รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 14 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 14, 2012 10:51 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 14 สิงหาคม 2555

Summary:

1. สอท.มั่นใจยอดการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกได้ตามเป้า 1 ล้านคัน

2. ธปท.เชื่อขึ้นค่าแรงปีหน้าไม่กระทบเงินเฟ้อ

3. เซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดร่วงร้อยละ 1.51 เหตุวิตกศก.ชะลอตัว

Highlight:
1. สอท.มั่นใจยอดการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกได้ตามเป้า 1 ล้านคัน
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวยืนยันว่า ยอดการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก จะเป็นไปตามเป้าที่ ส.อ.ท.ตั้งไว้ 1 ล้านคัน อย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมได้กลับมาเดินเครื่องกำลังการผลิตแล้ว ในขณะนี้แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยานยนต์ ยังไม่ถึงขั้นขาดแคลน แต่ค่อนข้างจะตึงตัว ดังนั้น ส.อ.ท.จึงต้องเร่งสร้างบุคลากรด้านนี้ ส่วนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ไม่น่าจะมีผลกระทบกับบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์มากนัก
  • สศค.วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 54 อย่างรุนแรง ทำให้ต้องหยุดการผลิตและไม่สามารถส่งออกยานยนต์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4/54 อย่างไรก็ดี พบว่าปัจจุบันการผลิตยานยนต์ได้กลับเข้าสู่ระดับปกติแล้ว โดยสะท้อนได้จากอัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของอุตสาหกรรมยานยนต์ เดือน มิ.ย. 55 ที่อยู่ที่ระดับ 107.1 ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 55 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40.3 ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 55 ประเทศไทยสามารถส่งออกยานยนต์ออกไปได้แล้ว 4.6 แสนคัน คิดเป็นมูลค่า 3.2 แสนล้านบาท ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปีต้องติดตามปัญหาการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจกลุ่มสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้
2. ธปท.เชื่อขึ้นค่าแรงปีหน้าไม่กระทบเงินเฟ้อ
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศในปีหน้า เชื่อว่าจะมีผลต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อไม่มากนัก โดยผลกระทบคาดว่าจะมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเท่าที่ติดตามดูในปีนี้ พบว่า ยังไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก โดยภาพรวมอยู่ในวิสัยที่ธปท.ได้ประเมินเอาไว้
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นค่าแรง 300 จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตผ่านต้นทุนแรงงาน โดยข้อมูลจากสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่า สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนการผลิตรวมของไทยอยู่ในระดับที่ต่าเพียงร้อยละ 8.7 — 12.4 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตไม่มาก ฉะนั้นการปรับขึ้นค่าแรงในจังหวัดที่เหลือคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อไม่มากนัก สะท้อนได้จากเงินเฟ้อล่าสุดเดือน ก.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ซึ่งอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพถึงแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท มาแล้วก็ตาม ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0 — 4.0 ต่อปี) และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ1.8-2.8) (คาดการณ์ ณ เดือนมิ.ย.55)
3. เซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดร่วงร้อยละ 1.51 เหตุวิตกเศรษฐกิจชะลอตัว
  • สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดวานนี้ (13 ส.ค.) ร่วงลง เนื่องจากความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาคเอกชน โดยดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตร่วง 32.74 จุด หรือร้อยละ 1.51 ปิดที่ 2,136.08 จุด ส่วนดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้นร่วง 198.98 จุด หรือร้อยละ 2.15 ปิดที่ 9,039.22 จุด
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนอาศัยการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนสาคัญ โดยการเป็นโรงงานผลิตสินค้าต่างๆให้กับต่างประเทศ และอาศัยความได้เปรียบของแรงงานเพื่อส่งสินค้าออกสู่ตลาดโลก อย่างไรก็ดี ผลของวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สาคัญ อาทิ กลุ่มยูโรโซน และการฟื้นตัวที่เปราะบางของสหรัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตของจีน โดยมูลค่าการส่งออกของจีนในช่วง 6เดือนแรกปี 55 ขยายตัวเพียงร้อยละ 9.2 ชะลอลงจากร้อยละ 20.3 ในช่วงปี 54 นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 49.5 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนภาคการผลิตที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ