รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 4 กันยายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 4, 2012 16:05 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 กันยายน 2555

Summary:

1. พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค.55 อยู่ที่ 2.69 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

2. กสิกรไทยคาดประชุมกนง. 5 ก.ย.คงดบ. ร้อยละ 3.0 ต่อปี

3. ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลง หลังจีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัว

Highlight:
1. พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค.55 อยู่ที่ 2.69 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
  • ปลัดกระทรวงพาณิชย์เผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เดือน ส.ค.55 อยู่ที่ระดับ 116.28 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.73 ซึ่งถือว่าเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามการบริหารจัดการนโยบายของภาครัฐ และการดูแลโครงสร้างราคาสินค้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 55 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.3-3.8
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย แต่ถ้าเมื่อเทียบกับเทียบก่อนหน้า (%mom) จะพบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปขยายตัวร้อยละ 0.4 เร่งขึ้นจากเดือน ก.ค.55 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.35 แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่เริ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ราคาน้ำดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ท้าให้ดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเทียบก่อนหน้า (%mom) 2) สินค้าในหมวดผักและผลไม้ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเทียบก่อนหน้า (%mom) เช่น แตงกวา ผักคะน้า ผักบุ้ง เนื่องจากฝนตกชุกท้าให้ผักสดบางชนิดได้รับความเสียหาย ทั้งนี้คาดว่าในช่วงในช่วงไตรมาสที่ 4/55 อัตราเงินเงินเฟ้อจะขยายตัวเร่งขึ้น เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำดิบที่ปรับสูงขึ้น และฐานการค้านวนที่ต่ำปีที่ผ่านมา ท้าให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5
2. กสิกรไทยคาดประชุมกนง. 5 ก.ย.คงดบ. ร้อยละ 3.0 ต่อปี
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการตัดสินใจทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ในการประชุมรอบที่ 6 ของปีในวันที่ 5 ก.ย 55 คงจะขึ้นอยู่กับมุมมองของ กนง. ต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่จะถูกกดดันจากปัจจัยภายนอกประเทศว่าจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในการประชุมครั้งนี้ กนง.อาจจะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 (ด้วยมติการประชุมที่อาจจะไม่เป็นเอกฉันท์เช่นเดียวกับในการประชุมรอบก่อน)
  • สศค. วิเคราะว่า จากวิกฤติหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่ได้กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน และอุปสงค์โดยรวมของโลก และเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งปัจจัยต่างๆดังกล่าวจะส่งผลกดดันต่อการขยายตัวของภาคส่งออกของไทย โดยข้อมูลล่าสุด อัตราการส่งออกของไทยเดือน ก.ค. 55 ยังคงหดตัวต่อเนื่องร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ท้าให้คาดว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.0 เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ทดแทนการหดตัวลงของภาคการส่งออกดังกล่าว ทั้งนี้ สศค.คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 55 จะมีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 2.50-3.50 ต่อปี คาดการณ์ ณ มิ.ย.55 และอาจจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือน ก.ย. 55)
3. ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลง หลังจีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัว
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) เดือนต.ค. ร่วงลง 46 เซนต์ แตะที่ 96.01 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ เวลา 13.11 น.ตามเวลาลอนดอน 3 ก.ย. หลังจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของจีนหดตัวลง โดยสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตยังคงปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ซึ่งลดลง 0.9 จุด เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. และเป็นครั้งแรกที่ดัชนี PMI ลดลงต่ำว่าระดับ 50 จุด
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนก้าลังเผชิญแรงกดดันทั้งจากวิกฤตยูโรโซน กระแสเงินทุนไหลออก ความต้องการกู้ยืมที่ถดถอย ตลอดจนรับผลกระทบจากการลงทุนที่เบาบางจากต่างแดน โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ลดลงร้อยละ 8.7 ในเดือน ก.ค. 55 ซึ่งเป็นระดับต่ำนับจากเดือน ธ.ค. 54 ขณะเดียวกันการปรับตัวลงของดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ดังกล่าว อาจท้าให้ทางการจีนต้องตัดสินใจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม นอกเหนือจากการอาศัยเครื่องมือทางการเงินทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (1 year lending) ไว้ที่ระดับร้อยละ 6.00 ต่อปี (จากระดับร้อยละ 6.56 ในปีก่อนหน้า) และปรับลดอัตราเงินสดส้ารอง (RRR) จากระดับ 20.5 ในปี54 มาอยู่ที่ระดับ 19.5 ในปีนี้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ