รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20 - 24 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 27, 2012 16:36 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อน โดยขจัดผลของฤดูกาลออกแล้ว
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนก.ค. 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 179.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 55 มียายตัวที่ร้อยละ 99.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 65.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (Markit's Composite PMI) ตัวเลขเบื้องต้นของสหภาพยุโรป ในเดือน ส.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.6 จุด
  • ราคาบ้านจีน เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
  • มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่น ในเดือน ก.ค. 55 หดตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ -8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้า กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 2.1
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอินเดีย ในเดือน ก.ค. 55 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 52 ที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสิงคโปร์ อยู่ที่ร้อยละ 4.0
Indicators next week
 Indicators                          Forecast             Previous
Jul: MPI(%YoY)                         -4.5                 -9.5
  • เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ และอาหาร ที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี จากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะยูโรปที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทำให้คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนนี้ยังคงหดตัวอยู่
Economic Indicators: This Week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 และเมื่อตัดปัจจัยผลของฤดูกาลออก (QoQ_SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และร้อยละ 11.8 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับความต่อเนื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนด้านการผลิตส่งสัญญาณฟื้นตัวเช่นกัน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.3 ตามภาคการผลิตที่กลับมาเป็นปกติหลังจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลงและมีการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการและคำสั่งซื้อที่ยังตกค้าง ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกปี 55 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนก.ค. 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 179.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนก.ค. 55 มีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนก.ค. 55 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 171.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 146.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 (2) รายจ่ายลงทุน 24.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเพื่อชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 14.9 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 6.7 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 6.1 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 8.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.3 ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ (งปม.) สามารถเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 1,908.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม.เบิกจ่ายได้ 1,777.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 74.7 ของกรอบวงเงินงปม.55
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ค. 55 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -52.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 4.8 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน -48.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 55 งบประมาณขาดดุลจำนวน -340.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -36.4 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -376.8 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ 402.0 พันล้านบาท
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 55 มีจำนวน 64,430 คัน หรือขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 99.6 เมื่อเทียบปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 55 มีจำนวน 64,430 คัน หรือขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 99.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 84.2 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 13.4 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง 2. การเร่งเพิ่มกำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เพื่อตอบสนองอุปสงค์ของรถยนต์ที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง และ 3. จากนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ ในการสนับสนุนการซื้อรถคันแรก ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 55 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 41.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 55 มีจำนวน 67,216 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 65.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 68.3 โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 5.9 หมื่นคัน หรือขยายตัวร้อยละ 68.1 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1. การฟื้นตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศ หลังสถานการณ์การน้ำท่วมคลี่คลายลงในช่วงต้นปี 2. การเร่งเพิ่มกำลังการผลิตของค่ายรถยนต์ต่างๆ เพื่อเร่งส่งมอบลูกค้า และ 3. นโยบายสนับสนุนของภาครัฐ ในการสนับสนุนการซื้อรถคันแรก ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 55 ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 49.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.6 จากเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) สะท้อนว่าทิศทางการลงทุนในหมวดการก่อสร้างมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องตามทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และทิศทางของอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ก.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค.55 คาดว่าจะหดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ และอาหาร ที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี จากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะยูโรปที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทำให้คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนนี้ยังคงหดตัวอยู่

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • USA ยอดขายบ้านมือสอง (Existing home sales) เดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ 4.47 ล้านหลัง (annual rate) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1 แสนหลัง ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ในขณะที่ราคากลางบ้านมือสอง (Median existing home price) อยู่ที่ 187,300 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ที่ยังคงเปราะบาง
China: worsening economic trend
  • China ราคาบ้านจีน เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี

ก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยราคาบ้าน 49 ใน 70 เมืองเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมากกว่าเดือนก่อนที่ราคาบ้านใน 25 เมืองปรับตัวเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายโดยเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าการชะลออัตราเงินเฟ้อ ทำให้มาตรการชะลอความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดลง

Euro Zone: worsening economic trend
  • Euro Zone ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (Markit's Composite PMI) ตัวเลขเบื้องต้น เดือน ส.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 46.6 จุด จากระดับ 46.5 จุดในเดือนก่อนหน้า ผลจาก PMI ของเยอรมนีและฝรั่งเศส ปรับตัวสูงขึ้นเป็นหลัก ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จุด จากอุปสงค์ในประเทศที่หดตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ภาคการผลิตหดตัวตาม บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ในระยะสั้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit's Mfg. PMI) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Markit's Service PMI) ตัวเลขเบื้องต้น เดือน ส.ค. 55 ปรับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 45.3 และ 47.5 จุด ตามลำดับ
Japan: worsening economic trend
  • Japan มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 55 หดตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ -8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งหดตัวมากสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่หดตัวลงโดยเฉพาะยูโรโซนและจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของญี่ปุ่น ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 55 กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าพลังงานที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 55 ขาดดุลอยู่ที่ -517.4 พันล้านเยน
Hong Kong: mixed signal
  • Hong Kong อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากราคาอาหารและราคาเช่าบ้านที่ชะลอลง ผนวกกับราคาสินค้านำเข้าที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า
Taiwan: mixed signal
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -4.4 จากช่วงดียวกันปีก่อน โดยหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.6 จากการส่งออกไปยังจีนและยุโรปที่หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -5.5 และ -4.7 ตามลำดับ สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงชัดเจน อย่างไรก็ตาม คาดว่าคำสั่งซื้อการส่งออกในเดือน ส.ค. 55 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ ตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่ลดลง 5,000 คนจากเดือนก่อนหน้า
India: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ค. 55 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 52 ที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.3 ส่วนหนึ่งจากราคาขายปลีกน้ำมัน และราคาผักสดที่ปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งขึ้น ส่งผลให้คาดว่าธนาคารกลางอินเดียอาจยังไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ในระยะสั้น ท่ามกลางอุปสงค์ในและนอกประเทศที่ชะลอลง
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือน โดยสาเหตุสำคัญจากราคาที่อยู่อาศัยและค่าขนส่งที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 และ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคารถยนต์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอาจเป็นปัจจัยในการเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของสิงคโปร์ให้ขยายตัวเร่งขึ้น
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เกินระดับ 1,230 จุด โดย ณ วันที่ 23 ส.ค. 55 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,237.6 จุด จากแรงซื้อของนักลงทุนรายย่อยในประเทศ ผลจากรายงานการประชุม FOMC ณ วันที่ 31 ก.ค. 55 - 1 ส.ค. 55 ที่เพิ่งมีการเผยแพร่ ที่ส่งสัญญานว่า Fed พร้อมที่จะใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หากเศรษฐกิจยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว ทำให้นักลงทุนมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 ส.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -1,180.5 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวสูงขึ้นในพันธบัตรช่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุนเพื่อลงทุนในตราสารระยะสั้นมากขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 ส.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,628.0 ล้านบาท ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 23 ส.ค. 55 ปิดที่ระดับ 31.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 1.08 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับ
  • ค่าเงินสกุลหลักและสกุลเงินภูมิภาค ทั้งค่าเงินเยน ยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินหยวน ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นด้วยอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ของคู่ค้า ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
  • ราคาทองคำปรับสูงขึ้นมาก โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 23 ส.ค. 55 ปิดที่ 1,670.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,620.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ