รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 15, 2012 13:19 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2555

Summary:

1. จับตาบริษัทในอาเซียนกำลังก้าวออกสู่เวทีโลก ทั้งในอุตสหกรรมเบียร์ พลังงานและอสังหาริมทรัพย์

2. ศูนย์วิจัยธุรกิจฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการใช้จ่ายในประเทศดัน GDP ปี 55 โตร้อยละ 5.6-5.8

3. นักวิเคราะห์คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึมยาวถึงสิ้นปี 55

Highlight:
1. จับตาบริษัทในอาเซียนกำลังก้าวออกสู่เวทีโลก ทั้งในอุตสหกรรมเบียร์ พลังงาน และอสังหาริมทรัพย์
  • การแข่งขันมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อครอบครองหุ้น "เอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรีส์" (เอบีพี) ผู้ผลิตเบียร์ไทเกอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือบริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ระหว่าง "ไฮเนเก้น" และ "ไทยเบฟเวอเรจ" กำลังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอานาจในเอเชีย แม้ว่าบริษัทขนาดใหญ่ของอาเซียนเน้นทาตลาดในประเทศของตัวเอง ที่อัตราการแข่งขันน้อย แต่หลังจากเก็บเกี่ยวกาไรมหาศาล ประกอบกับการเติบโตแบบก้าวกระโดดมาเป็นเวลาหลายปี หลายบริษัทเริ่มมองหาลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน การซื้อกิจการข้ามประเทศของบริษัทในภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 29,900 ล้านดอลลาร์ ไม่รวมการซื้อของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติในภูมิภาค บริษัท Deal logics ระบุว่าตัวเลขดังกล่าว สูงกว่ามูลค่าซื้อกิจการของบริษัทจากอาเซียนในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 11,000 ล้านดอลลาร์ถึง 3 เท่า และเมื่อเทียบกับทั้งปี 54 ที่มีมูลค่ารวม 23,200 พันล้านดอลลาร์
  • สศค.วิเคราะห์ว่า จากรายงาน The Global Competitiveness Report 2011-2012 โดย World Economic Forum (WEF) ที่สารวจอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 142 ประเทศ พบว่า อันดับความสามารถทางการแข่งขันของไทยปรับลดลง 1 ตาแหน่ง จากลาดับที่ 38 เมื่อปี 53 แล้วเป็นลาดับที่ 39 ในปี 54 และเพื่อรองรับการลงทุนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น กระทรวงการคลัง ได้มีนโยบายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักของ AEC ทั้ง 4 ด้าน คือ (1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (3) การเป็นภูมิภาคที่มีพัมนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ผลของนโยบายดังกล่าวฯ คาดว่าจะทาให้เศรษฐกิจไทยในปี 55 ขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 ต่อปี และทาให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ตามศักภาพเศรษฐกิจ (Potential GDP) ในระยะยาวที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี
2. ศูนย์วิจัยธุรกิจฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการใช้จ่ายในประเทศดัน GDP ปี 55 โตร้อยละ 5.6-5.8
  • ศูนย์วิจัยธุรกิจฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้เศรษฐกิจไทยในปี 55 สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.6-5.8 ขณะที่ การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย โดย ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปอาจทาให้การส่งออกของไทยในปีนี้มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 12.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซนที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 9.4 ของการส่งออกรวม อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ดีและเสถียรภาพภายในยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยมีแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศจากการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัวดี สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เดือน มิ.ย. 55 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้ง ปริมาณนาเข้าสินค้าทุนเดือน มิ.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณปริมาณการนาเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 55 ขยายตัวร้อยละ 22.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.0 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 55 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 5.2-6.2 คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
3. นักวิเคราะห์คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึมยาวถึงสิ้นปี 55
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะยังคงชะลอตัวและอยู่ในภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกทั้งวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่กาลังลุกลามและสหรัฐฯ ที่ยังคงเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤติการเงินภายในประเทศ โดยทั้งสองภูมิภาคถือเป็นตลาดส่งออกที่สาคัญที่สุดของญี่ปุ่น โดยล่าสุด เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 1.0
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น (Contribution to GDP Growth) เติบโตคือ ภาคการบริโภค ภาคเอกชนและภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง โดยล่าสุด ภาคการบริโภคภายในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.ค. 55 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 39.7 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 53 โดยเป็นผลมาจากความกังวลในวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ขณะที่ในส่วนของภาคการผลิตมีสัญญาณชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 55 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.9 จุด จากอุปสงค์ภายนอกที่ลดลงโดยเฉพาะไต้หวันและเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสาคัญของญี่ปุ่น ซึ่งได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกในเดือน มิ.ย. 55 หดตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทาให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 55 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 นอกจากนี้ ค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 55 ยังส่งผลด้านลบต่อขีดความสามารถในการส่งออกของญี่ปุ่น เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆใน ตลาดโลก ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 2.2 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ