รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 30, 2012 12:50 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2555

Summary:

1. พม่าตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกข้าวจาก 1.5 ล้านตัน/ปี เป็น 3 ล้านตัน/ปีในปี 2560

2. เอเซียความหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก

3. นายกฯอิตาลีบินถกนายกฯสเปนมุ่งหารือวิกฤตหนี้ Highlight

Highlight:
1. พม่าตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกข้าวจาก 1.5 ล้านตัน/ปี เป็น 3 ล้านตัน/ปีในปี 2560
  • เลขาธิการสมาพันธ์ข้าวแห่งชาติพม่ากล่าวว่า พม่ามีเป้าหมายจะส่งออกข้าวราว 3 ล้านตันในปี 2560 จากปัจจุบันที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.5 ล้านตันในปีเพาะปลูก 2555 โดยตลาดข้าวมีปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผู้ส่งออกรายใหม่ เช่น บราซิล รัสเซีย และอิยิปต์ หากไม่มีภัยธรรมชาติในแหล่งเพาะปลูกสาคัญ เราจะเห็นปริมาณอุปทานที่เพียงพอตลอดปีนี้จนถึงปี 2556 ส่วนด้านองค์การเกษตรและอาหารโลกของสหประชาชาติ (UN) กล่าว พม่ามีแผนที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวให้ได้ 4 ตันต่อเอเคอร์ในปี 2560 จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.25 ตันต่อเอเคอร์
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ประเทศพม่าได้วางยุทธศาสตร์ในการกลับมาเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสาคัญของตลาดโลกอีกครั้งหลังจากที่เคยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 1 ของโลกในช่วงปี 2503-2506 แต่การส่งออกได้หยุดชะงักลง เนื่องจากเกิดการยึดอานาจโดยรัฐบาลทหาร จนเป็นเหตุให้ถูกคว่าบาตรทางการค้าจากนานาชาติ ส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้นาการส่งออกในตลาดข้าวระดับบน ควรรักษาลูกค้ากลุ่มระดับบนไว้โดยการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตแทนการแข่งขันด้านปริมาณ ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 55 ไทยส่งออกได้แล้ว 5.2 ล้านตัน มีมูลค่าสูงกว่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เวียดนาม และอินเดีย แม้จะมีปริมาณส่งออกสูงกว่าไทยในช่วงเวลาเดียวกัน แต่มีมูลค่าการส่งออกรวมต่ากว่าข้าวไทยมาก
2. เอเซียความหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก
  • ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยในงานเสวนา อนาคต 1 ทศวรรษ เอเชีย ว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและเป็นปัญหาสาคัญของโลกในขณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่าวิถีการทาธุรกิจแบบทุนนิยม ที่แสวงหากาไรสูงที่สุด ไม่ใช่คาตอบที่ถูกสุดอีกต่อไป เพราะการดาเนินธุรกิจที่ไม่ระมัดระวังจะก่อให้เกิดความผิดพลาดและนาไปสู่วิกฤตต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นและกาลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง 1 ใน 3 ของโลก โดยมี ประเทศจีน และ ญี่ปุ่น เป็นผู้นาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีการคาดการณ์กันว่า ในอีก 50 ปี ข้างหน้า GDP เฉพาะภูมิภาคเอเซีย จะมีขนาด 50% ของ GDP โลก จากกาลังซื้อที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและปัญหาความเสี่ยงด้านการคลังของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศกาลังพัฒนาในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ประเทศกาลังพัฒนาในเอเชียจะต้องมีการปรับตัวกับสภาวะของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง โดยประเทศต่าง ๆ ในเอเชียจะต้องพยายามมากขึ้นที่จะพึ่งพาการส่งออกให้น้อยลง สร้างดุลยภาพของปัจจัยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการผลิตให้มากขึ้น นอกจากนี้ ในปี 2558 จะมีการร่วมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียมากยิ่งขึ้น ซึ่งภูมิภาคเอเซียก็จะมีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าแนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 55 และ 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 4.1 ตามลาดับ (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 55)
3. นายกฯอิตาลีบินถกนายกฯสเปนมุ่งหารือวิกฤตหนี้
  • ผู้นาอิตาลีและสเปน สองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรปรุนแรงที่สุด จะพบปะหารือกันที่กรุงมาดริดในวันนี้ โดยนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลี เดินทางเยือนประเทศสเปน เพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรี มาเรียโน ราฮอย และจะมีการจัดแถลงข่าวร่วมกันภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ทั้งนี้ การหารือระหว่างผู้นาสองประเทศมีขึ้นหลังจากที่เมื่อ 3 เดือนก่อน นายมาริโอ มอนติ ประธานอีซีบี ได้ให้คามั่นว่าจะทาทุกอย่างที่ทาได้เพื่อปกป้องยูโร ตามด้วยการประกาศโครงการซื้อพันธบัตรสาหรับประเทศที่กาลังประสบปัญหาทางการเงินเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของอิตาลีและสเปนกาลังเผชิญปัจจัยกระทบด้านการเงินและด้านการผลิต เนื่องจากภาวะต้นทุนทีสูงขึ้นจากการเรียกร้องของนักลงทุนให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชดเชยความเชื่อมั่นและความเสี่ยง หากต้องถือครองพันธบัตรและตราสารหนี้ของทั้งสองประเทศ ซึ่งต้นทุนเงินกู้ที่สูงขึ้นย่อมจะย้อนกลับมากระทบต่อความยั่งยืนและระดับของหนี้สาธารณะตลอดจนกระทบต่อภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาภาคการผลิตโดยรวมในยุโรปยังคงเปราะบางสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Markit’s Comp. PMI) เดือน ต.ค. 55 ปรับตัวลดลงต่าสุดในรอบ 39 เดือนที่ระดับ 45.8 จุด

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ