รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 21, 2012 12:09 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2555

Summary:

1. สภาพัฒน์ เผยจีดีพีไตรมาส 2/55 โตร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/55 ที่โตร้อยละ 0.4

2. ผู้ว่า ธปท.หนุนรัฐส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มหวังดันยอดส่งออกปีนี้ให้โตตามเป้า

3. ผู้นายุโรปเตรียมหารือเพื่อคลายวิกฤตหนี้

Highlight:
1. สภาพัฒน์ เผยจีดีพีไตรมาส 2/55 โตร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/55 ที่โตร้อยละ 0.4
  • เลขาธิการ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2555 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยปัจจัยสาคัญมาจากการขยายตัวทางด้านการผลิตและการใช้จ่ายที่เร่งตัวขึ้น ทาให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 ขยายตัวได้ร้อยละ 2.2 พร้อมกับได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 55 ลงเหลือร้อยละ 5.5-6.0 จากก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรป
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/55 ขยายตัวได้เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 1/55 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจไทยหลังเผชิญเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 54 โดยการขยายตัวดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนหลักคือ ภาคบริการ ที่ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะหมวด ค้าปลีกค้าส่ง และหมวดการขนส่งที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 5.4 และ 7.4 ตามลาดับ ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมก็สามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งที่ร้อยละ 2.7 หลังจากหดตัวติดต่อกันใน 2ไตรมาสก่อนหน้า ในด้านอุปสงค์พบว่าอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวดีโดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 และ 11.8 ตามลาดับ ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.7 (คาดการณ์ ณ มิ.ย.55)
2. ผู้ว่า ธปท.หนุนรัฐส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่ม หวังดันยอดส่งออกปีนี้ให้โตตามเป้า
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวมีแนวทางที่เห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งผลต่อภาพรวมการส่งออกของประเทศ เนื่องจากดีมานด์ในตลาดโลกมีความต้องการสินค้าเกษตรค่อนข้างมาก และซัพพลายของสินค้าเกษตรภายในประเทศสูงกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายการส่งออกของไทย ทั้งจากการประเมินของ ธปท.ที่คาดการณ์ว่าการส่งออกในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 7 และการประเมินของของสภาพัฒน์คาดยอดการส่งออกจะอยู่ที่ร้อยละ 7.3
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การส่งออกไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 54 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 โดยในช่วง 6 เดือนแรกปี 55 การส่งออกไทยหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 9.4 ของการส่งออกรวม โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 55 คาดว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่ง เนื่องจากปัจจัยฐานต่าปี 54 ที่การส่งออกหดตัวจากปัญหาน้าท่วม ประกอบกับประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย อาทิ ประเทศในกลุ่มอาเซียน และจีนยังขยายตัวตัวได้ดี อย่างไรก็ดี หากการมีหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าสินค้าเกษตรและการส่งออกรวมของไทย นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อรายได้เกษตรกรอีกด้วย ทั้งนี้ ในปี 55 สศค. คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการของไทยจะขยายตัวร้อยละ 12.8 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 11.8 — 13.8 (คาดการณ์ ณ มิ.ย.55)
3. ผู้นำยุโรปเตรียมหารือเพื่อคลายวิกฤตหนี้
  • ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีเยอรมนี จะประชุมกันในวันที่ 23 ส.ค.นี้ เพื่อเตรียมหารือคลายปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่นายกรัฐมนตรีกรีซ จะเดินทางไปยังเยอรมนี ในวันถัดไปเพื่อเข้าร่วมหารือ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ผุดแผนการควบคุมภาวะปั่นป่วนในตลาดพันธบัตรยุโรป ซึ่งจะเปิดทางให้รัฐบาลนามาตรการต่างๆมาใช้เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมาธิการของ ECB อาจจะตัดสินใจในการประชุมครั้งต่อไปให้มีการกาหนดเพดานผลตอบแทนพันธบัตรของแต่ละประเทศ
  • สศค.วิเคราะห์ว่า นอกหนือไปจาก “มาตรการทางการเงิน” เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของยุโรป โดยล่าสุด ECBประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Market Refinancing Operations)ลง 0.25% เหลือ 0.75% และลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงินฝากไว้ที่ธนาคารกลาง (Deposit Rate) 0.25% เหลือ 0% เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินยุโรปนาเงินฝากที่ ECB ไปปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นแล้ว “มาตรการทางการคลัง”ผ่านแผนกาหนดเพดานผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลจากการกาหนดเพดานผลตอบแทนพันธบัตรของแต่ละประเทศในยูโรโซน ควบคู่กับการดาเนินการปฏิรูปทางการคลังให้มีความโปร่งใสเพิ่มขึ้น โดยธนาคารกลางอาจจาเป็นต้องเปิดเผยปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรในแต่ละประเทศ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ