รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 22, 2012 14:14 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2555

Summary:

1. ครม. มีมติต่ออายุยกเว้นภาษีดีเซลอีก 1 เดือน

2. โตโยต้า เผยตลาดรถยนต์เดือน ก.ค. 55 มียอดขาย 131,646 คัน ทาสถิติใหม่

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ค. 55 ของอินเดียชะลอลงที่ร้อยละ 9.9

Highlight:
1. ครม. มีมติต่ออายุยกเว้นภาษีดีเซลอีก 1 เดือน
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ขยายเวลายกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซลต่อไปอีก 1 เดือน โดยให้สิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 55 จากเดิมสิ้นสุดในวันที่ 31 ส.ค. 55 เนื่องจากขณะนี้ราคาขายปลีกน้ามันยังคงมีราคาสูง ซึ่งหากปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ามันดีเซลในระยะนี้จะทาให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การขยายเวลายกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดีเซลไปอีก 1 เดือน เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและค่าขนส่งให้กับประชาชนอันเนื่องมาจากน้ามันดีเซลมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังคาดว่าจะสูญเสียรายได้จากมาตรการดังกล่าวประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งมาตรการนี้ถือเป็นการช่วยเหลือประชาชนในการลดภาระค่าครองชีพ พิจารณาขยายเวลาแบบเดือนต่อเดือน โดยดูจากสถานการณ์ปัจจุบันเป็นหลัก ซึ่งน้ามันดีเซลถือเป็นต้นทุนด้านการขนส่ง อย่างไรก็ดี ในช่วง 10 เดือนแรกของปี งปม. 55 รัฐบาลยังสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรรให้ อปท. จานวน 1,558.5 พันล้านบาท และสูงกว่าเป้าหมาย 12.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.8
2. โตโยต้า เผยตลาดรถยนต์เดือน ก.ค. 55 มียอดขาย 131,646 คัน ทาสถิติใหม่
  • โตโยต้าเผย ตลาดรถยนต์ในเดือน ก.ค. 55 มีปริมาณการขาย 131,646 คัน สูงสุด เป็นสถิติใหม่ของยอดขายรถยนต์ต่อเดือนในประเทศ คิดเป็นการเติบโต ร้อยละ 80.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 738,169 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.6 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 เป็นผลจากความต้องการของตลาดรถยนต์ที่มีอยู่สูงตั้งแต่ต้นปี ประกอบกับการผลิตที่เริ่มกลับเข้าสู่ระดับปกติและปรับเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนการเติบโตของตลาดรถยนต์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะมีแรงส่งทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยทางด้านอุปสงค์ได้รับการกระตุ้นมาจากนโยบายรถคันแรก สาหรับรถที่มีการซื้อจนถึง 31 ธันวาคม 2555 และความนิยมในรถรุ่นใหม่ โดยล่าสุดมีการขอใช้สิทธิรถยนต์คันแรกแล้วจานวน 78,281 หมื่นคัน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิ.ย. 55) อีกทั้งซึ่งจะทาให้ยอดซื้อขายยานยนต์เพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ ขณะที่ด้านอุปทานก็ได้รับผลกระตุ้นจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์หลังจากวิกฤติน้าท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วได้กลับมาสู่สภาพปกติ โดยดัชนีผลผลิตด้านอุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์ เดือน มิ.ย. 55 สูงถึงร้อยละ 40.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ค. 55 ของอินเดียชะลอลงที่ร้อยละ 9.9
  • ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ค. 55 ของอินเดียขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาน้ามันที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดียในเดือน ก.ค. 55 ที่ปรับตัวชะลอลงเป็นผลมาจากสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่มีสัดส่วนร้อยละ 9.5 ของตระกร้าเงินเฟ้อ โดยเฉพาะแรงกดดันจากราคาพลังงานเริ่มปรับตัวชะลอลง ขณะที่สินค้าในหมวดอาหารซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดที่ร้อยละ 49.7 ของตระกร้าเงินเฟ้อ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.7 โดยเป็นผลจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นสาคัญ นอกจากนี้ แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงยังคงเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางของอินเดียต้องดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น และคาดว่าธนาคารกลางของอินเดียยังไม่น่าที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะสั้นลง โดยส่วนหนึ่งมาจากการคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation expectation) ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากประเมินว่าราคาอาหารในระยะต่อไปอาจปรับตัวเร่งขึ้นอีกตามสภาวะภูมิอากาศที่แปรปรวนและทาให้ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ นอกจากเศรษฐกิจของอินเดียจะต้องเผชิญความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงแล้ว ก็ยังต้องเผชิญความเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ทาให้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 6.7 ตามลาดับ (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ