รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 - 30 สิงหาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 2, 2013 11:29 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนก.ค. 56 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 171.1 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -4.6

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ค. 56 ขาดดุลจำนวน -34.4 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ค. 56 หดตัวร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. 56 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าสินค้า

ขยายตัวร้อยละ 1.1

  • GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 81.5 จุด
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือน ส.ค. 56 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ -15.6 จุด
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมไต้หวัน เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ ขยายตัวร้อยละ 0.9

Indicators next week
 Indicators                               Forecast           Previous
 Aug : Headline Inflation (% YoY)           2.0                 2.0

โดยมีสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ และสินค้าเชื้อเพลิงที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี สินค้าประเภทผักและผลไม้มีราคาลดลง เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 (mom)

Indicators next week
 Indicators                               Forecast           Previous
 Aug : Motorcycle Sale (% YoY)              -4.5               -6.2

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เริ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ภัยแล้งทำให้เกษตกรลดการเพาะปลูกลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง ทำให้คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในภาคใต้จะลดลงเช่นกัน

Economic Indicators: This Week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนก.ค. 56 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 171.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนก.ค. 56 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 158.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -7.5 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 137.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -6.1 (2) รายจ่ายลงทุน 20.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -15.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 20.7 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนและเงินหมุนเวียน 11.6 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการ 7.5 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 12.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.4 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 56 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 2,024.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 1,822.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 75.9 ของวงเงินงบประมาณปี 56
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ค. 56 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -34.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -14.5 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน -48.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 56 งบประมาณขาดดุลจำนวน -272.5 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -134.9 พันล้านบาท จากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจำนวน 102.1 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งฯ จำนวน 6.6 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -407.4 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ 385.9 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ค. 56 หดตัวต่อเนื่องร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ เครื่องหนัง เครื่องอิเลคทรอนิคส์ และยานยนต์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี บางอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่น้ำมันปิโตรเลียม วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากพิจารณาแบบ (%mom) พบว่าหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.4
  • การส่งออกในเดือน ก.ค. 56 มีมูลค่าอยู่ที่ 19,064.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 ปัจจัยสำคัญเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่ส่งผลให้เกิดปัญหาของการกำหนดราคาขายสินค้า เมื่อพิจารณาด้านมิติสินค้า พบว่า มีการหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการเกษตร ที่หดตัวร้อยละ -6.5 และ -8.7 ตามลำดับ จากการหดตัวในระดับสูงของกุ้งแช่แข็งและแปรรูป น้ำตาล และยางพารา เป็นสำคัญ ประกอบกับการหดตัวของสินค้ายานยนต์ที่ร้อยละ -5.4 อย่างไรก็ดี ยังคงได้รับอานิสงค์จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 1.1 หลังจากหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน รวมถึงสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 13.3 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -0.3 และปริมาณการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -1.2
  • การนำเข้าในเดือน ก.ค. 56 มีมูลค่าที่ 21,345.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากการหดตัวในหมวดสินค้าทุนและสินค้าเชื้อเพลิงที่หดตัวร้อยละ -3.6 และ -15.4 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 12.5 และ 9.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -2.5 และปริมาณการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 และจากการที่มูลค่าการนำเข้าสูงกว่ามูลค่าการส่งออก ทำให้ดุลการค้าในเดือน ก.ค. 56 ขาดดุล -2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนส.ค. 56 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า โดยมีสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ และสินค้าเชื้อเพลิงที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี สินค้าประเภทผักและผลไม้มีราคาลดลง เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 (mom)
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ส.ค.56 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่เริ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่เริ่มหดตัวเกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ภัยแล้งทำให้เกษตกรลดการเพาะปลูกลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง ทำให้คาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในภาคใต้จะลดลงเช่นกัน

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ออกมาก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า และเร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.8 และ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ที่ร้อยละ -2.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 56 อยู่ที่ระดับ 81.5 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 81.0 จุด (ตัวเลขปรับปรุง)โดยดัชนีความคาดหวังปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 88.7 จากระดับ 86.0 ในเดือนก่อนหน้า อีกทั้งผู้บริโภคมีมุมมองต่อภาคการจ้างงานที่ดีขึ้น ในขณะที่ดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวลดลงเล็กน้อย
Japan: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 56 กลับมาขยายตัวเป็นบวกมากขึ้นที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือปรับตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูการแล้ว) นับว่าเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปีที่ผ่านมา ผลจากราคาอาหารสำเร็จรูปและ ค่าขนส่งและการสื่อสารโทรคมนาคมทีปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 0.6 และ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่หักราคาสินค้าหมวดอาหารและเชื้อเพลิงพลังงาน (Core-core inflation index) ในเดือนเดียวกันนั้น พบว่า ราคาสินค้าทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นแต่ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 24 เดือน ที่ -15.6 จุด สะท้อนอุปสงค์ภายในที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคส่วนอื่นๆ ที่เริ่มมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่อง โดยเฉพาะเครื่องชี้ภาคการผลิตที่กลับมามีแนวโน้มขยายตัว หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 2 ปี สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ส.ค. 56 ที่เพิ่มสูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อย่างไรก็ตาม ยูโรโซนยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากภาคการจ้างงานที่ยังคงซบเซา เนื่องจากอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยในเดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 12.1 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งหากประเด็นปัญหาดังกล่าวเรื้อรัง จะส่งผลลบต่ออุปสงค์ภายในต่อเนื่องระยะต่อไป
Taiwan: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน หลังจากที่หดตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน ก.พ. 56 ซึ่งหดตัวถึงร้อยละ -11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหากพิจารณาในรายละเอียด การขยายตัวในเดือนนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมการผลิตหลายหมวด ได้แก่ หมวดอุปกรณ์กึ่งตัวนำ หมวดเคมีภัณฑ์ และหมวดอาหารและเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในภาคเหมืองแร่อีกด้วย
Philippines: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 7.8 ผลจากการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนรวมเป็นสำคัญ ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนที่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70.5 ของ GDP ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวร้อยละ -24.8 โดยสรุป ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 ขาดดุลมูลค่า -0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการผลิตสินค้าประเภทอุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์ที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 56 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.8 เล็กน้อย ผลจากค่าใช้จ่ายในหมวดขนส่งที่กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 1.7 เป็นสำคัญ
Vietnam: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 16.8 ผลจากการปรับขึ้นอัตราภาษีทั้งภาษีส่งออกและภาษีนำเข้าสินค้าในหมวดพลังงานโดยมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมากกว่ามูลค่าการนำเข้าส่งผลให้ ดุลการค้า เดือน ส.ค. 56 ขาดดุล -0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 เป็นสำคัญ
Hong Kong: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน โดยมีสาเหตุจากการส่งออกที่ขยายตัวในแทบทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งจีนร้อยละ 14.4 เวียดนามร้อยละ 23.7 สิงคโปร์ร้อยละ 15.5 ไทยร้อยละ 12.1 และฟิลิปปินส์ร้อยละ 8.3 มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากการนำเข้าสินค้าทุน เช่น อุปกรณ์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 10.4 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน รวมทั้งชิ้นส่วนการผลิตสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าที่มากกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 56 ขาดดุล -37.15 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.8 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด
South Korea: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวมา 2 เดือน ผลจากการขยายตัวในการผลิตภาคก่อสร้างและภาคอุตสาหกรรมระยะกลาง สอดรับกับการส่งออกที่ขยายตัวในเดือนนี้
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 29 ส.ค. 56 ปิดที่ 1,292.53 จุด ลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ปิดที่ 1,338.13 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันระหว่างสัปดาห์ที่ 39,561 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ จากความกังวลเรื่องการลดขนาดมาตรการ QE และความไม่สงบในตะวันออกกลาง ระหว่างวันที่ 26 - 29 ส.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -5,255.11 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ในตราสารทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะตราสารอายุ 2-10 ปี จากการเทขายของนักลงทุน ภายหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะมีการลดขนาดมาตรการ QE ในการประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 ก.ย. 56 ที่จะถึงนี้ และทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในภูมิภาค โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและอินเดีย เพื่อกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยระหว่างวันที่ 26 - 29 ส.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -4,973.0 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 29 ส.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.22 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นมามากในสัปดาห์ก่อนหน้า และค่าเงินภูมิภาค โดยเฉพาะริงกิตมาเลเซีย ในขณะที่ค่าเงินเยน วอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ -0.15 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำทรงตัว โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 29 ส.ค. 56 ปิดที่ 1,406.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,404.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ