Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2555
1. "ณรงค์ชัย” เชื่อ ศก.ไทยโตไม่ถึงร้อยละ 5 หวังแรงดึงช่วงปลายปียาก เตือนรัฐบาลอย่าเน้นแต่แจกงบ
2. นักเศรษฐศาสตร์ห่วงเศรษฐกิจอ่อนแอ ส่งออกทรุด
3. รมว. คลังอังกฤษเตรียมลดขาดดุลงบประมาณ ควบคู่การขยายตัวของเศรษฐกิจ
- ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จากัด (มหาชน)กล่าวในงานเสวนาเกาะติดเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 55 ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 55 จะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 5 จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6 เพราะไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกจนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยที่คาดว่าอาจจะโตไม่ถึงร้อยละ 7 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ไว้
- สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด ณ เดือนมิถุนายน 55 พบว่า ยังคงขยายตัวได้ดี แต่ภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป สะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออกที่หดตัวในเดือนมิถุนายน 55 ที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันการใช้จ่ายในประเทศยังอยู่ในระดับต่า จาเป็นต้องกระตุ้นการใช้จ่ายต่อเนื่องเพื่อชดเชยภาคการส่งออกที่ชะลอตัว สำหรับเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 55 ยังคงมีความเสี่ยงมาจาก 3 ปัจจัย คือ (1) ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (2) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวน (3) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากปัญหาในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.7 (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 5.2 - 6.2) (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
- ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) รายงานผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์เรื่อง "ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า" ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ระดับ 45.57 ลดลงจาก 47.31 ในการสำรวจเมื่อเดือน เม.ย.55 โดยเป็นระดับที่ต่ำกว่า 50 และเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันในปี 55 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยลบจากการส่งออกสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากถึง 12.44 จุด และคาดการณ์ว่าการส่งออกจะปรับตัวลดลงต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 56 เป็นอย่างน้อย
- สศค. วิเคราะห์ว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 55 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของปัญหาวิกฤติน้าท่วมในช่วงปลายปี 54 และสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นตามลาดับ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศที่สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 9.0 และการลงทุนภาคเอกชนที่สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 16.5 ในขณะที่ภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกหดตัวร้อยละ -2.0 ซึ่งถือว่าลดลงมากจากในช่วงครึ่งปีแรกของปี 54 ที่ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 23.6 อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 55 จะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 7 ออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่จะครบกำหนดในสิ้นเดือน ก.ย. 55 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงรายจ่ายภาครัฐที่จะมีการเร่งเบิกจ่ายตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 93.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 55 (2.38 ล้านล้านบาท) ขณะที่ภาคการส่งออก ประเทศไทยก็ได้มีการกระจายตลาดส่งออกอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความแน่นอน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 12.8 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 11.8-13.8 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
- รมว. คลังอังกฤษสนับสนุนการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจแบบผสมผสาน โดยเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดยอดขาดดุลงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ และรับมือกับปัญหาต่างๆ ในระบบการคลังสาธารณะ ท่ามกลางแรงกดดันที่อังกฤษอาจถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับสูงสุด AAA ซึ่ง รมว.คลัง อังกฤษระบุว่าการขาดดุลงบประมาณของอังกฤษจะหมดไปภายในปี 2560 ซึ่งช้ากว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ 2 ปี
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษได้รับผลกระทบจากวิกฤตในยูโรโซน และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ในฐานะเจ้าหนี้และประเทศคู่ค้าสำคัญ ประกอบกับกำลังซื้อภายในประเทศที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษติดลบติดต่อกันถึง 3 ไตรมาส โดยไตรมาสที่ 2/55 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษติดลบร้อยละ -0.7 ขณะที่รัฐบาลอังกฤษพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลัง และมียอดขาดดุลการคลังสูงถึงร้อยละ 11.6 ของ GDP ดังนั้น การที่รัฐบาลอังกฤษพยายามลดการขาดดุลงบประมาณในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจกาลังชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น อย่างไรก็ตามในระยะยาวการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นในเสถียรภาพการคลังของประเทศ และเป็นการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th