รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 4 - 8 มีนาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 11, 2013 11:19 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ. 56 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับ 74.3
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 26.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 44.1 ของ GDP
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ออสเตรเลีย ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน ที่จัดทำโดย NBS และ HSBC เดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับ 54.5 และ 52.1 จุด ตามลำดับ
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) สหรัฐฯ เดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือนที่ 54.2 จุด
  • วันที่ 7 มี.ค. 56 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มี.ค. 56 ไว้ที่ร้อยละ 5.75 ต่อปี
Indicators next week
 Indicators                                    Forecast           Previous
 Feb : API (%YoY)                                2.5                 0.8

ตามการขยายตัวของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ประกอบกับราคาที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงจากนโยบายภาครัฐจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตยางพาราที่คาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค ตะวันออก เป็นต้น

Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ. 56 มีจำนวน 187,445 คัน หรือหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.7 ตามการหดตัวของยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.และในภูมิภาค ที่หดตัวร้อยละ -3.2 และร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 และร้อยละ 20.1 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 54
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ก.พ. 56 เดือนที่ 74.3 จากเดือนก่อนที่อยู่ระดับ 72.1 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นจนส่งผลให้การบริโภค การลงทุน การส่งออก และการท่องเที่ยวอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งความต่อเนื่องของการใช้จ่ายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือนม.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 32.3 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -5.5 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ปัจจุบันความต้องการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กเส้นข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 62.4 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) ขยายตัวร้อยละ 35.0 ต่อปี เหล็กเส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 13.5) ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (น้ำหนักร้อยละ 14.5) ขยายตัวร้อยละ 17.0 ต่อปี ทั้งนี้ การขยายตัวของปริมาณจำหน่ายเหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กเส้นกลมสอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนม.ค. 56 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 สะท้อนถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างมีแนวโน้มการขยายตัวได้ดี เพื่อตอบสนอง อุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการขยายตัวของปริมาณจำหน่ายเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 56 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,040.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 79.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.1 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นสุทธิ 73.9 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 96.3 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.1 ของยอดหนี้สาธารณะ)
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 56 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ร้อยละ 0.6 (เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง เหล็กรูปตัว H เนื่องจากราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้น และหมวดซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 (ปูนซีเมนต์ผสม) จากความต้องการที่มากขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และโครงการลงทุนของภาครัฐ
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ตามการขยายตัวของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ประกอบกับราคาที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงจากนโยบายภาครัฐจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตยางพาราที่คาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นต้น

Global Economic Indicators: This Week

US
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน ก.พ. 56 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือนที่ 54.2 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด ผลจากดัชนีคาสั่งซื้อใหม่และดัชนีการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 57.8 และ 57.6 จุดตามลาดับ ในขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ 56.0 จุด ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด บ่งชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
Japan: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 55 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.0 วันที่ 7 มี.ค. 55 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ช่วงร้อยละ 0-0.1 ต่อปี
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ที่จัดทำโดย NBS และ HSBC เดือน ก.พ. 56 ลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 54.5 และ 52.1 จุด ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังคงอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด บ่งชี้ภาคบริการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ด้านมูลค่าส่งออก เดือน ก.พ. 56 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเทศกาลตรุษจีนที่เป็นวันหยุดยาวกว่า 1 สัปดาห์ ทำให้มีวันทำงานลดลง ในขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวอย่างมากที่ร้อยละ -15.0 ส่งสัญญาณการชะลอลงของอุปสงค์ในประเทศ
Euro zone: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 56 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 11.9 ของกำลังแรงงานรวม GDP ไตรมาส 4 ปี 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ -0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) บ่งชี้ภาวะถดถอยทางเทคนิคส่งผลให้ทั้งปี 55 GDP หดตัวร้อยละ -0.5 สะท้อนเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Composite PMI) เดือน ก.พ. 56 อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ที่ระดับ 47.9 จุด จาก PMI ภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจสำคัญของยูโรโซนที่ปรับลดลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 56 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคาน้ำมันที่ลดลง วันที่ 7 มี.ค. 56 ECB ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.75 ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 56 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามลาดับ บ่งชี้อุปสงค์ในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว
Taiwan: worsening economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 56 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.97 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 55 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลกระทบชั่วคราวจากเทศกาลตรุษจีน มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 56 หดตัวร้อยละ -15.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีน สหรัฐฯ และยุโรปที่กลับมาหดตัวอีกครั้ง เป็นสำคัญ และมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 56 หดตัวร้อยละ -8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนเดียวกันเกินดุลที่ 0.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Indonesia: mixed signal
  • วันที่ 7 มี.ค. 56 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มี.ค. 56 ไว้ที่ร้อยละ 5.75 ต่อปี ต่อเนื่อง 1 ปี เนื่องจากแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางยังมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจท่ามกลางการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: mixed signal
  • วันที่ 7 มี.ค. 56 ธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ยังบริหารจัดการได้
Philippines: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 56 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าในหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่ทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น
Singapore: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 56 ลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50.0 จุดอีกครั้ง เนื่องจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกกลับมาอยู่ระดับต่ำกว่าระดับ 50.0 จุดอีกครั้งที่ระดับ 49.2 จุด บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์
Australia: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 55 ขยายตัวร้อยละ 3.6 ซึ่งนับว่าเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่มูลค่าส่งออก เดือน ม.ค. 56 หดตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -0.7 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -3.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวได้สะท้อนจาก ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าหมวดเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มที่ขยายตัว เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 55 ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี
Hong Kong: improving economic trend
  • ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 56 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากยอดขายสินค้าคงทนที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ก.พ. 56 ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.2 จุด จากระดับ 52.5 จุดในเดือนก่อน
India: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 56 ปรับเพิ่มอยู่ที่ระดับ 54.2 จุด ขณะที่ ดัชนีฯ ภาคบริการ ปรับลดลงสู่ระดับ 54.2 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่ระดับสูงกว่า 50 จุด สะท้อนภาคการผลิตและภาคบริการของอินเดียที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี
South Korea: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 56 ปรับเพิ่มเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 56 เพิ่มขึ้นจากระดับ 49.9 จุด ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 50.9 จุด เกินระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดสหรัฐฯ หลังจาก Fed ประกาศผลการทำ Stress test ที่ออกมาดีกว่าที่คาด อีกทั้งเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตามองประเด็นการตัดลดงบประมาณสหรัฐฯ ทำให้ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 59,582.06 ล้านบาท โดยระหว่างวันที่ 4 - 7 มี.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 520.06 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 2 bps โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปริมาณการซื้อขายส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในพันธบัตร ธปท. โดยนักลงทุนยังคงจับตาผลการประชุม ECB ว่าจะมีมาตรการทางการเงินใหม่ๆ ออกมาหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 มี.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 6,515.2 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทค่อนข้างคงที่ โดย ณ วันที่ 7 มี.ค. 56 ปิดที่ระดับ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับค่าเงินยูโรและหยวน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเยน ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.67 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 7 มี.ค. 56 ปิดที่ 1,578.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,573.34 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ