ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 มีจำนวน 5,154,753.61 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.21 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,589,728.39 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,060,180.28 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน(รัฐบาลค้ำประกัน) 501,461.58 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 3,383.37 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 22,838.63 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 26,329.86 ล้านบาท และ 7,809.35 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 9,122.04 ล้านบาท และ 2,178.54 ล้านบาท ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556
1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 27,230.09 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1,466.16 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,221.00 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐและชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,687.16 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว รายละเอียดปรากฏตามแผนภาพที่ 2 โดยในส่วนของหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลที่กู้ให้กู้ต่อแก่บริษัทการบินไทย (จำกัด) มหาชน จำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,178.31 ล้านบาท) เป็นหนี้ที่มีรายรับเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศที่สอดคล้องกับรายจ่ายชำระหนี้ต่างประเทศ (Natural Hedged) จึงไม่นับว่ามีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 25,763.93 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก (1) การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 13,054.28 ล้านบาท และ (2) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของ Japan International Cooperation Agency (JICA)ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังค้ำประกันโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของกระทรวงการคลัง จำนวน 9,300 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 900.23 ล้านบาท เนื่องจากการไถ่ถอนพันธบัตรออมทรัพย์โดยการทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3)
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ในประเทศ
2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,322.42 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 3,200 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 400 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ 1,277.58 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 237.27 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 93 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 669.73 ล้านบาท
2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 12,830.72 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 4,610.14 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่าย และชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ รวมถึงการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนของ Japan International Cooperation Agency (JICA) ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังค้ำประกันโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของกระทรวงการคลังจำนวน 9,300 ล้านบาท ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปหนี้เงินบาทลดลงสุทธิ 8,220.58 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 2,148.99 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 407.76 ล้านบาท ประกอบกับ การเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,741.23 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) มีเพียงสองหน่วยงาน คือ บริษัท การบินไทย (จำกัด) มหาชน และบริษัท ปตท. (จำกัด) มหาชน ซึ่งมีรายรับเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศที่สอดคล้องกับรายจ่ายชำระหนี้ต่างประเทศ (Natural Hedged) ทั้งหมด และเมื่อพิจารณาในรูปเงินบาทสามารถจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 7,864.90 ล้านบาท โดยเกิดจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตร 8,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 5,000 ล้านบาท รวมถึงการเบิกจ่ายมากกว่าชำระคืนสุทธิจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ 4,864.90 ล้านบาท
3.2 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 55.55 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2,178.54 ล้านบาท โดยเกิดจากหน่วยงานอื่นของรัฐมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้
หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,154,753.61 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 332,787.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.46 และหนี้ในประเทศ 4,821,966.16 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.54 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 4,982,457.50 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.66 และหนี้ระยะสั้น 172,296.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.34 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2556 26 กรกฎาคม 2556--