Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.ย. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.9
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 857.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 67.5
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศ เดือนส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สินเชื่อเดือน ส.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินอยู่ที่ร้อยละ 22.6
- อัตราการว่างงานเดือน ส.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวม
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสากรรม (ISM Mfg. PMI) สหรัฐฯ เดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน จัดทำโดย NBS และ HSBC เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 49.8
และ 47.9 ตามลำดับ
- วันที่ 5 ต.ค. 55 ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ต.ค. 55 ที่ช่วงร้อยละ 0-0.1
- วันที่ 2 ต.ค. 55 ธนาคารกลางออสเตรเลีย ประกาศลดอัตราญ ดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.25
Indicators Forecast Previous Sep : Motorcycle Sale (% YoY) 2.5 -5.7
ตามการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาค โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ในขณะที่ภาคใต้คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่อง จากรายได้เกษตรกรที่ยังคงปรับตัวลดลง ตามการหดตัวของราคายางพาราเป็นสำคัญ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.ย. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 โดยมีสาเหตุหลักจากฐานต่ำในช่วงปีก่อนหน้า ประกอบกับมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ FT ในอัตรา 18 สตางค์ต่อหน่วย และยังมีการเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่เพิ่มขึ้น ทำให้เงินเฟ้อมีการเร่งตัว อย่างไรก็ตามสินค้าประเภทเนื้อหมู ไข่ รวมถึงน้ำมันขายปลีกในประเทศมีการปรับตัวลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เร่งตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ -0.4 จากการลดลงของดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กแผ่นเรียบดำ ท่อเหล็ก) ที่ลดลงร้อยละ -2.1 ต่อเดือน เป็นสำคัญ เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ทำให้ดัชนีราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศปรับตัวลดลงตาม
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 857.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 119.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าเกินดุล 1,540.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกที่หดตัวเพียงร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงกว่าการนำเข้าที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -11.0 ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุลเล็กน้อยที่ -682.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการลดลงของค่าระวางสินค้า ตามการนำเข้าที่หดตัว ขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับดี ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 8 เดือนแรกของปี 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 13.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 67.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 68.4 โดยมีปัจจัยลบจาก 1. สถานการณ์เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น สะท้อนจากการส่งออกของไทยในเดือนส.ค.ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน 2. ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม เนื่องจากฝนตกชุกหนาแน่นในช่วงที่ผ่านมา และ 3. ค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือนส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.5 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กเส้นข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 65.4 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายเหล็กเส้นกลม(น้ำหนักร้อยละ 14.0) ขยายตัวร้อยละ 18.7 ต่อปี และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี(น้ำหนักร้อยละ 12.7) ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี ทั้งนี้ การหดตัวที่ชะลอลงสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อปี
- สินเชื่อเดือน ส.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.5 ทั้งนี้หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า ทั้งสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ต่างขยายตัวเร่งขึ้น ตามอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน และการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลลบต่อภาคการส่งออก รวมถึงภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในอนาคต
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.3 โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.9 จากเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่เร่งขึ้นมาก ส่วนหนึ่งจากการขยายระยะเวลาวงเงินคุ้มครองเงินฝาก 50 ล้านบาทออกไปอีก 3 ปี (จนถึงปี 58) และการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า รวมถึงการเร่งระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,899.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 108.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.2 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 64.6 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 25.1 พันล้านบาท และการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 38.0 พันล้านบาท ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นสุทธิ 60.9 พันล้านบาท โดยเฉพาะจากการออกพันธบัตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 60.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 94.3 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.2 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- การจ้างงานเดือน ส.ค.55 อยู่ที่ 39.54 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 1.05 แสนคน ขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาล พบว่าการจ้างงานลดลง 3.5 แสนคนจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานภาคบริการมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน ส.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวมคิดเป็นผู้ว่างงาน 2.2 แสนคน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.7 ตามการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาค โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ในขณะที่ภาคใต้คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่อง จากรายได้เกษตรกรที่ยังคงปรับตัวลดลง ตามการหดตัวของราคายางพาราเป็นสำคัญ
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสากรรม (ISM Mfg. PMI) เดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 49.6 บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคการผลิตหลังจากหดตัวติดต่อกัน 3 เดือน ในขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ (ISM Non-Mfg. PMI) อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด สูงสุดในรอบ 6 เดือน จากกิจกรรมทางธุรกิจ ยอดคำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ยอดขายรถยนต์รวม เดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ 11.6 ล้านคัน (annual rate) หรือขยายตัวร้อยละ 5.0 จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม จัดทำโดย NBS และ HSBC เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 49.8 และ 47.9 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ดีขึ้นแต่ตัวเลขอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม
คำสั่งซื้อภาคก่อสร้าง เดือน ก.ย. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 8.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น สะท้อนจาก ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ (Housing Start) เดือน ส.ค. 55 หดตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ต.ค. 55 ที่ช่วงร้อยละ 0-0.1
อัตราเงินเฟ้อ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ย. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit's Composite PMI) เดือน ก.ย. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.1 จุด สอดคล้องกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit's Mfg. PMI) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Markit's Serv. PMI) เดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 46.1 และ 46.1 จุด ตามลำดับ แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 จุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 บ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมกรรมหดตัว ส่วน อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 55 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 11.4 ของกำลังแรงงานรวม ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นับว่าเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย เดือน ส.ค. 55 นี้ มีประชากรผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 18.2 ล้านคน ขณะที่ ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 55 หดตัวชะลอลงจากร้อยละ -1.4 ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่หดตัวชะลอลงเป็นสำคัญ การประชุม ECB เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 55 มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ต.ค. 55 ที่ร้อยละ 0.75
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยังยูโรโซน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC/Markit's Mfg. PMI) เดือน ก.ย. 55 ทรงตัวที่ระดับ 52.8 จุด ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (HSBC/Markit's Serv. PMI) เดือน ก.ย. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 55.8 จุด ซึ่งสูงสุดในรอบ 7 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ก.ย. 55 ลดลงมาที่ระดับ 48.7 จุด บ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอลง
วันที่ 2 ต.ค. 55 ธนาคารกลางออสเตรเลีย ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.25 จาก(1) การชะลอลงของเศรษฐกิจจีน (2) ราคาสินค้าส่งออกหดตัวต่อเนื่อง และ (3) ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวม โดยมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วน ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 55 กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 55 หดตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและพลังงานที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC/Markit's Mfg. PMI) เดือน ก.ย. 55 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 52 ที่ระดับ 45.7 สะท้อนการหดตัวในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ส่วนหนึ่งจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่สะท้อนการหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออก(ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ย. 55 ที่หดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังจีนกลับมาเร่งขึ้น ขณะที่การส่งออกไปยังยูโรโซน และสหรัฐฯหดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้า(ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ย. 55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ -6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าเพื่อการผลิตเพื่อการส่งออกที่ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในแทบทุกหมวดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาอาหารสดเป็นสำคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 55 หดตัวร้อยละ -24.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ผลจากอุปสงค์ต่างประเทศชะลอตัวและฐานสูงในปีก่อน จากการส่งออกไปยุโรปและญี่ปุ่นที่หดตัว ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 55 หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -8.0 สะท้อนการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ การหดตัวของการนำเข้าทำให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ 248.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาที่อยู่อาศัยและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเป็นหลัก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (HSBC PMI) เดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 50.5 ลดลงจากเดือนก่อน จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ชะลอลงเป็นสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit's Mfg. PMI) เดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนที่ระดับ 45.6 สะท้อนการหดตัวในภาคการผลิตต่อเนื่อง จากการผลิตเพื่อการส่งออกที่ลดลง ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้น เกินระดับ 1,300 จุด โดย ณ วันที่ 4 ต.ค. 55 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,306.6 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยถึงวันละ 38,523.3 ล้านบาท จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศ ผลจากการทำ stress test ของสเปนที่ออกมาดีกว่าที่คาดถึงแม้จะมีปัญหาการจราจลต่อเนื่องในยุโรปก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 - 4 ต.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,017.0 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงในเกือบทุกช่วงอายุ เนื่องจากนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุนเพื่อลงทุนในตราสารระยะกลางและระยะยาวมากขึ้น จากความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ประกอบกับอุปทานของพันธบัตรที่จะมีการประมูลในเดือนนี้มีน้อย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 - 4 ต.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4,439.0 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก โดย ณ วันที่ 4 ต.ค 55 ปิดที่ระดับ 30.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 1.26 ซึ่งแข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักและสกุลเงินภูมิภาค เนื่องจากมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าซื้อทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ไทยเป็นปริมาณมาก ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าด้วยอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ของคู่ค้าอย่างมาก ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41
- ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัว โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 4 ต.ค. 55 ปิดที่ 1,786.35 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,773.79 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th