Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 มกราคม 2556
1. สรรพสามิตปิดโครงการรถคันแรกทะลุ 1.3 ล้านราย คาดต้องจ่ายเงินคืนประชาชน 9.05 หมื่นล้านบาท
2. สศอ. คาดธุรกิจไทยร้อยละ 50 ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทในปีหน้า
3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 55 ของญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ -1.7 จากภาคส่งออกที่ซบเซาต่อเนื่อง
Highlight:
- อธิบดีกรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า โครงการรถคันแรกที่ได้ดาเนินโครงการมาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.54 - 31 ธ.ค.55 ผู้มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิแล้วทั้งสิ้น 1.25 ล้านราย และเมื่อรวมกับผู้ที่ยื่นขอใช้สิทธิผ่านอินเทอร์เน็ต คาดว่าจะมีประชาชนที่ซื้อรถคันแรกมาใช้สิทธิรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.30 ล้านราย คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องคืนทั้งสิ้น 9.05 หมื่นล้านบาท สูงกว่าตั้งเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 5 แสนราย คิดเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น 3 หมื่นล้านบาท
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 55 มีการผลิตรถยนต์ 2.2 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย (1) การผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 0.9 ล้านคัน และ (2) การผลิต เพื่อจำหน่ายภายในประเทศ 1.3 ล้านคัน ส่งผลให้ทั้งปี 2555 ประเทศไทยจะมียอดผลิตรถยนต์รวมประมาณ 2.5 ล้านคัน โดยกว่าร้อยละ 52.0 เป็นรถยนต์ที่ใช้สิทธิโครงการรถยนต์คันแรก ซึ่งผลจากโครงการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีรถยนต์เป็นของตัวเองคันแรกแล้ว ยังเป็นการจะช่วยกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น เช่น ในช่วง 2 เดือนแรกของปี งปม. 56 จากภาษีรถยนต์ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 351.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 56 การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 9.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 8.2 -10.2)
- ผู้อำนวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ยอมรับว่าการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ในต้นปีหน้า ยังเป็นมาตรการที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะแม้จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน แต่ก็เป็นการสร้างภาระต้นทุนให้กับภาคธุรกิจ ทาให้ความสามารถในการแข่งขันลดลงทั้งนี้คาดว่าร้อยะ 50 ของธุรกิจทั่วประเทศจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าการปรับขึ้นค่าแรงในรอบแรก 7 จังหวัด โดยธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งออกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่น่าเป็นห่วง คือ ธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) ส่วนธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ไม่น่าเป็นห่วง เพราะได้มีการปรับตัวรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแล้ว
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำของอีก 70 จังหวัดที่เหลือนอกจากกรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เป็น 300 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 39.5 ในเดือนมกราคม 55 มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมไม่มากนัก เนื่องจากผลการศึกษาของ สศอ. พบว่าต้นทุนแรงงานของภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 9.1 ของต้นทุนรวม และภายหลังการปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาท จะส่งผลให้ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.6 โดยต้นทุนรวมของอุตสาหกรรมขนาดเล็กขนาดกลาง และขนาดใหญ่เพิ่มข้นร้อยละ 4.9 4.7 และ 3.5 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม การดาเนินนโยบายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ โดยในระยะสั้นจะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ระยะปานกลางจะผลักดันให้มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้นและการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และในระยะยาวจะเกิดการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการลงทุนและการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับลิตภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศก้าวข้ามกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income trap) อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการได้รับจากนโยบายการปรับเพิ่มขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้รัฐบาลได้มีมาตรการบรรเทาผลกระทบแล้ว เช่น มาตรการลดต้นทุนจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น และมาตรการยกระดับผลิตภาพแรงงาน เป็นต้น
- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 55 หดตัวร้อยละ -1.7 จากผลของภาคการส่งออกที่ชะลอตัวอย่างมาก ซึ่งทาให้รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นอาจจาเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ ทั้งนี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่อิโตชูคอร์ปคาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจจะขยายวงเงินซื้อหลักทรัพย์อีกราว 5-10 ล้านล้านเยน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาเงินฝืดพร้อมกับเพิ่มเป้าหมายอัตราเฟ้อจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ
- สศค. วิเคราะห์ว่า การหดตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 55 ที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่าสุดในรอบ 19 เดือน ที่ระดับ 46.5 จุด จากผลของภาคการส่งออกที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ย. 55 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ -4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่สาคัญโดยเฉพาะจีนที่หดตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาคัญ ขณะที่มูลค่าการนาเข้าในเดือน พ.ย. 55 กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน พ.ย. 55 ขาดดุลที่ -9.5 แสนล้านเยน (-11.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งถือเป็นการขาดดุลมากที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีสัญญาณซบเซาลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องนี้ทาให้รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เช่น นโยบายส่งเสริมการส่งออกหรือกระจายตลาดส่งออกเพื่อให้ภาคการส่งออกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ร้อยละ 0 — 0.1 ต่อปี การขยายวงเงินการดาเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม (Quantitative Easing) โดยจะเข้าซื้อสินทรัพย์อีก 10 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 56 จะขยายตัวร้อยละ 1.5 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 55)
ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance
Tel: 02-273-9020 Ext. 3257