รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 - 19 กรกฎาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 24, 2013 13:36 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มิ.ย. 56 ได้จำนวน 181.4 พันล้านบาท

เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน พ.ค. 56 มีมูลค่า 54.1 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -2.6

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. 56 อยู่ที่ระดับ 93.1 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 94.3
  • GDP จีน ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวที่ ร้อยละ 7.5 ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว
  • ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯในเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. 56(ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                               Forecast           Previous
 Jun : Passenger car Sale (% YoY)          -10.0               -5.8

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และผลจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่เริ่มลดลง นอกจากนี้คาดว่าบริษัทค่ายรถยนต์ต่างๆจะส่งมอบรถยนต์ที่ค้างจองได้ทั้งหมดในช่วงปลายปี 2556 ตามที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( ส.อ.ท.) ระบุว่าจะสามารถเร่งทยอยการส่งมอบรถที่ค้างจองได้ทั้งหมดภายในเดือน ต.ค. 56 นี้

Economic Indicators: This Week
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มิ.ย. 56 ได้จำนวน 181.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ต่ำกว่าประมาณการ ตามเอกสาร งปม. 3.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ -2.0 โดยมีรายการสำคัญดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ภาษี จากกำไรสุทธิ (ภ.ง.ด.50) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนความสามารถในการทำกำไรของนิติบุคคลที่เพิ่มขึ้น และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ภาษีจากฐานเงินเดือน (ภ.ง.ด.1) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการปรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภค (ภ.พ.30) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีจากการนำเข้าจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าที่ชะลอลง สอดคล้องกับอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม. 56 (ต.ค.55 - มิ.ย. 56) ได้จำนวน 1,616.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และสูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 82.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.3
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน พ.ค. 56 มีมูลค่า 54.1 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.7 (หรือหดตัวร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ตามการหดตัวลงในระดับสูงจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ที่หดตัวร้อยละ -13.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่ลดลง อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 7.9 แม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.3 สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชน ที่ยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.3 และทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 56 ขยายตัวร้อยละ 11.0 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 35.2 เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ ในขณะที่ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) หดตัวร้อยละ -1.7 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศํยของผู้บริโภคชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากมาตรการเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้ร้บอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในเดือน พ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากอาคารชุดเป็นสำคัญ ขณะที่อุปทานของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณการหดตัว สะท้อนจากที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือน เม.ย. 56 หดตัวร้อยละ -10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากปัญหาการหาที่ดินที่เหมาะสมในการพัฒนาอาคารชุดที่เริ่มหาได้ยากขึ้นโดยเฉพาะทำเลตามแนวรถไฟฟ้า และปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (q-o-q SA) ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. 56 อยู่ที่ระดับ 93.1 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 94.3 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อที่ปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการมีความกังวล ประกอบกับปัญหาการเมืองและนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกประเทศ ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนมิ.ย. 56 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -10.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และผลจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่เริ่มลดลง นอกจากนี้คาดว่าบริษัทค่ายรถยนต์ต่างๆจะส่งมอบรถยนต์ที่ค้างจองได้ทั้งหมดในช่วงปลายปี 2556 ตามที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( ส.อ.ท.) ระบุว่าจะสามารถเร่งทยอยการส่งมอบรถที่ค้างจองได้ทั้งหมดภายในเดือน ต.ค. 56 นี้

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 (ตัวเลขปรับปรุง) อย่างไรก็ตาม หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า ผลหลักจากยอดขายรถยนต์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่องถึงร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหากหักสินค้ายานยนต์แล้ว ยอดค้าปลีกจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ยอดขายอุปกรณ์ก่อสร้างและทำสวนขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 6.1 เป็นอีกหนึ่งสัญญาณบ่งชี้การฟื้นตัวของภาคการก่อสร้าง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ผลจากดัชนีราคาหมวดเครื่องแต่งกายและหมวดขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่เร่งขึ้นสะท้อนอุปสงค์ในประเทศต่อสินค้ากึ่งคงทนที่ปรับตัวดีขึ้น
China: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 ทำให้การขยายตัวครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ซึ่งยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปีที่ร้อยละ 7.5 ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วยความระมัดระวังของประชาชน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 56 ชะลอตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดรับกับการลงทุนในสินทรัพย์คงทนที่ชะลอลงต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกัน ราคาบ้าน เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 29 เดือนจากอุปสงค์ส่วนเกินและการขายที่ดินต่อเนื่องของรัฐบาลท้องถิ่นซึ่งทำให้ตลาดคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงอยู่ในขาขึ้น
Japan: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 สะท้อนภาค อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นสำคัญ
Eurozone: worsening economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตในหมวดสินค้าคงทนและสินค้าทุนที่หดตัวเป็นสำคัญ มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 56 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม และวัตถุดิบที่หดตัวลงเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ตามตลาดการส่งออกพบว่าการส่งออกไปยังคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐฯ และจีนหดตัวลง บ่งชี้อุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงชะลอลง มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 56 หดตัวลงเช่นกันที่ร้อยละ -5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าในหมวดเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมที่หดตัวเป็นสำคัญส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ค. 56 เกินดุลที่ 15.2 พันล้านยูโร อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้น
Indonesia: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 8.6 ทั้งนี้ เป็นผลจากยอดขายสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องใช้ภายในบ้านที่หดตัวร้อยละ -5.6 และ-6.0 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ระดับ 117.1 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 111.7 จุด สะท้อนว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในสภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเป็นผลจากการคาดการณ์ว่าโครงการก่อสร้างในช่วงครึ่งหลังของปี 56 จะช่วยเพิ่มการจ้างงาน
Singapore: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน ทั้งนี้ เป็นผลจากยอดขายสินค้าในหมวดอัญมณีและอุปกรณ์สื่อสารที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 และ 10.0 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ -33.6 และ -25.5 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการนำเข้าสินค้าในหมวดพลังงานและเครื่องจักรหดตัวร้อยละ -14.4 และ -7.3 ตามลำดับ อนึ่ง มูลค่าการนำเข้าที่หดตัวในอัตราที่มากกว่ามูลค่าการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 เกินดุล 4.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม โดยการจ้างงานรวมในเดือนดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้น 9,600 ตำแหน่งบ่งชี้ถึงอุปสงค์ต่อแรงงานที่ยังมั่นคงทำให้ตลาดแรงงานในฮ่องกงยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
India: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -4.6 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.1 จากการส่งออกเหล็ก อัญมณี และเครื่องเทศที่ลดลงเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย.56 หดตัวร้อยละ -0.4 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากการนำเข้าทองคำและเงินที่ลดลงเป็นสำคัญ ทำให้ ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 ขาดดุล -12.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 4.70 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากราคาอาหารโดยเฉพาะผักที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาสินค้าแร่จะลดลงก็ตาม
South Korea: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -1.0 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไป จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่ลดลงเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -3.0 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญ ทำให้ ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 (ตัวเลขปรับปรุง) เกินดุล 6.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลสูงที่สุดในรอบ 3 ปี
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 18 ก.ค. 56 ปิดที่ 1,487.19 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันระหว่างสัปดาห์อยู่ที่ 41,829 ล้านบาท ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ หลังจากประธาน Fed แถลงต่อสภาคองเกรสว่าจะยังไม่มีการกำหนดเส้นตายการชะลอมาตรการ QE หากแต่จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและตัวเลขการจ้างงาน ทำให้ตลาดปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,339.8 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างคงที่ หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับมาตรการ QE ของสหรัฐฯ โดยระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,377.6 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทคงที่ โดย ณ วันที่ 18 ก.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 31.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่วนใหญ่อ่อนค่าลงตามค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.57 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 18 ก.ค. 56 ปิดที่ 1,284.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,282.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ