รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 10 - 14 มิถุนายน 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 17, 2013 11:37 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนพ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -11.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 94.3
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 16.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯ เดือน พ.ค. 56 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของกำลังแรงงานรวม
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป เดือน เม.ย. 56 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า
  • วันที่ 10 มิ.ย. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น มีมติคงอัตราlioดอกเบี้ยนโยบาย ให้อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

ที่ช่วงร้อยละ P0 - 0.1 ต่อปี

  • วันที่ 13 มิ.ย. 56 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานเกาหลีใต้ เดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม
Indicators next week
 Indicators                                 Forecast           Previous
 May : API (%YoY)                              3.5               -4.4

ตามการขยายตัวของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว สอดคล้องกับผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันที่คาดว่าจะขยายตัวเช่นกันตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นต้น

Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนพ.ค. 56 มีจำนวน 201,138 คัน หรือหดตัวร้อยละ -11.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 โดยเป็นการหดตัวของยอดขายรถจักรยานยนต์ทั้งในกทม.และในภูมิภาคที่ร้อยละ -4.2 และร้อยละ -13.2 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 และร้อยละ 6.4 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เริ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ และภาคเหนือ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ภัยแล้งทำให้เกษตกรลดการเพาะปลูกลง ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกปี 56 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท จากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น จะส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวได้ต่อเนื่อง อันจะทำให้การแข่งขันเพื่อระดมทุนของธนาคารพาณิชย์ยังคงจะเข้มข้นต่อเนื่องในปี 56 อย่างไรก็ตาม ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากนอกประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และสถานะของสภาพคล่องได้ในระยะต่อไป
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 94.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 92.9 เนื่องจากค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลง ทำให้ผู้ประกอบการคลายความกังวล ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 2.50 ทำให้ผู้ประกอบการมองว่าเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกประเทศ ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 16.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยอุปสงค์ของอสังหาริมทรัพย์ยังคงเติบโตแม้ว่าจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้ร้บอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือน เม.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.6 ขณะที่อุปทานของอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือน เม.ย. 56 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 54.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 190.6 นอกจากนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 2.5 ตามมติของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. 56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.4 ตามการขยายตัวของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว สอดคล้องกับผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันที่คาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นต้น

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้นถึง 175,000 ตำแหน่ง มากกว่าในเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 14,000 ตำแหน่ง (ตัวเลขปรับปรุง) โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการจ้างงานภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคบริการที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 176,000 ตำแหน่ง จากภาคการค้าปลีก ธุรกิจ และสันทนาการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม กำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 420,000 คน ทำให้อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 56ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของกำลังแรงงานรวม จากร้อยละ 7.5 ในเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากยอดขายยานยนต์และชิ้นส่วนที่ขยายตัวดีถึงร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งยอดขายวัสดุก่อสร้างขยายตัวในระดับสูงเช่นกัน บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของอุปสงค์ภายในของสหรัฐฯ
China: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวลงถึงหดตัว โดยเฉพาะฮ่องกงและยูโรโซน (คู่ค้าอันดับ 2 และ 3) มูลค่าการนำเข้ากลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการนำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ -6.0 เป็นสำคัญ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของประชาชน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 56 ที่ระดับ 99.0 จุด ต่ำกว่า 100 จุดบ่งชี้ความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 9.2 จากปีก่อน ผลจากนโยบายชะลอการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคาร และอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากปีก่อน จากราคาผักสดหดตัวร้อยละ -1.9 เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสมทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรมาก
Japan: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ประกาศไปก่อนหน้า โดยขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อน (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอลง ขณะที่ภาคการส่งออกเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.0 จุด จากระดับ 44.5 จุดในเดือนก่อนหน้า สะท้อนมุมมองที่ดีต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ให้อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องที่ช่วงร้อยละ 0 - 0.1 ต่อปี นับเป็นเวลา 32 เดือนติดต่อกัน เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศให้กลับมาขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังคงต่ำ
Eurozone: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนี และฝรั่งเศสที่ขยายตัวเร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมประเทศอื่นๆที่ยังคงซบเซา กอปรกับการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนภาพรวมของภาคการผลิตที่ยังไม่ฟื้นตัว
Indonesia: mixed signal
  • เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 56 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี จากร้อยละ 5.75 ต่อปี เพื่อป้องกันแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และรักษาเสถียรภาพภายในระบบการเงินจากการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์ซึ่งทำให้เกิดเงินทุนไหลออกเป็นจำนวนมากในระยะนี้
Malaysia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีนซึ่งหดตัวร้อยละ -13.4 เป็นสำคัญ ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 25.8 อย่างไรก็ตาม มาเลเซียยังคงเกินดุลการค้า เดือน เม.ย. 56 มูลค่า 943.2 ล้านริงกิต ซึ่งนับเป็นการเกินดุลที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 40 เป็นต้นมา ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 56 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.1 ผลจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกเป็นสำคัญ
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ของกำลังแรงงานรวม สูงสุดในรอบ 2 ปี อย่างไรก็ตาม การว่างงานดังกล่าวเป็นการว่างงานชั่วคราวในภาคการเกษตรจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้เริ่มทำการเกษตรได้ล่าช้า
India: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เมื่อดูรายละเอียดพบว่า ผลผลิตในสินค้าหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ
South Korea: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม จากร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากประชากรวัยแรงงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 56 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มิ.ย. 56 ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี ภายหลังจากปรับลดลงร้อยละ 0.25 ในเดือนที่ผ่านมา
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 56 กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักที่กลับมาขยายตัวเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 56 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการ Re-export ที่ยังขยายตัวดี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่มากกว่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าเดือนดังกล่าว เกินดุลมูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 13 มิ.ย. 56 ปิดที่ 1,403.27 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 64,005 ล้านบาท ด้วยแรงขายจากนักลงทุนต่างประเทศ จากการปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ประเทศในกลุ่ม TIP (ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) ของกองทุนต่างชาติขนาดใหญ่ หลังจาก S&P ปรับขึ้นแนวโน้มเรตติ้งสหรัฐฯ จาก "เชิงลบ" เป็น "มีเสถียรภาพ" ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10 - 13 มิ.ย. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -11,765.83 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นมากในพันธบัตรระยะปานกลาง-ยาว ประมาณ 15-30 bps ในทิศทางเดียวกับ US Treasury จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ จากการปรับขึ้นแนวโน้มเรตติ้งสหรัฐฯ ดังกล่าว โดยระหว่างวันที่ 10 - 13 มิ.ย. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -5,275.3 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 13 มิ.ย. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 30.74 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยอ่อนค่าลงร้อยละ -0.52 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี และสิงคโปร์ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินเยนและยูโรที่ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้น ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ -0.74 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 13 มิ.ย. 56 ปิดที่ 1,385.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,386.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ