- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมิ.ย. 56 สามารถเบิกจ่ายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การส่งออกเดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.0
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน มิ.ย. 56 ขาดดุล -664.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ ร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนร้อยละ 15.5
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวปีก่อน
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด ลดลงต่ำสุดในรอบ 11 เดือน
Indicators Forecast Previous Jul : Motorcycle Sale (% YoY) -7.5 -10.8
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ และภาคเหนือ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมิ.ย. 56 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 166.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมิ.ย. 56 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 155.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 135.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 (2) รายจ่ายลงทุน 19.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -12.2 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 21.3 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 5.7 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 5.2 พันล้านบาท และรายจ่ายของกระทรวงกลาโหม 4.4 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 11.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 56 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 1,853.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 1,663.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 69.3 ของวงเงินงบประมาณปี 56
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. 56พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 171.3 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 1.8 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำนวน 173.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 56 งบประมาณขาดดุลจำนวน -238.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -120.5พันล้านบาท จากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจำนวน 102.1 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งฯ จำนวน 6.1 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -358.5 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ 423.5 พันล้านบาท
- การส่งออกในเดือน มิ.ย. 56 มีมูลค่าอยู่ที่ 19,098.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหดตัวร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.2 โดยเป็นผลมาจากราคาและปริมาณสินค้าส่งออกที่หดตัวร้อยละ -0.1 และ -3.3 ตามลำดับ ปัจจัยสำคัญมาจากการหดตัวเร่งขึ้นของสินค้าอุตสาหกรรมที่ร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 ตามการหดตัวในระดับสูงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ร้อยละ -11.6 และ -6.1 ตามลำดับ ประกอบกับสินค้าเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตรและเชื้อเพลิงที่หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -10.5 -0.4 และ -17.1 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้ายานยนต์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 9.9 จากอุปสงค์ของตลาดออสเตรเลียและกลุ่มอาเซียน 5 ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 56 มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- การนำเข้าในเดือน มิ.ย. 56 มีมูลค่าที่ 21,013.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.5 โดยเป็นผลมาจากราคาที่หดตัวที่ร้อยละ -2.4 และปริมาณสินค้านำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.6 ปัจจัยสำคัญเนื่องมาจากการขยายตัวของทองคำ สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร้อยละ 47.3 12.2 และ 5.9 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าวัตถุดิบหักทองและสินค้าทุน หดตัวที่ร้อยละ -0.2 และ -4.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการนำเข้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออก ทำให้ดุลการค้าในเดือน มิ.ย. 56 ขาดดุล 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย และเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวของผักผลไม้ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาไข่ไก่ปรับลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศและราคาสินค้าหมวดเนื้อสัตว์เป็ดไก่มีการปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 7 เดือนแรกปี 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 สะท้อนถึงเห็นถึงเสถียรภาพด้านราคาที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. 56 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สำหรับดัชนีในหมวดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย-ผิวเรียบ เหล็กตัวเอช เหล็กฉาก เป็นสำคัญ) เนื่องจากราคาสินแร่เหล็ก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น หมวดซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนมิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม เครื่องอิเล็คทรอนิคส์ และอาหารเป็นสำคัญ อุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องแต่งกาย แร่อโลหะ ยานยนต์ การปั่น การทอ เป็นต้น ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และการแผ่วลงของนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( ส.อ.ท.) ระบุว่าจะสามารถเร่งทยอยการส่งมอบรถที่ค้างจองให้หมดภายในเดือน ต.ค. 56 ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวร้อยละ 36.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.4 ตามการลดลงของยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -14.5 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.8 เนื่องจากมีการเร่งผลิตและส่งมอบไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 56 ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์จะยังหดตัว เนื่องจากปัจจัยฐานที่เร่งสูงมากในช่วงปลายปี 55 ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน มิ.ย. 56 ขาดดุล -664.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -1,050.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้ายังคงเกินดุลเล็กน้อยเพียง 587.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการชะลอตัวของการส่งออกโดยเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตรและประมงตลอดจนสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หดตัวลงมาก ขณะที่ดุลบริการรายได้และเงินโอนขาดดุล -1,251.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งกลับกำไรและเงินปันผล ขณะที่รายรับการท่องเที่ยวยังคงอยู่ในระดับสูงตามภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 56 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล -3,809.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือนมิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 42.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 62.4 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) ขยายตัวร้อยละ 67.1 ต่อปี เหล็กเส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 13.5) ขยายตัวร้อยละ 48.7 ต่อปี และลวดเหล็กแรงดึงสูง (น้ำหนักร้อยละ 6.2) ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมิ.ย. 56 ในหมวดผลิตโลหะขั้นมูลฐานที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 และ 48.6 ตามลำดับ ที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ขยายตัวร้อยละ 15.5
- สินเชื่อเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ ร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อผู้บริโภค ซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ตามลำดับ ทั้งนี้ ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงการขยายตัวของสินเชื่อในอนาคตเงินฝากสถาบันการเงินเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ชะลอลงเป็นสำคัญ โดยหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่งจากการที่สถาบันการเงินต่างๆยังคงระดมเงินฝากต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในอนาคต รวมถึงการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่ยังคงมีความเสี่ยงจากการชะลอลงของอุปสงค์จากนอกประเทศ กอปรกับการใช้จ่ายในประเทศที่เริ่มกลับเข้าสู่ระดับปกติมากขึ้น รวมถึงเงินทุนเคลื่อนย้ายที่จะยังคงมีความผันผวนต่อเนื่อง จะส่งผลให้สถาบันการเงินต่างๆ จำเป็นต้องบริหารจัดการสภาพคล่องอย่างระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อภาพรวมของการระดมเงินฝากในระยะต่อไป
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์จักรยานยนต์ ในเดือน ก.ค. 56 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ และภาคเหนือ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
Global Economic Indicators: This Week
- GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 (ตัวเลขปรับปรุง) โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 80.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 82.1 จุด (ตัวเลขปรับปรุง) จากความกังวลด้านราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน ก.ค. 56 อยู่ระดับสุงสุดในรอบกว่า 2 ปีที่ระดับ 55.4 จุด สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ดัชนีการผลิต และดัชนีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 โดย HSBC อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด ลดลงต่ำสุดในรอบ 11 เดือนจากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง สำหรับดัชนีฯ ที่จัดทำโดย NBS อยู่ที่ระดับ 50.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้น
- มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง และมูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 11.8 ผลจากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลมูลค่า -1.8 แสนล้านเยน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 1 ปี จากราคาสินค้าเกือบทุกประเภท ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่ ม.ค. 56 สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 50.7 จุด จากระดับ 52.3 จุดในเดือนก่อน จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสูงเกินระดับ 50 จุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 บ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 56 ลดลงติดกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ -17.4 ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ก.ค. 56 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 50.4 สะท้อนภาคการผลิตที่กลับมาขยายตัว โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ระดับ 50.3 ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน ที่ระดับ 49.6 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 12.1 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อน สะท้อนการจ้างงานที่ซบเซา
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 49.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า จากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง
- มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -6.8 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลมูลค่า 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 51.0 จุด จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอีกทั้งคำสั่งซื้อใหม่สินค้าส่งออกลดลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 4 ปี จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการลดเงินอุดหนุน ทำให้ราคาหมวดขนส่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.2
- มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และพลังงานที่หดตัวสูง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่าส่งออก ทำให้ดุลการค้าเดือน พ.ค. 56 ขาดดุล -0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 51.7 จุดทั้งนี้ จากดัชนีคำสังซื้อใหม่สินค้าส่งออกเป็นสำคัญ
- มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากปัจจัยฐานสูงของการส่งออกน้ำมันดิบ ประกอบกับการส่งออกข้าวหดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.5 จากการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากราคาน้ำมันทำให้ค่าใช้จ่ายในหมวดขนส่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.8
- อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 2 ปี 56 ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปจีน มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.4 จากการขยายตัวชะลอลงการนำเข้าสินค้าทุน ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 ขาดดุล -49.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 12.9 ในเดือนก่อนจากสินค้าหมวดเครื่องประดับและสินค้าในห้างสรรพสินค้า
- GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 1.1 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)จากการส่งออกที่ขยายตัวเป็นสำคัญ มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 56 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวร้อยละ 2.7 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 ลดลงอยู่ที่ระดับ 47.2 จุด จากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 1 ส.ค. 56 ปิดที่ 1,437.51 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันระหว่างสัปดาห์เบาบางที่ 33,936 ล้านบาท ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนรายย่อย หลังจากความกังวลต่อปัญหาคราบน้ำมันรั่วไหลในทะเลจ.ระยอง อย่างไรก็ตาม ผลการประชุม FOMC ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ยืนยันการดำเนินมาตรการ QE ต่อไปทำให้ดัชนีฯ กลับมาปิดสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,655.6 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะปานกลาง-ระยะยาว หลังจากนักลงทุนเทขายพันธบัตรที่ถือครองอยู่เพื่อเข้าซื้อพันธบัตรรุ่น Benchmark ที่มีการประมูลในช่วงกลางสัปดาห์ โดยระหว่างวันที่ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -5,693.5 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 1 ส.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 31.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.51 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินส่วนใหญ่ ผลจากดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำลดลง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 1 ส.ค. 56 ปิดที่ 1,308.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,327.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th