- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร ให้ อปท.) ในเดือน ม.ค.55 ได้จำนวน 161.7 พันล้านบาท
ขยายตัว ร้อยละ 20.1 มากกว่าประมาณการ 17.7 ล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,961.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
52.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.0 ของ GDP
- ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราต่ำกว่าคาดการณ์ ที่ร้อยละ 0.3
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ยูโรโซน ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวoร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของจีน เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เมื่อmoเทียบกับช่วงดียวกันปีก่อน
- ธนาคารกลางอินโดนีเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 5.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 56 ญ
Indicators Forecast Previous Jan : TISI (INDEX) (%YoY) 100.0 98.8
สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยการขับเคลื่อนหลักของการบริโภคและการลงทุนทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่กระทบภาคการส่งออก จากความเปราะบางในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในโซนยุโรป และการแข็งค่าของเงินบาท
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร ให้ อปท.) ในเดือน ม.ค.55 ได้จำนวน 161.7 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และมากกว่าประมาณการ 17.7 พันล้านบาท โดยการขยายตัวมีสาเหตุมาจาก (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นและผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวจากอุทกภัยในช่วงปีที่ผ่านมา โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 และ 21.7 ตามลำดับ สำหรับ (2) ภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วยภาษีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (สอดคล้องกับอากรขาเข้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0) โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวขึ้น ได้แก่ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรเครื่องใช้กล และอาหารสัตว์ เป็นต้น ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงการบริโภคที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาษีฐานรายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น และ (3) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมากกว่าประมาณการร้อยละ 36.9 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปีก่อน และมีการเปิดตัวรถยนต์ใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับแรงจูงใจจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลมีรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 4 เดือนแรกของปี งปม. 56 จำนวน 648.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 67.1 พันล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 11.7 ต่อเดือนโดยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้จำนวน 59.4 พันล้านบาท ตามการเพิ่มขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มฐานการนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 24.5 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ร้อยละ 12.2 สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 56.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อเดือน สาเหตุหลักจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่กลับสู่สภาวะปกติจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบ และที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ด้านอุปทาน (Supply) ของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีการขยายการลงทุนสูงต่างต่างหวัดมากขึ้นโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ เช่น ภาคอีสาน ภาคตะวันออก เป็นต้น
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อและเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ตามลำดับ ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น จะส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวได้ต่อเนื่อง อันจะทำให้การแข่งขันเพื่อระดมทุนของธนาคารพาณิชย์ยังคงจะเข้มข้นต่อเนื่องในปี 56 อย่างไรก็ตาม ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากนอกประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และสถานะของสภาพคล่องได้ในระยะต่อไป
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,961.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 52.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.0 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 57.1 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้จำนวน 57.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 97.1 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 92.8 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวของการลงทุนในหมวดการก่อสร้างสอดคล้องกับอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตได้ดี และอุปทานของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ (ปรับฤดูกาลเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน) ในเดือน ธ.ค. 55 อยู่ที่ 9,846 หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 5,564 หน่วย โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากที่อยู่อาศัยทุกประเภทโดยเฉพาะอาคารชุดที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 100.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 98.8 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยการขับเคลื่อนหลักของการบริโภคและการลงทุนทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบภาคการส่งออก จากความเปราะบางในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในโซนยุโรป และการแข็งค่าของเงินบาท
Global Economic Indicators: This Week
- ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากการขึ้นภาษี payroll อีกร้อยละ 2 ทำให้ประชาชนชะลอการใช้จ่าย โดยเฉพาะการซื้อสินค้าคงทน โดยจะเห็นได้จากยอดขายรถยนต์ที่หดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า
- GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวในอัตราต่ำกว่าคาดการณ์ ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ หดตัวร้อยละ -0.1 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 55 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.9 สาเหตุสำคัญจากภาคการส่งออกหดตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนกลับมาหดตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตามคือ (1) นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ฟื้นตัวและต่อสู้กับภาวะเงินฝืดที่มีมายาวนานกว่า 10 ปี (2) การเข้าร่วมประชุม G20 ในสุดสัปดาห์นี้ ประเด็นหารือการหลีกเลี่ยงสงครามค่าเงิน ซึ่งญี่ปุ่นอาจได้รับแรงกดดันจากประเทศสมาชิกให้หยุดใช้นโยบายการเงินที่มส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ภายหลังจาก BOJ ประกาศจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 13 ล้านล้านเยนต่อเดือน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเดือน ม.ค. 57 ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมาก ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 56 ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน สู่ระดับสูงสุดในรอบ 29 เดือน ที่ระดับ 43.0 จุด จากความเชื่อมั่นชาวญี่ปุ่นที่มีต่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ที่จะสามารถผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 56 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ช่วงร้อยละ 0-0.1 ต่อปี
- GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.1 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 55 เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -0.5 ซึ่งตรงกับที่ สศค. คาดกาณ์ไว้ ณ เดือน ธ.ค. 55 จากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ทั้ง เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ที่หดตัวในไตรมาสสุดท้ายปี 55 ร้อยละ 0.4 -0.3 และ -2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ เป็นสำคัญผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนภาคการผลิตที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศในยูโรโซนยังคงมีอัตราว่างงานที่ทรงตัวในระดับสูง และความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของทางการยุโรปยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชน
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงดียวกันปีก่อน ลดลงจาก ร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเลและผักสด ที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงมากจากร้อยละ 4.2 ในเดือนก่อนเป็นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 5.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 56 ด้านดัชนีความเชื่อมั่นบริโภค เดือน ม.ค. 56 ปรับลดลงเล็กน้อยมาที่ระดับ 116.2 จุด แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 55 ซึ่งอยู่ระดับ 114.1 จุด ถือว่าตลาดยังคงเชื่อมั่นต่อการใช้จ่าย และมีความกังวลว่าราคาอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และยาสูบจะลดลงในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
- มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 3 เดือน ทำให้การขยายตัวของการส่งออกฟิลิปปินส์อยู่ระดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยการส่งออกที่ขยายตัวดีมาจาก 1) ข้อตกลงเปิดการค้าเสรีกับประเทศภูมิภาคอาเซียน+6 ซึ่งเป็นการลดอุปสรรคต่อการส่งออก 2)มาตรการกระจายประเภทสินค้าส่งออก โดยเน้นสินค้าเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้านการขนส่ง เครื่องเรือนและเครื่องไม้ และผักและผลไม้สด และ 3) ปัจจัยฐานต่ำจากอุทกภัยในไทยปีก่อนที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน
- มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 56 กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.9 บ่งชี้ทิศทางการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นมูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.2 อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารและพลังงานยังคงเร่งขึ้นต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 55 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตในอุตสาหกรรมในหมวดเหมืองแร่และถ่านหิน รวมถึงหมวดสินค้าทุนที่หดตัว บ่งชี้ภาคการลงทุนที่มีแนวโน้มชะลอลง
- มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 55 กลับมาหดตัวอีกครั้งร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าส่งออกที่ปรับตัวลดลงและการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนที่หดตัว ทำให้ทั้งปี 55 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ชะลอลงมากจากปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.2 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกันหดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 52 เนื่องจากอัตราการหดตัวของมูลค่าการนำเข้ามากกว่ามูลค่าการส่งออกทำให้ ดุลการค้ายังคงเกินดุล 8.2 พันล้านริงกิต ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 55
- อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 56 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 8.5 แสนคน สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลง
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยสูง โดย ณ วันที่ 14 ก.พ. 56 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,526.74 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยที่สูงถึง 58,767.46 ล้านบาทต่อวัน โดยสูงถึง 72,023.79 ล้านบาทในวันที่ 13 ก.พ. 56 จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นสำคัญ ผลจากการประกาศผลประกอบการของหลายบริษัทในไตรมาส 4 ปี 55 ที่ออกมาดี และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยขายเพื่อทำกำไร หลังจากดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมามากแล้ว ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 11 - 14 ก.พ. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,045.01 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงในทุกอายุตราสาร ประมาณ 1-3 bps โดยนักลงทุนยังคงจับตามองแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะมีการประชุม กนง. ในวันที่ 20 ก.พ. 56 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 ก.พ. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,846.1 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 14 ก.พ. 56 ปิดที่ระดับ 29.82 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ -0.27 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับค่าเงินยูโร อย่างไรก็ตาม ค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินเยน หยวน ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ -0.51จากสัปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำลดลงเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 14 ก.พ. 56 ปิดที่ 1,634.46 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงเล็กน้อยจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,649.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th