รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 31, 2012 11:05 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2555

Summary:

1. BOI เชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติยังต้องการลงทุนในไทยต่อไปถึงร้อยละ 65.2

2. ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นเดือน ก.ค. 55 หดตัวกว่าที่คาดที่ร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ครึ่งแรกปี 55 ขยายตัวสูงกว่าคาด

Highlight:
1. BOI เชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติยังต้องการลงทุนในไทยต่อไปถึงร้อยละ 65.2
  • เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยผลการศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติในไทย จานวน 434 ราย พบว่าในระหว่างปี 55-56 นักลงทุนต่างชาติร้อยละ 65.2 ยังต้องการลงทุนในไทยต่อไป และอีกร้อยละ 31.6 มีแผนการขยายการลงทุนเพิ่มเติมในปี 56
  • สศค. วิเคราะห์ว่า นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงฐานการลงทุนในไทย และ/หรือขยายแผนการลงทุนในไทยเพิ่มเติมจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในประเทศไทยเนื่องจาก 1) สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของ BOI 2) การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 23 เป็นร้อยละ 20 ที่จะมีผลใช้ในปี 56 3) การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าสินค้าและบริการในภูมิภาค 4) โครงสร้างพื้นฐานและแรงงานในไทยที่มีความสามารถเพียงพอ ทั้ง 4 สาเหตุที่กล่าวมาส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้การลงทุนในประเทศของภาคเอกชนในครึ่งแรกของปี 56 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเทียบสัดส่วนเป็นร้อยละ 15.7 ของ GDP
2. ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นเดือน ก.ค. 55 หดตัวกว่าที่คาดที่ร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • กระทรวงพาณิชย์ญี่ปุ่นรายงานยอดค้าปลีกญี่ปุ่นเดือน ก.ค. 55 โดยหดตัวกว่าที่คาดที่ร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อนหน้าโดยอาจเป็นผลจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติ ส่งผลให้ยอดการจาหน่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสาหรับฤดูร้อนลดลง และยอดการจาหน่ายโทรทัศน์ลดลง จากปัจจัยฐานสูงจากการเปลี่ยนรูปแบบการส่งสัญญานในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดค้าปลีกในเดือน ก.ค. 55 ของญี่ปุ่นที่หดตัวลง สะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากยอดส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง โดยในเดือน ก.ค. 55 มูลค่าส่งออกญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ -8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จึงทาให้รายได้ของผู้ส่งออกลดลง ส่งผลต่อการจับจ่ายภายในประเทศ อีกทั้งค่าตอบแทนพิเศษหรือเงินโบนัสของพนักงานบริษัทเอกชนลดลงกว่าร้อยละ -2.5 จากปีก่อนหน้า หลังจากที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันกว่า 2 ปี ส่งผลให้อานาจการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคญี่ปุ่นลดลง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีเสถียรภาพ ด้วยอัตราการว่างงานที่ต่าเพียงร้อยละ 4.3 ของกาลังแรงงานรวม อีกทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นในครึ่งแรกของปีขยายตัวดีถึงร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จึงจาเป็นต้องจับตาตัวเลขทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะต่อไป ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55 ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 2.2 และจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือน ก.ย. 55 ที่จะถึงนี้
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ครึ่งแรกปี 55 ขยายตัวสูงกว่าคาด
  • เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ครึ่งปี 55 ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ โดย GDP ไตรมาส 2 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากเดิมร้อยละ 2.4 ในไตรมาสแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ ขยายร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีแรกนั้น มีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้ 1) ยอดการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง โดยเดือน ก.ค. 55 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลง 2) ภาวะการจ้างงานสหรัฐฯ ส่งสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านตาแหน่งในช่วง 7 เดือนแรกของปี 55 บ่งชี้ถึงแรงงานที่เริ่มกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้นตามลาดับ ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 55 ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 8.3 ของกาลังแรงงานรวม และ 3) การบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากยอดค้าปลีกที่กลับมาขยายตัวในเดือน ก.ค. 55 ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผนวกกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูง แสดงถึงอุปสงค์ในประเทศซึ่งมีความสาคัญถึงร้อยละ 67.0 ของ GDP ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐ ปี 55 นี้ จะขยายตัวร้อยละ 2.2 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 55)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ