รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 29, 2012 12:22 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2555

Summary:

1. BOI เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุน 7 เดือน วงเงินมากกว่า 3.3 แสนล้านบาท

2. สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. ลดลงร้อยละ 5.82

3. ส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ของเยอรมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ทาให้เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวร้อยละ0.3

Highlight:
1. BOI เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุน 7 เดือน วงเงินมากกว่า 3.3 แสนล้านบาท
  • BOI เปิดเผยถึงภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ช่วง 7 เดือนแรกของปี 55 มีมูลค่ากว่า 3.3 แสนล้านบาท โดยมีจานวนโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 829 โครงการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่นักลงทุนสนใจลงทุนสูงที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอปุกรณ์ขนส่ง จานวน 281 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1.2 แสนล้านบาท รองลงมาเป็น กิจการอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า 171 โครงการ เงินลงทุน 8.1 หมื่นล้านบาท
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การที่นักลงทุนมีการยื่นขอรับการลงทุนเพิ่มขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อศักยภาพการเป็นแหล่งรองรับการลงทุนของไทย และเป็นศูนย์กลางการผลิตของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการเข้ามาลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายการผลิตภายหลังการฟื้นตัวจากการเผชิญปัญหาน้าท่วม อีกทั้ง ยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้กับนักลงทุนต่างชาติ เช่น มาตรการทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุน การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น ประเทศที่เข้ามาลงทุนสูงสุด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น มีจานวน 474 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 210,884 ล้านบาท โดยมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 120 หรือขยายตัวประมาณ 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 97,338 ล้านบาท ทั้งนี้ การลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 18 ของ GDP ณ ปี 54 และสศค.คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 13.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 12.5 — 14.5 คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)
2. สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. ลดลงร้อยละ 5.82
  • รองผู้อำนวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index-MPI) ประจาเดือนกรกฎาคม 2555 อยู่ที่ระดับ178.07 ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.82 โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก อันได้แก่ ฮาร์ดดิกส์ไดรฟ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตน้าท่วม และมีบางส่วนที่ย้ายฐานการผลิตไป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์หลังจากเผชิญเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 54 ที่ผ่านมาก็กลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยสะท้อนได้จากรายได้จากภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ล่าสุดเดือน ก.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 สอดคล้องกับยอดการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (ที่ปรับฤดูกาล) ที่ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ดี ต้องติดตามสถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อุปทาน (Supply) ของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง สะท้อนจากจานวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ที่ปรับฤดูกาล) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 จากเดือนก่อน โดยเฉพาะอาคารชุดเป็นหลัก
3. ส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ของเยอรมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ทาให้เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวร้อยละ 0.3
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) รายงานว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และการนาเข้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ขณะที่การบริโภคของภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 0.4 ตามลำดับ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของเยอรมันเริ่มมีสัญญาณการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากผลกระทบของวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซนหดตัวลง โดยล่าสุด อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมันในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ดี หากพิจารณาภาคการส่งออกที่ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจเยอรมัน พบว่า การส่งออกในเดือน มิ.ย. 55 เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว หดตัวร้อยละ -1.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 นอกจากนี้ ภาคการผลิตในเดือน มิ.ย. 55 ก็มีสัญญาณที่หดตัวลงเช่นกัน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว หดตัวร้อยละ -0.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 และคาสั่งซื้ออุตสาหกรรมเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว หดตัวร้อยละ -2.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.4 โดยเฉพาะคาสั่งซื้ออุตสาหกรรมจากต่างประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศยูโรโซนหดตัวร้อยละ -4.9 ขณะที่คาสั่งซื้ออุตสาหกรรมจากต่างประเทศที่ไม่ใช่กลุ่มประเทศยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EU ในปี 55 จะหดตัวร้อยละ -0.9 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ