รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 8 - 12 ตุลาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 15, 2012 11:57 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 55 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.21 ล้านล้านบาท
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 3 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 55 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3.5 ปีที่ร้อยละ 7.8 ของกำลังแรงงานรวม
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (HSBC's Service PMI) จีน ในเดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 54.3 จุด
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือน ก.ย. 55 ปรับลดลงจากระดับ 40.5 จุดในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 40.1 จุด
  • วันที่ 11 ต.ค. 55 ธนาคารกลางอินโดนีเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ร้อยละ 5.75 ในขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้

ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.75

  • อัตราการว่างงานออสเตรเลีย เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 29 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ของกำลังแรงงานรวม
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมาเลเซีย เดือน ส.ค. 55 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อฮ่องกง เดือน ก.ย. 55 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 49.6 ญ
Indicators next week
 Indicators                          Forecast             Previous
 Sep : TISI (Index)                    98.5                 98.5

เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงมีความยืดเยื้อ ในขณะที่เศรษฐกิจจีนยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการให้ยังคงต่ำกว่า 100

Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 55 มีจำนวน 181,080 คัน หรือหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.7 และหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของในกทม.และยอดขายรถจักรยานยนต์ภูมิภาค ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 และหดตัวร้อยละ -1.9 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.6 และร้อยละ -6.9 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เนื่องจากยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 55 ปริมาณการจำหน่ายรถจักยานยนต์ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.21 ล้านล้านบาท จากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เร่งขึ้นถึงร้อยละ 3.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่สินเชื่อขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอกว่าเงินฝาก โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ เงินฝากที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง จากการแข่งขันเพื่อระดมทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงจะเข้มข้นต่อเนื่อง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น จะส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดว่า ในช่วงที่เหลือของปี 55 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จะอยู่ในระดับใกล้เคียงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากนอกประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และสถานะของสภาพคล่องได้ในระยะต่อไปนอกจากนี้ ควรจับตามองผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน ค่าเงินบาท รวมถึงปริมาณสภาพคล่องในระบบ จากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกที่ 3 (QE3) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 98.5 ทรงตัวเทียบเท่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 98.5 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงมีความยืดเยื้อ ในขณะที่เศรษฐกิจจีนยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการให้ยังคงต่ำกว่า 100

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้น 114,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการจ้างงานภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคบริการเป็นสำคัญ ในขณะที่การจ้างงานภาคการผลิตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการจ้างงานpart-time ทำให้อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 55 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3.5 ปีที่ร้อยละ 7.8 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงานรวม
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (HSBC's Service PMI) เดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 52.0 จุด ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 54.3 จุดซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา
Japan: worsening economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 55 ปรับลดลงจากระดับ 40.5 จุดในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 40.1 จุด ซึ่งยังคงต่ำกว่าระดับ 50 จุด สะท้อนให้เห็นว่า ชาวญี่ปุ่นมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านช่องทางการค้าแล้ว
Singapore: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ หดตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ -1.5 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทำให้สิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค จากความเปราะบางทางเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสิงค์โปร์ผ่านช่องทางการค้า
Malaysia: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 55 หดตัวเร่งขึ้นมาที่ร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปยังจีนและยูโรโซนที่หดตัวลงเป็นสำคัญที่ร้อยละ -10.6 และ -24.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 9.5 ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 55 เกินดุลที่ 7.1 พันล้านริงกิต ประกอบกับ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 55 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุสำคัญสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว สะท้อนถึง อุปสงค์นอกประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
Indonesia: mixed signal
  • ธนาคารกลางตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ต.ค. 55 ที่ร้อยละ 5.75 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง และต้องการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยไม่ให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 55 กลับมาหดตัวร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือนจากการส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง และสหรัฐฯ ที่หดตัวเป็นสำคัญ ในด้านรายสินค้า สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของฟิลิปปินส์ (สัดส่วนร้อยละ 46.5 ของมูลค่าการส่งออกรวม) หดตัวที่ร้อยละ -14.9 โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 55 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากค่าที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.5 เป็นหลัก
Australia: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 29 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ของกำลังแรงงานรวม (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งจากการที่มีผู้หางานเพื่มขึ้นในตลาดแรงงานเป็นจำนวนมาก แม้ว่าการจ้างงานจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
Hong Kong: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ก.ย. 55 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 49.6 จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ (โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากจีน) ปรับตัวลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 54 นอกจากนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเช่นกัน สะท้อนอุปสงค์จากในและนอกประเทศที่ส่งสัญญาณชะลอลง
South Korea: mixed signal
  • วันที่ 11 ต.ค. 55 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ท่ามกลางความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนที่ร้อยละ 10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยหากวิเคราะห์รายละเอียดสินค้าส่งออก พบว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นมาก สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่เร่งขึ้น ตามฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นในรอบ 5 เดือน มาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลง ต่ำกว่าระดับ 1,300 จุด โดย ณ วันที่ 11 ต.ค. 55 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,294.9 จุด จากแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ ผลจากการที่ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 55 และ 56 โดยคาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 และ 3.6 ตามลำดับ ประกอบกับการที่ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง จากเดิมระดับ BBB+ สู่ระดับ BBB- ทำให้นักลงทุนมีความกังวลและเทขายหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 - 11 ต.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -11,148.8 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างนิ่ง ด้วยปริมาณซื้อขายเบาบาง เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระทบตลาด ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 - 11 ต.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,274.6 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 11 ต.ค 55 ปิดที่ระดับ 30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -0.43 เป็นไปตามค่าเงินสกุลหลักและภูมิภาค โดยเฉพาะ แข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักและสกุลเงินภูมิภาค โดยเฉพาะเงินยูโรและริงกิตมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าด้วยอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ของคู่ค้า ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.37
  • ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัว โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 11 ต.ค. 55 ปิดที่ 1,768.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,774.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ