รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 14, 2013 14:10 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 70.6
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนมิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -6.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) สหรัฐฯ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 56.0 จุด
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 7.4 ของกำลังแรงงานรวม
  • มูลค่าการส่งออกจีน เดือน ก.ค. 56 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้า ที่กลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 10.8

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (ตัวเลขปรับปรุง) สหภาพยุโรป เดือน ก.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.5
  • เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น ยังคงอัตราPดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำที่ช่วงร้อยละ 0 - 0.1 ต่อปี
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมฮ่องกง เดือน oก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการอินเดีย เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 47.9 จุด
Indicators next week
 Indicators                               Forecast           Previous
 Jul : API   (% YoY)                         6.5                8.5

ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขณะที่ผลผลิตข้าวคาดว่าผลผลิตจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง สอดคล้องกับผลผลิตกุ้ง ที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง

Economic Indicators: This Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 70.6 ลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 71.8 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งที่ 4 ติดต่อกัน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลในด้าน 1.ความกังวลสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองและการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ 2. ทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 56 หลังนโยบายภาครัฐเริ่มทยอยหมดลง โดยเฉพาะนโยบายรถคันแรก เป็นต้น 2. ราคาพืชผลเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้รายได้เกษตรกรในภาคชนบท ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และ 3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวลดลง
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนมิ.ย. 56 มีจำนวน 187,059 คัน หรือหดตัวร้อยละ -6.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -10.8 โดยเป็นการหดตัวชะลอลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -8.3 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -12.7 ขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม. ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.0 อย่างไรก็ดี คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ จะยังคงหดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ และภาคเหนือ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 56 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนก.ค. 56 คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขณะที่ผลผลิตข้าวคาดว่าผลผลิตจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง สอดคล้องกับผลผลิตกุ้ง ที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) เดือน ก.ค. 56 อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ระดับ 56.0 จุด สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ผลจากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ คำสั่งซื้อใหม่ และดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค. 56 เพิ่มขึ้น 162,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการจ้างงานภาคบริการเอกชนที่เพิ่มขึ้นถึง 157,000 ตำแหน่งเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม กำลังแรงงานที่ลดลงถึง 37,000 คนทำให้อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 7.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของกำลังแรงงานรวม ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 ขาดดุล -50.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการขาดดุลที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -64.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่ำกว่าประมาณการ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า GDP ไตรมาส 2 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ที่จะประกาศในช่วงปลายเดือนนี้ จะออกมาสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ประกาศก่อนหน้านี้
China: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 56 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.3 จากการส่งออกไปในหลายประเทศที่เริ่มกลับมาขยายตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ และฮ่องกง มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 56 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.9 จากการนำเข้าสินแร่เหล็กและทองแดงที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 56 เกินดุลที่ 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ น้อยกว่าเดือนก่อนกว่า 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจลดแรงกดดันต่อค่าเงินหยวนซึ่งแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง การค้าต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัวเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนอาจผ่านจุดต่ำสุดแล้วและอาจสามารถขยายตัวได้ตามเป้าที่ร้อยละ 7.5 ในปีนี้ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 56 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ค. 56 คงที่ที่ระดับ 51.3 จุด สะท้อนการขยายตัวเล็กน้อยของภาคบริการอย่างต่อเนื่อง
Japan: improving economic trend
  • เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำที่ช่วงร้อยละ 0 - 0.1 ต่อปี นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 51 เป็นต้นมา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มแรงกดดันด้านราคาภายในประเทศเป็นสำคัญ
Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ก.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.5 โดยดัชนีฯ ภาคบริการ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.6 สอดคล้องกับดัชนีฯภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.3 สะท้อนภาคการผลิตที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัว โดยเฉพาะในเยอรมนีเป็นสำคัญ ขณะที่ในประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ อาทิ สเปน และฝรั่งเศส ภาคการผลิตเริ่มส่งสัญญาณหดตัวชะลอลง ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.03 จากช่วงเดียวกันปีก่อน บ่งชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงซบเซาต่อเนื่อง
Indonesia: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6.0 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 53 จากปัญหาเงินทุนไหลออก สะท้อนจากการลงทุนรวมที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบริโภคของประชาชน ดังปรากฏในการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 5.2
Malaysia: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ผลจากการส่งออกไปยังจีนที่หดตัวถึงร้อยละ -20.5 ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวร้อยละ -2.3 ในเดือนก่อนหน้า ผลจากการนำเข้าสินค้าในหมวดพลังงานเชื้อเพลิงที่ขยายตัวถึงร้อยละ 25.1 อย่างไรก็ตาม ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 เกินดุล 4.3 พันล้านริงกิต ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือนก่อน โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 แต่ภาคเหมืองแร่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.1 ช่วยทดแทนผลผลิตอุตสาหกรรม
Philippines: worsening economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.7 เนื่องจากผลจากการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตเริ่มลดลง
Australia: worsening economic trend
  • ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงมากจากร้อยละ 2.7 ในเดือนก่อนหน้า จากสินค้าหมวดห้างสรรพสินค้าและอาหารที่ลดลง มูลค่าการส่งออกเดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนที่ลดลง มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าแร่เชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นที่ลดลง ทำให้ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 เกินดุลที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียอัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 56 คงที่ที่ร้อยละ 5.71 ของกำลังแรงงานรวม
Hong Kong: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด เพิ่มขึ้นจาก 48.7 จุดในเดือนก่อน สะท้อนการหดตัวที่ชะลอลงของคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิต
India: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 47.9 จุด เป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือน ต.ค. 54 จากการบริการหมวดขนส่ง จัดเก็บ และให้เช่า
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวชะลอลงมากที่เพียงร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เที่ยบกับร้อยละ 8.6 ในเดือนก่อน จากการส่งออกไปจีนที่ลดลง มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 56 หดตัวลงมากที่ร้อยละ -7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เที่ยบกับร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อน สะท้อนการส่งออกที่อาจลดลงอีกในอนาคตอันใกล้ ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 56 เกินดุลที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 8 ส.ค. 56 ปิดที่ 1,447.16 จุด แต่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันระหว่างสัปดาห์เบาบางที่ 29,647 ล้านบาท ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนสถาบัน บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนรายย่อย หลังจากความกังวลต่อปัญหาคราบน้ำมันรั่วไหลประกอบกับความไม่สงบทางการเมืองลดลง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหลักทรัพย์ หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมี ทำให้มีการคาดการณ์ว่า Fed จะลดขนาดมาตรการ QE เร็วๆนี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 8 ส.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -7,059.8 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงเล็กน้อยในทุกช่วงอายุตราสาร ซึ่งเป็นการปรับลงในทิศทางเดียวกับ US Treasury โดยระหว่างวันที่ 5 - 8 ส.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 161.8 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 8 ส.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 31.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.10 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินส่วนใหญ่ ผลจากดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่แข็งค่าในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ -0.98 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 8 ส.ค. 56 ปิดที่ 1,311.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,302.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ