รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 18 มีนาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 18, 2013 11:03 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2556

Summary:

1. พาณิชย์จับตา 10 สินค้าเกษตร ปรับราคาสูงขึ้นช่วงหน้าแล้ง

2. การส่งออกข้าวไทยในช่วง 2 เดือนแรกปี 56 อยู่ที่ 1.04 ล้านตัน

3. เศรษฐกิจสหรัฐฯส่งสัญญาณฟื้ฟ้นตัวดี

Highlight:

1. พาณิชย์จับตา 10 สินค้าเกษตร ปรับราคาสูงขึ้นช่วงหน้าแล้ง
  • อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์เฝ้าจับตาราคาสินค้าเกษตร 10 รายการที่มักเกิดปัญหาผลผลิตลดลง และราคาสูงในช่วงหน้าร้อน เช่น มะนาว ผักบุ้ง ผัผักชี กวางตุ้ง หัวไช้เท้ท้า และผักกาดขาว และพร้อมจะเข้าไปดูแลราคาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่ย่างใกล้ชิด เพื่อเชื่อมโยงตลาดระหว่างเกษตรกรกับผู้ค้า อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสินค้าเกษตรจะปรับราคาสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ส่วนราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคในกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะนี้ราคายังคงทรงตัว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงเดือน มี.ค. และ เม.ย. ของทุกปี จะเป็นเดือนที่หลายพื้นที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรบางประเภทมีการปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากมีจำนวนผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดน้อยลง โดยเฉพาะผลผลิตประเภทผักและผลไม้ม้เป็นสำคัญ ซึ่งมีน้ำหนักคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.95 ของตะกร้าสินค้าทั้งหมด ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูลในปีก่อนหน้า (ปี 55) อัตราเงินเฟ้อในหมวดผักและผลไม้ปรับับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.41 และ 6.18 ในช่วงเดือนมี.ค. และ เม.ย. ตามลำดับ อย่างไรก็ดี คาดว่าดัชนีราคาในหมวดอื่นๆจะปรับตัวสูงขึ้นไม่มาก ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่อยู่ในระดับที่สูงจนเกินไป โดยสศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 56 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.5)
2. การส่งออกข้าวไทยในช่วง 2 เดือนแรกปี 56 อยู่ที่ 1.04 ล้านตัน
  • รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากกการประชุมประเมินสถานการณ์ส่งออกข้าวในช่วง 2 เดือนของปี 56 ไทยสามารถส่งออกได้เป็นอันดับหนึ่งปริรมาณ 1.04 ล้านตัน รองลงมา คือ อินเดีย 9.6 แสนตัน และเวียดนาม 7.5 แสนตัน โดยมีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 711 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปี 55 ที่ราคาเฉลี่ยตันละ 688 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประเมิมินว่าราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยของไทยจะลดลง 5 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่นื่องจากปริมาณการค้ค้าข้าวโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมทั้งผู้ซื้อยังรอดูผลผลิตข้าวของเวีวียดนามที่กำลังออกมาเร็วๆ นี้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกข้าวในปี 56 มีมีแนวโน้มสดใส ซึ่ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขประมาณการของกระทรวงเกษตรสหรัรัฐฯ ที่คาดว่าผลิตข้าวโลกในปี 5 6 จะอยู่ที่ 465.0 ล้านตันข้าวสาร ในขณะทีที่ความต้องการบริริโภคข้าวอยู่ที่ 4 68.6 ล้านตัน ประกอบกับอุปสงค์จากตลาดยุโรปที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ซึ่งจากผลการศึกษาของ EU Commiss ion คาดว่าอัตราการบริโภคข้าวจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 5.2 กก. ต่อคนต่อปีในปัจจุบัน เป็น 6.2 กก.ในปี 65) อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในการส่งออกข้าวไทยในปี 56 คืคือประเทศนำเข้าข้าวหลัก เช่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย และประเทศผู้ส่งออกหลักอย่างเวีวียดนาม มีแนวโน้น้มที่จะมีผลผลิตเพิ่ม เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก (ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยทั้งในแง่ของราคาส่งออกและปริมาณการส่งออก) ทั้งนี้ คาดว่าในปี 56 การส่งออกข้าวไทยอยู่ที่ที่ 8.5 ล้านตัน
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯส่งสัญญาณืฟื้นตัวดี
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการในเดือนที่ผ่านมาสะท้อนถึงการฟื้ฟื้นตัวได้เป็นอย่างดี โดยตัวเลขยอดขายสินค้าผู้บริริโภคในเดือน ก.พ. 56 ขยายตัวร้อยละ 0.7 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคสินค้าคงทนด้านตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ในเดือนเดียวกันเติบโตร้อยละ 0.8 สูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนเติบโตร้อยละ 3.6 ด้านการจ้างงานเพิ่มขึ้น 23 6,000 ตำแหน่ง ทำให้อัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. 56 ลงมาอยู่ทีที่ร้อยละ 7.7 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 4 ปี ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ส่งสัญญาณเชิงบวกเช่นกัน โดยในเดือน ธ.ค. 55 ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (The S&P/CaseShiller I ndex) ใน 20 เมืองเติบโตร้อยละ 6.8 ปัจจัยต่างๆดังกล่าวส่งผลให้ตลาดมีปฎิกิริยาเชิงบวก อาทิเช่น ดัชนี S&P 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้จุดสูงสุดที่เคยทำได้ในช่วงปี 50 หรือการที่ บิล กรอส ผู้จัดการกองทุน Pimco กองทุนพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกปรับประมาณการเศรษฐกิจเพิ่มจากร้ร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 3.0 ต่อปี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐฯ ยังต้องเผชิญแรงต้านจากความเสี่ยงของสหรัฐฯ เองที่รออยู่ ได้แก่ ผลกระทบจากการตัดงบประมาณอัตโนมัติ (Sequestration) และการขึขึ้นภาษี Payroll t ax ขณะที่เศรษฐกิกิจยังคงมีความเปราะบางจากอัตราการว่างงานที่แม้จะลดลงมาบ้าง แต่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารกลางสหรัรัฐฯยังคงมีแนวโน้น้มจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อรักษาต้นทุนการกู้ยืมของเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ยังอยู่ในระดับต่ำทำให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวสามารถทำต่อไปได้ สิ่งที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ คืคือ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ