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 9.7 และทาให้ค่าเฉลี่ยทั้งปีเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.7
  • สศค. วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 คาดว่า จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.2-6.2) ซึ่งเป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลง เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาทาการผลิตได้ตามปกติและสามารถตอบสนองอุปสงค์ในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่และยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วง 6 เดือนแรกปี 55 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 และร้อยละ 46.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ภาคต่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้า คาดว่าในปี 55 จะขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 12.8 จากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและอเมริกา โดยในช่วง 6 เดือนแรกปี 55 การส่งออกหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
2. ส่งออกเส้นก๋วยเตี๋ยวทำท่าแย่จำนำข้าว-ค่าแรงดันต้นทุนพุ่ง
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงหมี่ชอเฮง จากัด ผู้ผลิตเส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยวรายใหญ่สุดของประเทศไทย และผลิตแป้งข้าวเจ้า แป้ง ข้าวเหนียว ตราช้างสามเศียร เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นแป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวเหนียวของไทยได้รับผลกระทบด้านการส่งออกอย่างมาก เนื่องจากคู่แข่งมีราคาสินค้าส่งออกถูกกว่าไทย โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม โดยส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบหลักมีราคาสูงกว่าเวียดนาม
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยประกอบไปด้วยแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เส้นหมีก๋วยเตี๋ยว และขนมปังกรอบ โดยในปี 54 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 312.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของการส่งออกโดยรวม โดยมีตลาดหลักในการส่งออกคือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 55 การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวหดตัวที่ร้อยละ -4.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแยกเป็นการหดตัวในการส่งออกแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และเส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยวหดตัวที่ร้อยละ -5.03 -2.07 และ -12.43 ตามลาดับ โดยคาดว่าการส่งออกที่หดตัวเกิดจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบสาคัญ (ราคาข้าว) ทาให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
3. IMF ประเมินว่าหากสหรัฐไม่สามารถขจัดภาวะหดตัวทางด้านการคลังได้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทั้งหมด
  • IMF ประเมินว่า หากสหรัฐไม่สามารถขจัดภาวะหดตัวทางด้านการคลัง (Fiscal cliff) ได้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทั้งหมด และคาดว่า แนวโน้มงบประมาณของสหรัฐในปีหน้าอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ สหรัฐอาจจะต้องดาเนินการรัดเข็มขัด เพราะนโยบายลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐหมดอายุปลายปีนี้ แต่จนขณะนี้ สภายังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะทาอย่างไรต่อไป โดย IMF ชี้ว่าผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวต่อประเทศอื่นๆ นั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดต่อช่องทางทางการค้ามากที่สุด และประเทศที่จะรับรู้ถึงผลกระทบนี้มากสุดก็น่าจะเป็นบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของสหรัฐ อย่าง แคนาดา และเม็กซิโก ส่วนยุโรป และญี่ปุ่น ก็อาจรับรู้ได้ แต่ไม่กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจัยที่ทาให้เศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับเศรษฐกิจช่วงขาลง คืออุปสรรคทางการเมือง ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องนโยบายหลักๆ เป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งนโยบายเหล่านี้จาเป็นต่อการสนับสนุนการฟื้นตัว และการฟื้นฟูความยั่งยืนด้านการคลัง โดยตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวยังคงแสดงถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ FED มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE 3 ในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้จำนวนผู้ว่างงานในสหรัฐมีจานวนทั้งสิ้น 12.8 ล้านคนในเดือนก.ค. ใกล้เคียงกับเดือนมิ.ย. แต่คิดเป็นเกือบ 2 เท่าของระดับก่อนเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ