รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และ 2557 “เศรษฐกิจไทยปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.5-4.0”

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 30, 2013 09:47 —กระทรวงการคลัง

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนกันยายน 2556 ว่า
“เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.5 และจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.0 หากการเร่งรัดการ
เบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2557 เป็นไปตามแผนของมาตรการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงส่วนหนึ่งมาจากการที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกชะลอลงกว่าที่คาด โดยเฉพาะการบริโภคและ
การลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากที่เร่งขึ้นไปมากในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ตามการใช้จ่ายในงบประมาณของรัฐบาลส่วนกลางและการลงทุนของ
รัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่า จะเติบโตในอัตราเร่งขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออก
ด้านบริการที่จะขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.0 — 2.5) ลดลงจากปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลง
ของอุปสงค์ภาคเอกชน ประกอบกับราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2557 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.6 — 5.6) โดยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งจะช่วยสนับสนุน การขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ นอกจากนี้ สถานการณ์การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีและภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายจากอัตรา

ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ ขณะที่แรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐ             มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2557 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่   ร้อยละ 2.3 — 3.3)     อันเป็นผลจากอุปสงค์ภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย       ตามแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก”

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “อย่างไรก็ตาม ในการประมาณการเศรษฐกิจจำเป็นต้องคำนึง ถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทย ภัยธรรมชาติและโรคระบาด ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรม อีกทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่จะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด”

                                                                   2555          2556 f                               2557 f
                                                                            (ณ กันยายน 2556)                      (ณ กันยายน 2556)
                                                                                  เฉลี่ย               ช่วง               เฉลี่ย              ช่วง

สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก

1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก                                3.4           3.3              3.0-3.5             3.8             3.3-4.3
(ร้อยละต่อปี)
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล)                             109.1          106            103.5—108.5           107           102.0-112.0
3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)                           0.6            0             -0.5 ถึง 0.5           0.5           -0.5 ถึง 1.5
4) ราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)                           5.9           -2.0          -2.5 ถึง -1.5           0.5           -0.5 ถึง 1.5
สมมติฐานด้านนโยบาย
5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)                                  31.1           30.6            30.1-31.1            31.0           30.0-32.0
6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละ)                            2.75           2.50            2.25-2.75            2.50           2.00-3.00
7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท)                        2.89           3.15            3.14-3.16            3.47           3.46-3.48

ผลการประมาณการ

1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี)                               6.5           3.7              3.5-4.0             5.1             4.6-5.6
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี)                           6.8           2.3              2.1-2.6             3.6             3.1-4.1
- การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี)                           6.7           2.1              1.9-2.4             3.4             2.9-3.9
- การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี)                              7.5           2.7              2.5-3.0             4.8             4.3-5.3
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี)                           13.2           4.4              3.9-4.9             10.3            9.3-11.3
    - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี)                       14.4           2.3              1.8-2.8             9.5             8.5-10.5
    - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี)                           8.9           12.3            11.8-12.8            13.4           12.4-14.4
4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ  (ร้อยละต่อปี)                  3.1           5.6              5.1-6.1             8.6             7.6-9.6
5) อัตราการขยายตัวปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ   (ร้อยละต่อปี)                 6.2           4.7              4.2-5.2             7.6             6.6-8.6
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)                                        6.0           4.9              4.4-5.4             1.5             0.5-2.5
    - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)                            3.1           1.8              1.3-2.3             7.5             6.5-8.5
    - สินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี)                            8.8           2.2              1.7-2.7             9.3             8.3-10.3
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)                                   0.2           1.3              0.3-2.3             0.1           -1.9 ถึง 2.1
    - ร้อยละของ GDP                                                  0.0           0.3              0.1-0.6             0.0           -0.5 ถึง 0.5
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี)                                        3.0           2.3              2.0-2.5             2.8             2.3-3.3
    อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี)                                      2.1           1.1              0.9-1.4             1.5             1.0-2.0
9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของกำลังแรงงานรวม)                            0.7           0.7              0.6-0.8             0.7             0.6-0.8

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3273

เอกสารแนบ

รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 และ 2557

1. เศรษฐกิจไทยในปี 2556

1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 3.5 — 4.0) โดยจะสามารถ ขยายตัวได้ร้อยละ 4.0 หากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2557 เป็นไปตามแผนของมาตรการ สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ การคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงเป็นผลมาจากการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกที่ต่ำกว่า ที่คาด (แม้ว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกของปีก่อน) ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอตัวลงมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.9 — 2.4) ในขณะที่การ ลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.0 — 2.5) ส่วนหนึ่งเนื่องจาก การเปรียบเทียบกับฐานที่สูงในปีก่อนจากการเร่งการลงทุนไปเพื่อซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย อย่างไรก็ดี การลงทุนในหมวดก่อสร้าง คาดว่าจะขยายตัวได้ดี สะท้อนได้จากยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.7 (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5 — 3.0) และ การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 11.8 — 12.8) ตามการใช้จ่าย ในงบประมาณของรัฐบาลกลางและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายได้ในเกณฑ์ปกติ แม้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐบางส่วน จะล่าช้าออกไปบ้าง โดยเฉพาะการใช้จ่ายตามแผนบริหารจัดการน้ำที่อาจมีความล่าช้าจากการทำประชาพิจารณ์ตามคำสั่งของศาลปกครอง สำหรับอุปสงค์ภายนอกประเทศนั้นคาดว่า การส่งออกสินค้าและบริการ จะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.1 — 6.1) โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการที่จะขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจากจีนและรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวชะลอลง เนื่องจาก เศรษฐกิจโลก ที่ฟื้นตัวอย่างล่าช้าส่งผลกระทบให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยลดลง ประกอบกับการส่งออกสินค้าประมง มีแนวโน้ม หดตัวจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งเพื่อผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.2 — 5.2) ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและ การลงทุน

1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ ที่ร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 — 3.3) ลดลงจากปีก่อนหน้า จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ลดลงตาม การชะลอตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน และแนวโน้มราคาน้ำมันดิบและ สินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งผลจากแนวทางการดูแลราคาน้ำมันขายปลีกของภาครัฐ ในส่วนของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6 — 0.8 ของกำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลที่

1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.0 ถึง 0.5 ของ GDP) โดย ดุลการค้าคาดว่าจะเกินดุลลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 4.4 — 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตาม มูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก อย่างไรก็ดี ดุลบริการคาดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. เศรษฐกิจไทยในปี 2557

2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.6 — 5.6) โดยมีแรงขับเคลื่อน หลักจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น การส่งออกที่ฟื้นตัว และแรงกระตุ้นจากการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการเบิกจ่าย เม็ดเงินตามแผนบริหารจัดการน้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และ การเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่ม เบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์

ที่ร้อยละ          2.9 — 3.9) ตามแนวโน้มรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับเพิ่มค่าจ้าง
ขั้นต่ำเป็น 300 บาท และสถานการณ์การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้ม อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้
ภาวะการเงินโดยรวมที่ผ่อนคลาย สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ จะยังคงเอื้อต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน เช่นเดียว
กับการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ชัดเจนขึ้น    โดยจะขยายตัวร้อยละ 9.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.5 — 10.5)
จากปัจจัยสนับสนุนสำคัญ อาทิ ความจำเป็นในการลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และมูลค่าการขอรับ
และออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐ
คาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ที่ร้อยละ 4.3 — 5.3) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์  ที่ร้อยละ 12.4 — 14.4) จากการใช้จ่าย
นอกงบประมาณที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2557 โดยเฉพาะ เม็ดเงินจากการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่คาดว่า
จะเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายเม็ดเงินตามแผน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป สำหรับ
อุปสงค์ภายนอกประเทศนั้นคาดว่า การส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์
ที่ร้อยละ 7.6 — 9.6) เนื่องจากคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่
ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นโดยได้รับอานิสงส์จากโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ
แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังอยู่ในช่วงของ การปรับตัวต่อเสถียรภาพในระบบการเงินก็ตาม ขณะที่การส่งออกด้านบริการคาดว่าจะขยายตัวตามจำนวน
นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6
(โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.6 — 8.6) สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้จ่ายภาคเอกชนที่คาดว่าจะเร่งขึ้น และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก
นอกจากนี้ จะยังได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ของภาครัฐอีกด้วย

2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากการเร่งขึ้นของ อุปสงค์ภายในประเทศ และแรงกดดันด้านต้นทุนที่มีแนวโน้มปรับตัว เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สอดคล้องกับอุปสงค์โลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ในส่วนของอัตราการว่างงาน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 0.6 — 0.8 ของกำลังแรงงานรวม) สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพียงเล็กน้อยที่ 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.0 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.5 ถึง 0.5 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้า ที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.5 ถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้า ที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่ง กว่ามูลค่าสินค้าส่งออก

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 102/2556 27 กันยายน 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ