รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 21 - 25 มกราคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 28, 2013 11:04 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนธ.ค. 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 173.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ หดตัวร้อยละ -6.5

  • การส่งออกในเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.7
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,875.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.5 ของ GDP
  • GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ปี 55 GDP เกาหลีใต้

ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี ที่ร้อยละ 2.0

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC's Mfg. PMI) จีน เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 51.9
  • cli ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เดือน ธ.ค. 55 หดตัวที่oPร้อยละ -1.4 จากเดือนก่อนหน้า
  • ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 954,000 mหลัง ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 12.1 จากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือน ม.ค. 56 มาอยู่ที่ระดับ -21.9 จุด
Indicators next week
 Indicators                          Forecast             Previous
 Dec : MPI (%YoY)                      35.0                  83.3

โดยมีปัจจัยสำคัญจากการผลิตเพิ่มขึ้นในหมวดอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คาดว่ายังคงขยายตัวได้ดี ประกอบกับเป็นช่วงเดือนเทศกาลปีใหม่ส่งผลให้ปริมาณความต้องการสินค้าในหมวดต่างๆเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานการคำนวณที่อยู่ในระดับต่ำในปีก่อนเนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมทำให้ผู้ผลิตหยุดดำเนินการผลิต อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก

Economic Indicators: This Week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนธ.ค. 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 173.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนธ.ค. 55 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 138.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.7 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 131.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.6 (2) รายจ่ายลงทุน 7.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -48.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ 17.0 พันล้านบาท เงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการ 15.1 พันล้านบาท และรายจ่ายกระทรวงกลาโหม 3.3 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 35.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.2 ทำให้ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 56 สามารถเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 56 จำนวน 699.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 29.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (2.4 ล้านล้านบาท)
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ธ.ค. 55พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 8.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 87 ล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำนวน 8.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 297.5 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวที่ ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลัง เนื่องจากอยู่ในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในขณะที่ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต สอดคล้องกับผลผลิตหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวต่อเนื่องเช่นกันที่ร้อยละ 5.7 ตามการเพิ่มขึ้นผลผลิตสุกรและไก่เนื้อเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในปี 55 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือน ธ.ค. 55 หดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.4 ตามการหดตัวต่อเนื่องของราคายางพารา ปาล์มน้ำมันและราคาผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ ตามผลิตที่ในออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อุปสงค์ค่อนข้างทรงตัว ส่วนราคาข้าวหอมมะลิยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ส่งผลให้ในปี 55 ดัชนีราคาสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ -9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกในเดือน ธ.ค. 55 มีมูลค่าอยู่ที่ 18,101.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.9 เนื่องจากเศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ยังอยู่ในสภาวะชะลอตัวและยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับการหดตัวของสินค้าเกษตรกรรมที่หดตัวร้อยละ -12.1 ตามการหดตัวของข้าว เป็นสำคัญ และการชะลอตัวลงของทุกหมวดสินค้าหลัก โดยสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 22.8 ตามการชะลอตัวลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ที่ร้อยละ 34.4 22.6 และ 90.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 และปริมาณการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 ส่งผลให้การส่งออกในปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1
  • การนำเข้าในเดือน ธ.ค. 55 มีมูลค่าที่ 20,466.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.5 ตามการหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวร้อยละ -4.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.8 และสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวร้อยละ -5.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 ประกอบกับการขยายตัวชะลอลงของสินค้าทุน และสินค้ายานยนต์ที่ร้อยละ 26.5 และ 67.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ราคานำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -0.7 และปริมาณการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.4 ส่งผลให้การนำเข้าในปี 55 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 และจากการที่มูลค่าการนำเข้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าในเดือน ธ.ค. 55 ขาดดุลที่ -2.4 และส่งผลให้ดุลการค้าในปี 55 ขาดดุลที่ -18.1
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,875.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 48.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.5 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 57.0 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้จำนวน 30.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 96.3 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.3 ของยอดหนี้สาธารณะ)
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค. 55 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 35.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการผลิตเพิ่มขึ้นในหมวดอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คาดว่ายังคงขยายตัวได้ดี ประกอบกับเป็นช่วงเดือนเทศกาลปีใหม่ส่งผลให้ปริมาณความต้องการสินค้าในหมวดต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้ง ฐานการคำนวณที่อยู่ในระดับต่ำในปีก่อนเนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมทำให้ผู้ผลิตหยุดดำเนินการผลิต อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend
  • ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 373,000 หลัง หรือขยายตัวร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ยอดขายบ้านมือสองทั้งปี 55 อยู่ที่ 4.655 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 4.263 ล้านหลัง โดยราคากลางบ้านเดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 180,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อหลัง ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ในขณะที่ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 954,000 หลัง ต่อปี (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 12.1 จากเดือนก่อนหน้า อีกทั้งใบอนุญาตก่อสร้าง เดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 903,000 หลังต่อปี (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าเครื่องชี้เหล่านี้บ่งชี้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่อง
Japan: worsening economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ธ.ค. 55 หดตัวที่ร้อยละ -1.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สะท้อนภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่ยังคงย่ำแย่ มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 55 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังยูโรโซนและจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญที่หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -11.1 และ -15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 55 ขาดดุลที่ -6.145 แสนล้านเยน (7.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ช่วงร้อยละ 0-0.1 ต่อปี ผนวกกับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายจากร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และจะอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมผ่านมาตรการ Asset Purchasing Program จำนวน 13 ล้านล้านเยน (1.45 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยจะเริ่มดำเนินการเดือน ม.ค. 57 เป็นต้นไป
Eurozone: worsening economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 56 ปรับเพิ่มจากระดับ -23.9 จุดในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ -21.9 จุด จากความเชื่อมั่นว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศจะช่วยเศรษฐกิจยูโรโซนให้กลับมาฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่ในแดนลบ สะท้อนความเชื่อมั่นที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
China: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC's Mfg. PMI) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 51.9 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 24 เดือน เนื่องจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาสูงสุดในรอบ 22 เดือน เช่นเดียวกับดัชนีการจ้างงาน ดัชนีปริมาณการซื้อ และดัชนีราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง
South Korea: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การลงทุน และภาคการส่งออกหดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน รวมถึงการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ทั้งปี 55 GDP ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี ที่ร้อยละ 2.0 ทั้งนี้ ภาคการส่งออกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น และการบริโภคในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่องในปี 56 ส่งผลให้คาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 55
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 55 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ทีร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากต้นทุนค่าคมนาคมขนส่งที่ปรับลดลงมาที่ร้อยละ 0.4 จากร้อยละ 0.8 ในเดือนก่อน ทำให้ทั้งปี 55 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.7
Philippines: mixed signal
  • เมื่อ 24 ม.ค. 56 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 55 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 3 เดือน ทำให้ทั้งปี 55 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.6
Australia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 55 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางออสเตรเลียที่ร้อยละ 2.0-3.0 ส่วนหนึ่งจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับปี 54
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 55 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.1 โดยราคาค่าขนส่งลดลง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอลง
Taiwan: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 55 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 19 ,000 คน สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ตามคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ชะลอลง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ใกล้ระดับ 1,440 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยสูง โดย ณ วันที่ 23 ม.ค. 56 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,439.20 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยที่สูงถึง 54,294.24 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ตลอดจนการประกาศซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ของธนาคารกลางญี่ปุ่นพร้อมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 21-23 ม.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,338.19 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างคงที่ โดยนักลงทุนยังคงจับตามองค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21-23 ม.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 314.2 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่ โดย ณ วันที่ 23 ม.ค. 56 ปิดที่ระดับ 29.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.37 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับค่าเงินยูโร อย่างไรก็ตามค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินเยน ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.52 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 23 ม.ค. 56 ปิดที่ 1,685.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,689.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ