รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 31, 2012 12:07 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2555

Summary:

1. ทิสโก้คาดเศรษฐกิจไทยปี 56 เติบโตแค่ร้อยละ 4.5 เหตุปัญหายุโรปยืดเยื้อ

2. AREA เชื่อภาพรวมราคาบ้านปี 56 จะขยับเพียงร้อยละ 5 ยกเว้นแนวรถไฟฟ้า

3. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. 55 ทรงตัวที่ร้อยละ 4.2

Highlight:
1. ทิสโก้คาดเศรษฐกิจไทยปี 56 เติบโตแค่ร้อยละ 4.5 เหตุปัญหายุโรปยืดเยื้อ
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ ทิสโก้ เวลธ์ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 56 จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ท่ามกลางการส่งออกที่ยังฟื้นตัวได้ไม่มากจากปัญหาเศรษฐกิจยุโรปที่ยืดเยื้อ ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินการคลัง การลงทุนของภาครัฐและการบริโภคในประเทศ รวมทั้งยังคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.75 ไปจนถึงกลางปีหน้า และอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นเมื่อมีแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 55 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นสาคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนสะท้อนได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคงที่ และปริมาณจาหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 12.7 และ 48.6 เมื่อเทียบกับช่วงแดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนสะท้อนได้จากปริมาณการนาเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับช่วงแดียวกันของปีก่อน สาหรับภาคการส่งออกหดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงแดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่หดตัวจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่เปราะบาง รวมถึงทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 55-56 จะได้รับปัจจัยบวกจากการขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 7 จนถึงเดือน ก.ย. 57 การเร่งรัดการใช้จ่ายของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ที่ร้อยละ 2.75 ซึ่งถือเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 55-56 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 55 และ 56 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.3—5.8) และร้อยละ 5.2 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.7—5.7) ตามลาดับ (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 55)
2. AREA เชื่อภาพรวมราคาบ้านปี 56 จะขยับเพียงร้อยละ 5 ยกเว้นแนวรถไฟฟ้า
  • ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) เปิดเผยว่า ราคาที่อยู่อาศัยทุกประเภท ในปี 56 จะเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 10-20 โดยคาดว่า ราคาอาจปรับเพิ่มขึ้นเช่นในปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 5 แต่ในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีศักยภาพสูงอื่น ราคาอาจปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 10 เนื่องมาจากราคาวัสดุก่อสร้างนับแต่กลางเดือน มิ.ย. 55 - ก.ย. 56 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 ขณะที่ค่าแรงขั้นต่าแม้จะเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาท หรือเพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 40 ก็ส่งผลต่อราคาบ้านเพียงบางส่วน เพราะค่าแรงเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 30 ของค่าก่อสร้าง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 55 ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวที่ดีของเศรษฐกิจไทย ทาให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากยอดยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นเดือน ส.ค. 55 ที่ขยายตัวรอยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้จานวนที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยในแนวราบที่ร้อยละ 13.9 และที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยเฉพาะตามแนวบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า ที่ราคาที่ดินอาจพุ่งขึ้นตามผังเมืองใหม่
3. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. 55 ทรงตัวที่ร้อยละ 4.2
  • อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเดือนก.ย. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกาลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้า โดยคิดเป็นผู้ว่างงานจานวน 2.73 ล้านคน เนื่องจากเศรษฐกิจที่กาลังประสบปัญหาได้สกัดการขยายตัวด้านการจ้างงานในภาพรวม ขณะที่สัญญาณของความอ่อนแรงได้เพิ่มมากขึ้นในภาคการผลิต
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นโดยรวมถือว่าค่อนข้างอ่อนแอ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์วิกฤติกรณีพิพาทญี่ปุ่น-จีนในประเด็นหมู่เกาะเซนกากุ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการส่งออก สะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออกเดือน ก.ย. 55 หดตัวร้อยละ -10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมูลค่าการส่งออกไปยังคู่ค้าหลัก อาทิเช่น จีน และยูโรโซน เดือน ก.ย. 55 หดตัวที่ร้อยละ —14.1 และ -21.1 ตามลาดับ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการลงทุน การท่องเที่ยว และการจ้างงานในภาคการผลิต โดยล่าสุดผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 55 อยู่ที่ระดับ 86.4 หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่การว่างงานโดยรวมในตรมาสที่ 3 ของปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกาลังแรงงานรวม

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ