Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนส.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 3.7
- วันที่ 5 ก.ย. 55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 107.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ก.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงิน อยู่ที่ร้อยละ 20.2
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 68.4
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กภายในประเทศเดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP สหภาพยุโรป ไตรมาส 2 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP อินเดีย ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ GDP ออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 4.0
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg. PMI) สหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 49.6
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม ที่จัดทำโดย NBS และ HSBC ของจีน ในเดือน ส.ค. 55 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.2 และ 47.6 ตามลำดับ
Indicators Forecast Previous Jul : Unemployment Rate (% YoY) 0.9 0.7
โดยมีสาเหตุจากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง เนื่องจากภาคการผลิตของไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค. ที่หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเป็นการหดตัวของสาขาการผลิตที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และ ปิโตรเลียม เป็นต้น
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ตามการเพิ่มขึ้นของ (1) ราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 (2) สินค้าในหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เช่น แตงกวา ผักคะน้า ผักบุ้ง เนื่องจากฝนตกชุกทำให้ผักสดบางชนิดได้รับความเสียหาย สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.8 แต่ถ้าเมื่อเทียบกับเทียบก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีในหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (วงกบประตู-หน้าต่าง บานประตู หน้าต่าง) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (ท่อร้อยสายไฟ ท่อประปา-PVC) เพิ่มขึ้นร้อยละ0.3 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตจากไม้นำเข้า และเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตท่อ PVC มีราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงสูงขึ้น
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 107.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 603.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยเพียง 482.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกที่หดตัวลงร้อยละ -8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุลลดลงที่ -375.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการลดลงของรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนที่เร่งจ่ายไปเป็นจำนวนมากในเดือนก่อน ขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7 เดือนแรกของปี 55 ขาดดุล -1,794.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค. 55 มีจำนวน 190,482 คัน หรือหดตัวที่ร้อยละ -5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวตัวร้อยละ 6.1 ตามการลดลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาคและยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม. ที่หดตัวร้อยละ -6.9 และร้อยละ -0.6 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 และร้อยละ 27.1 ตามลำดับ เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวลดลง ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่หดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคายางพารา และมันสำปะหลัง ประกอบกับปัจจัยฐานสูงปีก่อนที่รถขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกปี 55 ปริมาณการจำหน่ายรถจักยานยนต์ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- วันที่ 5 ก.ย. 55 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 จากการที่ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงในระดับสูง และเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในระดับสูง และภาวะการเงินในขณะนี้อยู่ในระดับผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้ กนง. จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0
- สินเชื่อเดือน ก.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.1 ทั้งนี้หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า ทั้งสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ต่างขยายตัวเร่งขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตอุทกภัย ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน และการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลลบต่อภาคการส่งออก รวมถึงเศรษฐกิจไทยในอนาคต
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.6 โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.6 สะท้อนการเร่งระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 68.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 68.2 โดยมีปัจจัยบวกจาก 1. สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ซึ่งดีกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ และ 2.ความต่อเนื่องของนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ในการเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลเรื่องค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 13.7 จากเดือนก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 65.4 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) หดตัวร้อยละ -4.5 ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายเหล็กเส้นกลม(น้ำหนักร้อยละ 14.0) กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 ทั้งนี้ การหดตัวที่ชะลอลงสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่หดตัวร้อยละ -5.8
- อัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยมีสาเหตุจากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง เนื่องจากภาคการผลิตของไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค. ที่หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเป็นการหดตัวของสาขาการผลิตที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และ ปิโตรเลียม เป็นต้น
Global Economic Indicators: This Week
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg. PMI) เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 49.6 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.8 อนึ่ง ดัชนีฯ ที่อยู่ระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ในขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.7 บ่งชี้ความแข็งแกร่งของภาคบริการสหรัฐฯ
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม ที่จัดทำโดย NBS และ HSBC เดือน ส.ค. 55 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.2 และ 47.6 ตามลำดับ บ่งชี้การหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากดัชนีผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ปรับลดลง ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ จัดทำโดย HSBC เดือน ส.ค. 55 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 บ่งชี้ภาคบริการที่เริ่มชะลอตัว จากดัชนีธุรกิจใหม่ที่ปรับลดลง และราคาค่าจ้างที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ดัชนีที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 ยังคงบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ
- GDP ไตรมาส 2 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 55 ปรับตัวขึ้นระดับสูงสุดที่ร้อยละ 11.3 ของกำลังแรงงานรวม และอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 55 ปรับตัวสูงขึ้นมาที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ ส่งผลให้ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 55 หดตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit's Comp. PMI) เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 46.3 จากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากว่า 2 ปี ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนในครึ่งแรกปี 55 หดตัวโดยธนาคารกลางยุโรป ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ก.ย. 55 ไว้ที่ร้อยละ 0.75 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
- GDP ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายในหมวดอาหารที่ชะลอลง สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอลง มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจคู้ค้าสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -7.3 จากปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวชะลอลงเช่นกันที่ร้อยละ 0.7 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -0.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 51.6 เพิ่มขึ้นจากเดือน จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 19.8 จากปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากยอดค้าอาหารเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 55 อยู่ระดับคงที่ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากราคาอาหารและราคาที่อยู่ที่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 5.6 เป็นสำคัญ
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือน ส.ค. 55 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.1 จากการผลิตเพื่อส่งออกไปจีน เกาหลีใค้ และอินเดียที่ชะลอตัวลง บ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจหดตัว
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 50.5 สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
- ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการบริโภคภาครัฐที่เร่งขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนชะลอลง มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -7.6
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 47.5 จากการหดตัวของคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก สอดคล้องกับ มูลค่าการส่งออก (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีนและยูโรโซนที่หดตัว สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้า (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ส.ค. 55 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ -9.8 จากการนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 55 ลดลงต่ำสุดในรอบ 12 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของราคาอาหารสด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 46.1 จากการหดตัวของคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 55 ปรับตัวสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี ที่ร้อยละ 3.4 จากราคาผักสดและผลไม้ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก จากภาคการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่น
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เกินระดับ 1,240 จุด โดย ณ วันที่ 6 ก.ย. 55 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,243.9 จุด จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ ผลจากการคาดการณ์ว่า Fed อาจใช้มาตรการ QE3 ในอนาคตอันใกล้ จากสุนทรพจน์ของประธาน Fed ที่เมือง Jackson Hole เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรปอาจเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้นักลงทุนมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 ก.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,095.2 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างคงที่ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ มากระทบตลาด ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 ก.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,363.1 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 6 ก.ย. 55 ปิดที่ระดับ 31.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.54 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักและสกุลเงินภูมิภาค โดยเฉพาะเงินยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินหยวน ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นด้วยอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ของคู่ค้า ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
- ราคาทองคำปรับสูงขึ้นมาก โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 6 ก.ย. 55 ปิดที่ 1,701.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,691.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th