- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.6
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.6
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค. 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 730.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงิน
ขยายตัวที่ร้อยละ 22.9
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 23.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 162.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 155.8
- GDP สหรัฐ ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ GDP ไต้หวันไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 cliGDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาส 4 ปี 55
ขยายตัวร้อยละ 6.8 oPเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่moระดับ 58.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 66.7
- วันที่ 29 ม.ค. 56 ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราeดอกเบี้ยนโยบายเหลือร้อยละ 7.75 ต่อปี
Indicators Forecast Previous Jan : Motorcycle Sale (%YoY) 5.5 22.4
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 ทั้งนี้ คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในปี 56 จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 55 เนื่องจากยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่ได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 โดยเมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 0.2 (%mom) โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสุกรและราคาไข่ ประกอบกับการปรับตัวขึ้นของราคาค่าไฟฟ้าซึ่งมีสาเหตุจากการปรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ft) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาผักสดมีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนจากสภาพอากาศที่เหมาะสม ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ทีร้อยละ 1.8
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค. 55 เกินดุลเล็กน้อยที่ 730.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 392.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าเกินดุล 283.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าส่งออกที่ลดลงเหลือเพียง 17,954.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงเช่นกัน โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้เร่งการนำเข้าไปในเดือนก่อน ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิเกินดุลเล็กน้อยที่ 447.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปี 55 เกินดุล 2,727.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อผู้บริโภค ซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สอดคล้องกับการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถคันแรก ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) หดตัวร้อยละ 0.1 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอลงการระดมเงินฝาก ภายหลังจากที่เร่งระดมไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ จากการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ยังคงจะเข้มข้นต่อเนื่อง กอปรกับเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่องปี 56 ส่งผลให้คาดว่า สถาบันการเงินต่างๆจะระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัว ร้อยละ 23.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาส 4 ขยายตัวร้อยละ 44.0 และทั้งปี 55 ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยมีปัจจัยสำคัญจากฐานการคำนวณที่อยู่ในระดับต่ำในปีก่อนเนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วมทำให้ผู้ผลิตหยุดดำเนินการผลิตเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ต.ค. - ธ.ค. 54) ตลอดจนการขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ ยานยนต์ และเครื่องปรับอากาศ
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 55 มีจำนวน 73,746 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 162.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 509.9 แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1. ปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 2. การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 3. นโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการซื้อรถคันแรก โดยผู้บริโภคได้รับการคืนภาษีสูงถึง 1 แสนบาท สำหรับรถที่มีการซื้อจนถึง 31 ธันวาคม 55 ทั้งนี้ ในปี 55 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 86.6
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนธ.ค. 55 มีจำนวน 73,541 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 155.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 445.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก 1. ปัจจัยฐานต่ำจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่โรงงานผลิตยานยนต์ประสบปัญหาอุทกภัย ทำให้ภาคการผลิตรถยนต์หยุดชะงักงัน 2.การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 3. ความต่อเนื่องของนโยบายสนับสนุนของภาครัฐในการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ทั้งนี้ ในปี 55 ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 76.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 34.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 41.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนจากวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 54 ทั้งนี้ ปัจจุบันความต้องการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กเส้นข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 65.4 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) ขยายตัวร้อยละ 42.7 ต่อปี เหล็กเส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 14.0) ขยายตัวร้อยละ 45.3 ต่อปี และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี(น้ำหนักร้อยละ 12.7) ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 55 ยอดจำหน่ายเหล็กขยายตัวร้อยละ 47.1 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.0 ทั้งนี้ การขยายตัวของปริมาณจำหน่ายเหล็กสอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 55 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 สะท้อนถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างมีแนวโน้มการขยายตัวได้ดี ตามอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค. 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 22.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 ทั้งนี้ คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในปี 56 จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 55 เนื่องจากยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่ได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล
Global Economic Indicators: This Week
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 66.7 (ตัวเลขปรับปรุง) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขึ้นภาษี Payroll ร้อยละ 2 ตามข้อตกลงการแก้ไขปัญหาหน้าผาทางการคลัง ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. 56 ที่ผ่านมา GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.035 จากไตรมาสก่อนหน้า(ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สาเหตุจาก 1) สินค้าคงคลัง (Inventory) หดตัวถึงร้อยละ -71.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากเฮอริเคนแซนดี้ที่ถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ในช่วงเดือน ต.ค. - พ.ย. 55 ทำให้กิจกรรมการผลิตชะงักงันและทำให้ต้องมีการใช้สินค้าที่คงเหลือ (Inventory run down) 2) การลดการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะงบประมาณด้านการทหารที่หดตัวถึงร้อยละ -5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ตลอดจนการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวดีที่ร้อยละ 1.9 และ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งปี 55 ขยายตัวร้อยละ 2.2
- ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อน และเมื่อเทียบในรายละเอียดพบว่า การขยายตัวของยอดค้าปลีกมาจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้โดยรวมอุปสงค์ในญี่ปุ่นยังคงซบเซาต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 55 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ -6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนภาคการผลิตที่ยังคงย่ำแย่ คำสั่งซื้อภาคก่อสร้าง เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากแรงงานในตลาดที่เพิ่มขึ้นเร็วกส่าตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 7.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 55 หดตัวร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 จากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก มูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกันหดตัวอีกครั้งในรอบ 3 เดือนร้อยละ 5.5 ทำให้ขาดดุลการค้าลดลงมาที่ 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 56 อยู่ระดับ 49.7 จุด อยู่ต่ำกว่า50.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน จากการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่ภาวะของภาคอุตสาหกรรมยังไม่น่าเป็นห่วงจากดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือน ม.ค. 56 ที่จัดทำโดย NBS อยู่ระดับ 50.4 จุด สอดคล้องกับดัชนีฯ ที่จัดทำโดย HSBC อยู่ระดับ 52.3 จุด เหนือระดับ 50.0 บ่งชี้การขยายตัวภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
- GDP ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทำให้ทั้งปี 55 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 6.6 ผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดีประกอบกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทดแทนการชะลอลงของการส่งออก มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการนำเข้าสินค้าส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 8.8 จากการส่งออกที่ชะลอลงมากกว่าการนำเข้า ทำให้ ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้น 1.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ส่วนหนึ่งจากภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ ทั้งปี 55 เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 1.2
- ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 55 กลับมาหดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากผลผลิตหมวดสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์หดตัวสูงถึงร้อยละ -14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ทั้งปี ดัชนีฯ ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ชะลอจากปีก่อนขยายตัวร้อยละ 7.8 อัตราการว่างงาน (ตัวเลขเบื้องต้น ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ไตรมาส 4 ปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการจ้างงานเพิ่มเติมในช่วงเทศกาลปีใหม่
- ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากยอดขายสินค้าหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบที่หดตัวเร่งขึ้น
- วันที่ 29 ม.ค. 56 ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 8.00 ต่อปี เหลือร้อยละ 7.75 ต่อปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 56 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 55 มาอยู่ที่ระดับ 102.0 สะท้อนคาดการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นในระยะต่อไป ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวสูงกว่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สะท้อนภาคการผลิตที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4เดือนที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งยังคงต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ธนาคารกลางเกาหลีประกาศไว้ที่ช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC/Markit's Mfg. PMI) เดือน ม.ค.56 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 49.9 จุด สะท้อนภาคการผลิตส่งสัญญาณหดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออก (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ม.ค. 56 กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานต่ำ มูลค่าการนำเข้า (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 0.87 พันล้านดอลลาร์
- ดัชนี SET เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงใกล้ระดับ 1,470 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยสูง โดย ณ วันที่ 31 ม.ค. 56 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,474.20 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยที่สูงถึง 58,788.85 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ตลอดจนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นสำคัญ ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยขายหลักทรัพย์ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาน้อยกว่าที่คาด เช่น GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 4 ปี 55 (ตลาดคาด +0.5%qoq) อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC Minute) ส่งสัญญาณว่าจะยังคงมี QE ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนยังคงรอดูท่าทีสถานการณ์เศรษฐกิจโลกต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 410.41 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างคงที่ ตามแนวโน้ม US Treasury ที่ยังค่อนข้างคงที่ โดยนักลงทุนยังคงจับตามองค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
- ค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่ โดย ณ วันที่ 31 ม.ค. 56 ปิดที่ระดับ 29.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ -0.13 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับค่าเงินเยน ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงิน สกุลอื่นๆ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.44 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 31 ม.ค. 56 ปิดที่ 1,662.99 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,654.24 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th