Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 สิงหาคม 2555
Summary:
1. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร เดือน ก.ค.55 ลดลง ร้อยละ -7.5
2. นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง แนะให้รัฐบาลตระหนักถึงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น
3. จี-20 เตรียมจัดประชุมฉุกเฉินแก้วิกฤติราคาอาหาร
Highlight:
1. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร เดือน ก.ค.55 ลดลง ร้อยละ -7.5
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค.55 ลดลงร้อยละ -7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา สับปะรดโรงงาน มะพร้าว สุกร และเนื้อไก่ ขณะที่ดัชนีผลผลิตขยายตัวที่ร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน และลำไย ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมในเดือนส.ค.55 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากสินค้าหลายชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียนลองกองออกสู่ตลาดมาก
- สศค.วิเคราะห์ว่า แม้ว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค.55 ยังคงหดตัว แต่อย่างไรก็ตามถือได้ว่าปรับตัวดีขึ้นจากต้นปี 55 ที่หดตัวในระดับสูง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 55 หดตัวร้อยละ -12.0 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงลดลง ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดในเดือน มิ.ย.55 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงลดลงร้อยละ -7.8 จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 55 เป็ นต้น ซึ่งมีวงเงินรวมประมาณ 410.0 พันล้านบาท โดย สศค. คาดว่าจากการดำเนินเนินมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 27.0 พันล้านบาท และหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็ นกลุ่มประชากรที่มีค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal propensity to consume : MPC) สูง ซึ่งจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวม 67.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.6 ต่อ GDP
2. นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง แนะให้รัฐบาลตระหนักถึงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึน้
- นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง ได้กล่าวอภิปรายร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 56 โดยแสดงความเป็นห่วงต่อปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศ แม้ปัจจุบันจะอยู่ในระดับที่สะท้อนถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศก็ตาม จากระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ร้อยละ 42 แต่แนวโน้มการเพิ่มสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP กลับมีมากขึ้นทำให้ต้องนำงบประมาณมาใช้บริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจเกินระดับวินัยการคลัง ซึ่งเป็นประเด็นที่น่ากังวลและรัฐบาลควรคำนึงถึงภาระหนี้สาธารณะด้วย
- สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 พ.ค. 55 มีจำนวน 4,668,099.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.6 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงและหนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ร้อยละ 49.2 หนี้ของรัฐบาล (เพื่อ FIDF) ร้อยละ 24.3 และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินร้อยละ 22.2 เป็นต้น โดยหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ระยะยาวถึงร้อยละ 96.0 ประกอบกับเป็ นหนี้สกุลเงินบาทถึงร้อยละ 92.8 ซึ่งสะท้อนว่าหนี้สาธารณะของไทยมีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ได้ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่อ งปม. ช่วง 5 ปี (55 - 59) โดยครอบคลุมการขาดดุลงบประมาณ และการกู้เงินเพื่อโครงการลงทุนสุทธิของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น โดยในปี 59 หนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่อ งปม. เท่ากับร้อยละ 53.8 และ 11.6 ตามลำดับ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP
3. จี-20 เตรียมจัดประชุมฉุกเฉินแก้วิกฤติราคาอาหาร
- ประเทศสำคัญที่เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้ง สหภาพยุโรป (จี-20) กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาการสูงขึ้น ของราคาธัญพืช ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะแห้งแล้งครั้งร้ายแรงที่สุดในสหรัฐ ในรอบกว่า 50 ปี และปริมาณผลผลิตธัญพืชที่ตกต่ำในภูมิภาคทะเลดำ โดยการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาอาหารที่สูงขึน้ ซึ่งทำให้หลายคนกังวลต่ออุปทานอาหารและภาวะเงินเฟ้อหลายคนก็ระบุว่า ชาติมหาอำนาจไม่ได้มีความพร้อมมากกว่าเดิมในการสกัดกั้นการสูงขึ้นของราคาสินค้า
- สศค. วิเคราะห์ว่า กลุ่มจี-20 มีเครื่องมือเพียงไม่กี่ประการในการใช้แก้ไขปัญหานี้ ตัวอย่างเช่น การแทรกแซงตลาดโดยผ่านทางคณะกรรมการจี-20 อาจจะเรียกร้องให้สหรัฐฯ ผ่อนคลายนโยบายการผลิตเอทานอล เพื่อรับมือวิกฤตการณ์แต่เป็นเรื่องยากที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะทำตามข้อเรียกร้องนี้ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่ผลการเลือกตั้งอาจจะขึ้น อยู่กับคะแนนโหวตของประชาชนในภูมิภาคมิดเวสท์ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ จี-20 อาจจะใช้วิธีเรียกร้องรัสเซียไม่ให้ประกาศมาตรการห้ามการส่งออกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปี ก่อน ส่วนผลกระทบต่อประเทศไทยจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าเกษตรนอกประเทศจะช่วยส่งผลให้อัตราสินค้าเกษตรภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นด้วย ซึ่งภายใน 6 เดือนแรกของปี 55 ราคาได้ปรับตัวลดลงร้อยละ -12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th