รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 4, 2013 10:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.พ. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4
  • การส่งออกในเดือน ม.ค. 56 มีมูลค่าอยู่ที่ 18,269.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.1

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าในเดือน ม.ค. 56 มีมูลค่าที่ 23,755.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. 56 ขาดดุลที่ 2,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนม.ค. 56 ขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สินเชื่อเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.1

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • GDP สหรัฐอเมริกาไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือร้อยละ 0.03 จากไตรมาสก่อนหน้า

  • GDP ฮ่องกงไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                                    Forecast           Previous
 Feb : Motorcycle Sale (%YoY)                    4.5                 19.7

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 อย่างไรก็ดี คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในปี 56 จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 55 เนื่องจากยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่ได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่จะส่งผลดีกับราคาสินค้าเกษตรให้ปรับตัวสูงขึ้น

Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.พ. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของราคาสินค้าจำพวกผักและผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสม ทำให้มีสินค้าเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์มีการปรับตัวสูงขึ้นจากเทศกาลตรุษจีน รวมถึงราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เทียบเท่ากับเดือนก่อนหน้า
  • การส่งออกในเดือน ม.ค. 56 มีมูลค่าอยู่ที่ 18,269.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งการขยายตัวในระดับสูงส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงปีก่อนหน้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่มีการปรับผลฤดูกาลแล้ว (mom sa) พบว่า ยังสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.3 สะท้อนสัญญาณที่ดีของภาคการส่งออก โดยการขยายตัวในเดือนม.ค. 56 มีสาเหตุหลักจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ได้แก่ สินค้ายานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 40.3 29.8 และ 20.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกน้ำตาลทราย ยางพารา และน้ำมันสำเร็จรูปมีการหดตัวที่ร้อยละ -36.6 -2.7 และ -7.3 ตามลำดับ
  • การนำเข้าในเดือน ม.ค. 56 มีมูลค่าที่ 23,755.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากการขยายตัวของการนำเข้าทอง และน้ำมันดิบ เป็นสำคัญซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 132.9 และ 42.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ หากหักการนำเข้าทองและน้ำมันดิบออก พบว่าการนำเข้ายังคงขยายตัวได้ร้อยละ 32.9 จากการนำเข้าสินค้าทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบ (หักทอง) และสินค้าทุน ที่มีการขยายตัวร้อยละ 18.9 และ 36.4 ตามลำดับ และจากการที่มูลค่าการนำเข้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าในเดือน ม.ค. 56 ขาดดุล -5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. 56 ขาดดุลที่ 2,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 730.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากดุลการค้าที่ขาดดุล 2,821 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาก โดยอยู่ที่ 20,744.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเร่งนำเข้าทองคำ (หากหากไม่รวมทองคำดุลการค้าในเดือน ม.ค. 56 จะขาดดุลเพียง 147 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่ดุลบริการรายได้และเงินโอนเกินดุล 583.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายรับการท่องเที่ยวที่อยู่ในเกณฑ์ดี และการชะลอการส่งกลับกำไรและเงินปันผล
  • สินเชื่อเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อผู้บริโภค ซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สอดคล้องกับการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถคันแรก ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจระดมเงินฝาก จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป รวมถึงการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่องปี 56 ส่งผลให้คาดว่า สถาบันการเงินต่างๆจะระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนม.ค. 56 ขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการคำนวณปี 55 ที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ดีอุตสาหกรรมหลักก็ยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ยังคงมีการเร่งการผลิตเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าที่สั่งจองไว้เมื่อปลายปี 54 นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ เครื่องปรับอากาศ สิ่งทอ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีการขยายการผลิตอย่างต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกที่ขยายตัวได้ดีเช่นกัน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนม.ค. 56 มีจำนวน 59,872 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 108.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 162.7 แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในระดับสูง ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจาก 1. การทยอยส่งมอบรถยนต์จากโครงการรถยนต์คันแรกที่มียอดค้างอยู่ 2. ปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 2. การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 3. กิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่างๆที่เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนม.ค. 56 มีจำนวน 65,945 คัน หรือขยายตัวร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1.การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ 2. ปัจจัยฐานต่ำจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่โรงงานผลิตยานยนต์ประสบปัญหาอุทกภัย ทำให้ภาคการผลิตรถยนต์หยุดชะงักงัน
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ. 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 อย่างไรก็ดี คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในปี 56 จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 55 เนื่องจากยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่ได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่จะส่งผลดีกับราคาสินค้าเกษตรให้ปรับตัวสูงขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.03 จากไตรมาสก่อนหน้า ปรับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขเบื้องต้นที่ประกาศไปก่อนหน้าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับสูงถึง 69.6 จุด ปรับตัวสูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.4 จุด (ตัวเลขปรับปรุง) ผลจากดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจและธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ความกังวลในประเด็นหน้าผาทางการคลังและการปรับขึ้นภาษี payroll ลดลง ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ 0.89 ล้านหลัง (annual rate) หดตัวร้อยละ -8.5 จากเดือนก่อนหน้า
Japan: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 ปรับลดลงร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนปัญหาเงินฝืดที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยาวนานต่อเนื่องสะท้อนจากยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 56 ที่กลับมาหดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 56 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนแต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด โดยอยู่ที่ระดับ 48.5 จุด จากภาคการส่งออกญี่ปุ่นที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือน ม.ค. 56 ซึ่งสอดคล้องผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ม.ค. 56 ที่ขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตในหมวดชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์และชิพหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 56 ปรับดัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่คำสั่งซื้อภาคก่อสร้าง เดือน ม.ค. 56 หดตัวร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานสูงเป็นสำคัญ
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม จัดทำโดย NBS และ HSBC เดือน ก.พ. 56 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.1 และ 50.4 จุด ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังคงอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมจีน โดยดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ยังคงขยายตัว
South Korea: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตในหมวดสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค และสินค้าทุนที่ขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.3 จากการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ม.ค. 56 เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 475.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Eurozone: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าหมวดอาหารและพลังงานที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ
Indonesia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 56 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าเชื้อเพลิงและพลังงานที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ม.ค. 56 ขาดดุล 0.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 56 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.6 อันเป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ก.พ. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.5 อีกครั้ง หลังจากที่ลดลงในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานต่ำ และการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ธ.ค. 55 ขาดดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากค่าใช้จ่ายหมวดขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 56 หดตัวชะลอลงร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตในหมวดเวชสำอางค์ที่หดตัวลง
Vietnam: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 56 หดตัวร้อยละ -9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าเกษตรที่หดตัวลง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -23.1 จากการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรที่หดตัวส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 56 เกินดุล 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการ เดือน ก.พ. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาวัตถุดิบที่ขยายตัวเร่งขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาหมวดขนส่งที่เพิ่มขึ้น
Hong Kong: improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคการส่งออก และอุปสงค์ในประเทศ ทั้งภาคการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ทั้งปี 55 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.4 มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังอาเซียนและจีนที่เร่งขึ้น ในช่วงเทศกาลตรุษจีน มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 23.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มที่เร่งขึ้นมาก
India: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกที่หดตัวลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ส่งผลให้ทั้งปี 55 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากผลการเลือกตั้งทั่วไปของอิตาลียังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน และกลับมาปิดเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบสัปดาห์ที่ระดับ 1,541.58 จุด เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลต่อข่าวการยุติมาตรการ QE ของสหรัฐฯ หลัง Fed แถลงว่ามาตรการ QE ยังจำเป็นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงจับตามองมติสภา คองเกรสในประเด็นการปรับลดงบประมาณรายจ่ายสหรัฐฯ ในวันที่ 1 มี.ค. 56 (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่สูงถึง 63,900.34 ล้านบาท โดยระหว่างวันที่ 26 - 28 ก.พ. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,105.32 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างคงที่ โดยนักลงทุนยังคงกังวลต่อการเลือกตั้งอิตาลีที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของยูโรโซน และเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 28 ก.พ. 56 นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 7,741.9 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 28 ก.พ. 56 ปิดที่ระดับ 29.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าที่สุดในรอบเดือน โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 10.47 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับค่าเงินของคู่ค้าสำคัญทั้งหมด โดยค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าค่าเงินหยวนของจีน ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ และค่าเงินวอนของเกาหลี เนื่องจากนักลงทุนเริ่มเข้าซื้อสินทรัพย์ในตลาดเอเชียต่อเนื่อง ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.29 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำลดลงต่อเนื่อง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 28 ก.พ. 56 ปิดที่ 1,579.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,613.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ