รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 25 มีนาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 25, 2013 14:34 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2556

Summary:

1. สศก.แนะเกษตรกรเร่งพัฒนาข้าว-ยาง-กุ้งให้แข่งขันได้ในตลาดอาเซียน-ตลาดโลก

2. ประธานผู้แทนการค้าไทย ระบุไม่ควรให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกิน 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

3. ไซปรัสตกลงเข้ารับการช่วยเหลือจากนานาชาติ ยอมปรับภาคธนาคารตามเงื่อนไข

Highlight:

1. สศก.แนะเกษตรกรเร่งพัฒนาข้าว-ยาง-กุ้งให้แข่งขันได้ในตลาดอาเซียน-ตลาดโลก
  • เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิปิดเผยผลการศึกษาศักยภาพสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เปรียบเทียบประเทศไทยกับเวียดนามพบว่าทั้ง 2 ประเทศมีความได้เปรียบในการส่งออกมากกว่าประเทศอื่นในตลาดอาเซียนและตลาดโลกในสินค้าข้าวยางพาราและกุ้งโดยเมื่อพิจารณาช่วงปี 48 - 52 พบว่าข้าวไทยเป็นรองจากข้าวเวียดนามในเชิงมูลค่าส่งออกเนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูสูงกว่าส่วนยางพาราไทยอยู่ในสถานะที่ยังทำเงินขณะที่กุ้งไทยอยู่ในสถานะที่มีปัญหาเนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นลดการบริโภคกุ้งส่วนกุ้งเวียดนามอยู่ในสถานะตกต่ำจากปัญหาโรคระบา ด้านกาแฟไทยอยู่ในสถานะที่มีปัญหาเนื่องจากผลผลิตใช้ในโรงงานแปรรูปในประเทศเกือบทั้งหมดทำให้ส่งออกเมล็ดกาแฟน้อย
  • สศค.วิเคราะห์ว่าโดยภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรนับเป็นสินค้าหมวดสำคัญในการส่งออกสินค้าของไทยซึ่งหากคำนวณจากปี 55 พบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรมีสัดส่วนร้ร้อยละ 10.3 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดโดยมีการส่งออกสินค้าประเภทยางพาราข้าวน้ำตาลทรายไก่แปรรูปและกุ้งแช่แข็งเป็นสินค้าหลักโดยหากพิจารณาเฉพาะตลาดอาเซียนจะพบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญคืคือสินค้าประเภทน้ำตาลทรายยางพาราและข้าวทั้งนี้แนวทางการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในอนาคตทั้งในตลาดโลกและตลาดอาเซียนควรมีการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรโดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์การสร้างระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและมีประสิทธิภาพรวมถึงควรรีบสร้างตลาดใหม่ทดแทนตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริริกาและสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิกิจในระยะยาว
2. ประธานผู้แทนการค้าไทย ระบุไม่ควรให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกิน 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีที่ค่าเงินบาทแข็งค่า โดยระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จะต้องดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกิน 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเพราะจะมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยแนวทางที่เหมาะสมในการสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้าที่มีผลต่อค่าเงินบาทได้ดีที่สุดคืคือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงให้เหมาะสมนอกจากนี้ ธปท.จะต้องใช้มาตรการแทรกแซงค่าเงินในตลาดให้มากขึ้นเพราะถือเป็นอีกหนึนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่จะต้องใช้ในการสกัดกั้นค่าเงินบาทร่วมกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น จากเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่นื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในภูมิมิภาคเอเซีย รวมถึถึงประเทศไทย ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ห้นักลงทุนโดยเฉพาะจากสหรัฐฯ และยุโรปเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดค่าเงินบาทณ วันที่ 2 2 มี.ค. 56 ปิดที่ระดับ 29.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึซึ่งแข็งค่าสอดคล้องกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลักอย่าง ค่าเงินเยนญี่ปุ่น ค่าเงินยูยูโร ค่าเงินหยวนจีน ทั้งนี้ ในปี 56 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วงคาดการณ์ที่ระดับ 29.70 -31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (คาดการณ์ ณ ธ.ค. 55 และจะปรัรับประมาณการอีกครั้งในเดือนมี.ค. 56)
3. ไซปรัสตกลงเข้ารับการช่วยเหลือจากนานาชาติ ยอมปรับภาคธนาคารตามเงื่อนไข
  • ประเทศไซปรัสกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงของการล้มของภาคธนาคารที่มีขนาดใหญ่กว่า GDP ของตนเองถึงกว่า 7 เท่าอันเป็นผลมาจากการตัดหนี้ของกรีซ การขาดดุลงบประมาณ และการถดถอยของเศรษฐกิจของตนตั้งแต่ปี 2552 ล่าสุดสำนักข่าว Re uter รายงานจากการประชุมรัฐมนตรีคลังของยุโรป ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม ว่าไซปรัสสามารถบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นกับ Troi ka (EU, ECB และ I MF) เกี่ยวกับการเข้ารับการช่วยเหลือจากนานาชาติติแล้ว หลังไซปรัสได้ยอมทำตามข้อเสนอของ Troika ในการจัดการกับปัญหาในภาคการธนาคารของตนการแก้ปัญหาจะเริ่มจากการลดขนาดของธนาคาร P opular Bank of Cyp rus และทำการย้ายเงินฝากทีที่ได้รับการรับประกันไปสู่ธนาคารที่มีความมั่นคงมากกว่า คือ B ank of Cyprusหากข้ข้อตกลงมีการอนุมัติ ไซปรัสจะได้เงินกู้ฉุกเฉินเป็นแงินทั้งสิ้น 10 พันล้านยูโรขณะที่ภาษีที่จะบังคับเก็บจากเงินฝากจะไม่ถูกนำมาใช้หลังจากมาตรการดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาของไซปรัส
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าไซปรัสจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก (ประมาณร้อยละ 0.2 ของ GDP รวมกลุ่มยูโรโซน) แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความกังวลต่อตลาดอย่างมากเกี่ยวกับความมั่นคงของกลุ่มยูโรโซน และความเสี่ยงของวิกฤติการณ์หนี้ที่เกิดขึ้นอีกระลอก ทั้งนี้ การเกิดปัญหาในไซปรัสดัดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการที่ ECB นำมาใช้เพื่อพยายามรักษาเสถียรภาพค่าเงินยุโรนั้นไม่สามารถหยุดความเสีสี่ยงได้อย่างสิ้นเชิง และกลับสร้างความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้านผลกระทบต่อประเทศไทย ในลำดับแรกเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้ขึ้นต่อตลาดทุนซึ่งมีลักษณะอ่อนไหวและมีการปรับตัวเร็ว ความกังวลในไซปรัสจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการปรับฐาน (Correction) กว่า 100 จุด (ประมาณร้อยละ 7) ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงสัปดาห์ทีที่ผ่านมา ส่วนในภาคเศรษฐกิจจริง ไทยอาจได้รับผลกระทบโดยอ้อมจากกำลังซื้อที่ถดถอยของยูโรโซนที่มีแนวโน้มจะยังไม่ฟื้นตัวได้ง่าย

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ