เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 26, 2012 11:34 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่การส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนจากเดือนก่อนหน้า"

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2555 ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อเดือน ขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนได้จากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวเร่งขึ้นมากร้อยละ 509.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 263.7 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อเดือน จากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น ประกอบกับกำลังการผลิตของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ สามารถกลับมาผลิตได้เต็มประสิทธิภาพเป็นปกติ และมีการส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 28.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -0.5 ต่อเดือน โดยยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.และในภูมิภาค มีการขยายตัวร้อยละ 109.2 และร้อยละ 15.7 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 70.2 และร้อยละ 15.5 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำจากวิกฤติอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ประกอบกับรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ เนื่องจากยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับ 69.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 68.1 เป็นการปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน จากปัจจัยหลักจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้บริโภคคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม ประกอบกับภาวะการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และความชัดเจนในเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ทั่วประเทศในปี 2556

           เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                              2555
                                              Q1      Q2      Q3     ต.ค.    พ.ย.    YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)                 12.0     6.3    20.2    19.4    29.7    14.7
          %qoq_SA / %mom_SA                  9.5     2.7     6.8   -10.2     0.6
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)                   -5.4    77.0    78.6   263.7   509.9    78.9
          %qoq_SA / %mom_SA                 94.2    41.1    31.3     6.6     6.9
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)            -0.6     4.4    -0.4    24.0    28.0     4.0
          %qoq_SA / %mom_SA                 20.6     6.8    -1.7    11.0    -0.5
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                          65.3    67.7    68.4    68.1    69.4    67.3

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวที่ร้อยละ 445.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 206.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -4.2 ต่อเดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังการผลิตของบริษัทรถยนต์ที่มีการเร่งผลิตเพิ่มสูงขึ้น และมีการส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 64.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 86.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อเดือน จากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนจากวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2554 ทั้งนี้ ปัจจุบันความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่ฟื้นตัว สอดคล้องกับด้านอุปทาน (Supply) ของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะอาคารชุดเป็นหลัก ในขณะที่ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 24.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 30.9 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -9.1 ต่อเดือน

          เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                                2555
                                            Q1      Q2      Q3      ต.ค.     พ.ย.    YTD
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)           33.5    62.3    53.5    206.8    445.8    70.5
          %qoq_SA / %mom_SA              205.7     2.9    18.1      4.2     -4.2
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)        4.2    26.3     7.2     86.4     64.7    21.5
          %qoq_SA / %mom_SA                1.5    21.8    -5.5     14.1      8.9
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                  5.4     5.2    12.1     30.9     24.0    10.8
          %qoq_SA / %mom_SA                3.3     2.7    11.7     10.0     -9.1

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจ พบว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนพฤศจิกายน 2555 มีจำนวน 299.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 87.0 โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายจำนวน 270.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.4 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 223.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.8 และ (2) รายจ่ายลงทุน 47.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 913.1 สำหรับรายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้ 29.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) ในเดือนพฤศจิกายน 2555 เท่ากับ 174.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 สำหรับฐานะการคลัง พบว่า ดุลเงินงบประมาณในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขาดดุลจำนวน -136.6 พันล้านบาท สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย

   เครื่องชี้ภาคการคลัง                           FY2555                             FY2556
                           FY2555  Q1/FY55  Q2/FY55  Q3/FY55  Q4/FY55     ต.ค.    พ.ย.   YTD
รายได้สุทธิของรัฐบาล          1,977.5    398.4    412.9    620.5    545.7   146.8   174.4  321.2
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)                      4.5      0.7      4.8      3.9      8.0    10.5    25.6   18.2
รายจ่ายรวม                 2,295.3    489.8    779.5    459.9    566.1   312.2   299.8  612.0
(%y-o-y)                      5.4    -18.1     39.0    -14.6     17.9    87.0    99.6   92.9
ดุลเงินงบประมาณ              -314.7    -84.8   -372.4    169.4    -26.9  -163.5  -136.6 -300.1

4. การส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2555 มีสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า พบว่า การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤศจิกายน 2555 มีมูลค่า 19.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อเดือน โดยถือเป็นการขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน จากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนจากวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2554 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกไปรายประเทศพบว่าสามารถขยายตัวได้ในอัตราเร่งเกือบทุกประเทศยกเว้นประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ทั้งนี้ การส่งออกหลักที่กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีนขยายตัวร้อยละ 32.1 อาเซียน-9 ขยายตัวร้อยละ 18.6 และออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 73.0 สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 21.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.6 ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐทำให้ดุลการค้าในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขาดดุลอยู่ที่ -1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

       ประเทศคู่ค้าหลักของไทย                                   2555
        (สัดส่วนการส่งออก)                  Q1      Q2      Q3      ต.ค.    พ.ย.    YTD
มูลค่าการส่งออกรวม (%yoy)                 -1.4     2.0    -3.8     15.6    26.9     2.3
1. จีน (11.8%)                           1.4    13.7   -11.8     -7.7    32.1     1.8
2. ญี่ปุ่น (10.7%)                         -6.3    -1.2    -6.3     10.2    13.5    -2.0
3. สหรัฐฯ (9.8%)                         2.1     4.6    -1.2     17.0    22.0     4.6
4. สหภาพยุโรป (9.7%)                   -16.9    -7.5   -19.2      9.6    30.9   -10.1
5. ฮ่องกง (5.4%)                        -6.5    -8.3     9.8     55.9    85.2     7.3
6. สิงคโปร์ (5.1%)                        2.7     1.0   -25.4     30.9     7.9    -4.6
7. ทวีปออสเตรเลีย (4.2%)                 -6.6    21.9    21.1     46.7    73.0    18.7
8. อาเซียน-9 (24.3%)                     9.2     7.2    -9.0     14.0    18.6     4.3

5. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตภาคการเกษตรและภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2555 (เบื้องต้น) ขยายตัวในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 82.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 36.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อเดือน จากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนจากวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2554 ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการขยายเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 795.9 อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 254.8 และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทแอร์ ตู้เย็น พัดลมขยายตัวร้อยละ 138.8 เป็นต้น นอกจากปัจจัยฐานต่ำในปีที่แล้วแล้วยังได้รับอานิสงส์จากภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขยายกำลังการผลิตที่เร่งขึ้นมาก สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับ 95.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 93.0 ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากความต้องการสินค้าและบริการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ก่อสร้างและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเป็นสำคัญ ในขณะที่เครื่องชี้ภาคการเกษตรวัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อเดือน ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ตามพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต สอดคล้องกับผลผลิตหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.7 ตามการเพิ่มขึ้นผลผลิตสุกรและไก่เนื้อเป็นสำคัญ สำหรับเครื่องชี้ภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2555 มีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยจำนวนทั้งสิ้น 2.1 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 60.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.5 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มประเทศ เช่น เอเชียตะวันออก อาเซียนและยุโรป ขยายตัวร้อยละ 208.3 43.6 และ 12.8 ตามลำดับ

            เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                          2555
                                         Q1     Q2     Q3      ต.ค.    พ.ย.    YTD
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%yoy)               -6.8   -1.5  -11.0     36.0    82.6     1.0
          %qoq_SA / %mom_SA            39.8    2.8   -4.9      7.1     8.0
ดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (%yoy)                3.4    3.1   14.1      5.4     8.4     6.8
          %qoq_SA / %mom_SA             3.5    0.3    3.0     -2.0     2.2
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                  8.1    9.8    8.6     20.5    60.6    13.6
          %qoq_SA / %mom_SA            17.2    9.4    2.5      2.3     6.8

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าประเภทผักและผลไม้ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่มีเทศกาลกินเจ รวมถึงสินค้าประเภทยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเท่ากับ 2.2 แสนคน สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 43.9 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ในระดับสูงที่ 181.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3.0 เท่า

     เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                             2555
                                Q1       Q2       Q3       ต.ค.      พ.ย.     YTD
ภายในประเทศ
      เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)        3.4      2.5      2.9       3.3       2.7      3.0
      เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)       2.7      2.0      1.8       1.8       1.9      2.1
      อัตราการว่างงาน (yoy%)     0.7      0.9      0.6       0.6       n.a.     0.7
ภายนอกประเทศ
      ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)   1.4     -2.4      2.7      -0.2       n.a.     1.6
     ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $) 179.2    174.7    183.6     181.4     181.6    181.6

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ