รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 7 สิงหาคม 2555

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday August 7, 2012 12:27 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 7 สิงหาคม 2555

Summary:

1. ก.พาณิชย์ เตรียมประกาศเอฟทีเอจับมือร่วม AEC+6 ปีหน้าหวังดันยอดการค้า 16 ประเทศ

2. คปภ. เผยตัวเลขธุรกิจประกันภัย 5 เดือนแรก โตร้อยละ 19

3. นิกเกอิปิดพุ่ง 171.18 จุด ขานรับตัวเลขจ้างงานสหรัฐ

Highlight:

1. ก.พาณิชย์ เตรียมประกาศเอฟทีเอจับมือร่วม AEC+6 ปีหน้าหวังดันยอดการค้า 16 ประเทศ
  • อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากการประกาศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบรรลุผล ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนที่จะมีผลอย่างเป็นทางการในปี 58 หรือปี 2015 ที่กำลังจะถึงในเร็วๆ นี้ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมที่จะผลักดันให้มีการเปิดเสรีการค้าร่วมกัน หรือการทำเอฟทีเอ ระหว่าง AEC กับอีก 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยล่าสุด ณ เดือน มิ.ย.55 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -4.2 เนื่องจากการหดตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปอาเซียนมีมูลค่า 28,625 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปอีก 6 ประเทศมีมูลค่า 34,774 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สะท้อนว่าตลาดส่งออกดังกล่าวมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญกับการค้าระหว่างประเทศของไทยเป็นอย่างมากโดยประเทศคู่ค้าที่สาคัญในกลุ่ม 6 ประเทศ ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น ดังนั้น การรวมตัวทางการค้าดังกล่าวจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับการค้าระหว่างประเทศของไทยในอนาคตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเข้าสู่ AEC โดยกระทรวงการคลังได้กาหนดยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน 4 ด้าน คือ 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2) การเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขัน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และ4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้มีมูลค่าการค้าการลงทุนขยายตัวมากขึ้น
2. คปภ. เผยตัวเลขธุรกิจประกันภัย 5 เดือนแรก โตร้อยละ 19
  • เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันภัยช่วงเดือน ม.ค. - พ.ค. 55 ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีเบี้ยประกันภัยรวมทั้งสิ้น 2.2 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากธุรกิจประกันวินาศภัยที่มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนโดยเฉพาะเบี้ยประกันภัยประเภทภัยรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 19.1 และประกันภัยเบ็ดเตล็ดขยายตัวร้อยละ 33.86
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เบี้ยประกันภัยที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากการทำประกันวินาศภัยที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทาประกันภัยรถยนต์ และประกันภัยเบ็ดเตล็ด สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี ที่ผ่านมาสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และบ้านเรือนของประชาชนเป็นจานวนมาก ประชาชนจึงต้องการลดความเสี่ยง นอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงรายได้ของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยทั้งนี้ทาง คปภ.คาดว่าอัตราการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยในปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 14.0 หรือคิดเป็นเบี้ยรับโดยตรงรวมทั้งส้นิ 5.3 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 4.7
3. นิกเกอิปิดพุ่ง 171.18 จุด ขานรับตัวเลขจ้างงานสหรัฐ
  • ดัชนีนิกเกอิปิดพุ่งขึ้น 171.18 จุด หรือ 2.0% แตะที่ 8,726.29 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.55 เนื่องจากการเพิ่มขึ้น เกินคาดของตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ โดยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 163,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคาดหวังว่าตลาดแรงงานของสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้น และช่วยลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีทิศทางฟื้นตัว โดยเฉพาะด้านการบริโภค ความมั่งคั่งภาคครัวเรือน ตลอดจนตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากอัตราว่างงานรวมที่ยังคงเพิ่มขึ้นแตะระดับร้อยละ 8.3 นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังคงเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน จากปัญหาหนี้สาธารณะและเสถียรภาพของธนาคารพาณิชย์ในหลายประเทศของยูโรโซน ที่ยังคงเป็นปัจจัยกระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านการฉุดรั้งภาคการส่งออกและภาคการผลิตของสหรัฐ (สะท้อนจากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(Manufacturing Production) ของสหรัฐฯ ณ พ.ค.55 ปรับลดลงร้อยละ 0.1 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ