เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 3, 2013 14:21 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2556 มีสัญญาณทรงตัว โดยแม้ว่าเครื่ องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายภายในประเทศมีสัญญาณดีขึ้น แต่ตัวเลขภาคการส่งออกยังคงมีสัญญาณชะลอตัว อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถขยายตัวได้ดีและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2556 ส่งสัญญาณดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนตุลาคม 2556 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) กลับมาขยายตัวร้อยละ 11.9 ต่อเดือน ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศที่กลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 9.1 ต่อปี สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้โนเกณฑ์ดี สำหรับการบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนได้จากปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2556 หดตัวร้อยละ -11.1 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อเดือน โดยมาจากยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -12.2 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -13.6 เป็นสำคัญ สำหรับดชนีความเชื่อม่นผู้บริโภคเกี่ยวกบภาวัเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ระดับ 66.6 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 หลังจากนโยบายของภาครัฐเริ่มทยอยหมดลง รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วม ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง เป็นสำคัญ

    เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2555                  2556
                                             Q1     Q2     Q3     ก.ย.   ต.ค.   YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)         14.1    6.9   -0.1   -7.3   -19.4    2.7   -0.2
   %qoq_SA / %mom_SA                   -   -0.9   -3.1   -3.1    -4.0   11.9      -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)     5.8    5.4   -6.2   -8.7   -11.1  -11.1   -4.1
   %qoq_SA / %mom_SA                   -   -1.1   -4.8   -3.7    -1.1    8.0      -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                  67.6   73.8   72.8   69.3    67.9   66.6   71.5

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2556 มีสัญญาณดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสงหาริมทรพย์ในเดือนตุลาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) กลับมาขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อเดือน จากอุปสงค์ของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการขยายการลงทุนและเปิดตัวโครงการใหม่ไปในทำเลใหม่ที่มีศักยภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนตุลาคม 2556 หดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อเดือน สะท้อนถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีการเติบโตและกลับเข้าสู่ระดับปกติภายหลังจากที่มีการเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2555

    เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                   2555                      2556
                                                       Q1      Q2     Q3      ก.ย.    ต.ค.    YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)         21.4     35.2    11.0   22.0     12.6    14.9    20.9
   %qoq_SA / %mom_SA                           -     -1.4    -1.7    8.0     -7.2     9.6       -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                   10.6     15.9    14.6    3.0      3.4    -1.1     9.7
   %qoq_SA / %mom_SA                           -     -0.3     1.3   -1.8     -0.7     2.1       -

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนตุลาคม 2556 มีจำนวน 178.5 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี สำหรับผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนตุลาคม 2556 มีจำนวน 258.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -17.3 ต่อปี เนื่องมาจากการเริ่มต้นของปีงบประมาณ 2557 ที่ช้ากว่าปกติ โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 244.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -16.0 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 241.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.8 (2) รายจ่ายลงทุน 2.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -31.9 สำหรับดุลเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2556 ขาดดุลจำนวน -78.5 พันล้านบาท

    เครื่องชี้ภาคการคลัง                         FY2556                       FY2556               FY2557
                                                      Q1/      Q2/      Q3/     Q4/     ก.ย.    ต.ค.
                                                     FY56     FY56     FY56    FY56
รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)    2,157.5  508.5    469.6    641.9   537.5   193.4   178.5
   (%y-o-y)                                    9.2   27.6     13.7      3.4    -1.2     9.8    21.4
รายจ่ายรัฐบาลรวม                             2,402.5  785.9    585.7    482.0   548.9   234.3   258.3
   (%y-o-y)                                    4.7   60.5    -24.9      4.8    -3.0     3.1   -17.3
ดุลเงินงบประมาณ                               -244.9 -283.9   -109.1    165.1   -17.0     2.2   -78.5

4. การส่งออกในเดือนตุลาคม 2556 ยังคงมีสัญญาณชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรฐในเดือนตุลาคม 2556 มีมูลค่า 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -0.7 ต่อปี แต่ถือได้ว่าหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -7.1 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสินค้าส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 2.8 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ และการส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลักสำคัญ เช่น ตลาดจีน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน-9 ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 14.5 6.5 7.0 และ 2.5 ต่อปี สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรฐ ในเดือนตุลาคม 2556 มีมูลค่าอยู่ที่ 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -5.4 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐทำให้ดุลการค้าในเดือนตุลาคม 2556 ขาดดุลอยู่ที่ -1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

           ประเทศคู่ค้าหลัก                               2556
     (สัดส่วนการส่งออกปี 2555)        2555      Q1       Q2     Q3     ก.ย.     ต.ค.     YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                3.1     4.3     -2.2   -1.7    -7.1     -0.7    -0.02
%qoq_SA / %mom_SA                    -    -0.9     -3.1    1.5    -6.3      n.a.       -
1.จีน (11.7%)                       2.5     7.3    -13.4   -0.3     1.2     14.5     -0.9
2.ญี่ปุ่น (10.2%)                     -1.6     1.5     -6.2  -10.1   -13.6    -12.1     -5.8
3.สหรัฐฯ (9.9%)                     4.6     2.6     -3.5    0.7    -0.7      6.5      0.6
4.สหภาพยุโรป (8.5%)                -9.2     8.7     -5.2    8.5    -2.7      7.0      2.6
5.ฮ่องกง (5.7%)                     9.6    11.2      7.8   -1.4    -1.3    -14.5      3.2
6. ตะวันออกกลาง (5.0%)              6.6     4.4     -5.6    3.4    21.0      0.8      0.7
7.ทวีปออสเตรเลีย (4.9%)             22.1    30.4     14.5    4.9   -30.7     -7.9      8.9
PS.อาเซียน-9 (24.7%)                5.0     5.9      2.5   10.8     6.6      2.5      5.9

5. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านอุปทานในเดือนตุลาคม 2556 พบว่า ภาคบริการสะท้อนจากการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดีตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.07 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 14.7 ต่อปี และเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มภูมิภาค โดยประเทศหลักๆ มาจากนักท่องเที่ยว จีน รัสเซีย และมาเลเซีย ที่ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 17.9 30.8 และ 14.6 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตภาคการเกษตรในเดือนตุลาคม 2556 พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัว ร้อยละ 5.3 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (m-o-m SA) กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อเดือน ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอยู่ในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว และสอดคล้องกับผลผลิตยางพาราที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากพื้นที่เพราะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับดชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2556 ยังคงหดตัวร้อยละ -4.0 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) น้ำมันปิโตรเลียม และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต (Cap U) ในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ระดับ 63.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย สำหรับ ดชนีความเชื่อม่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ระดับ 92.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน จากทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อ ยอดขายในประเทศ และปริมาณการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมพลังงาน แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น

     เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน            2555                   2556
                                               Q1       Q2      Q3      ก.ย.     ต.ค.     YTD
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%yoy)               2.2    2.9     -4.9    -3.5     -2.9     -4.0     -2.1
   %qoq_SA / %mom_SA                     -   -2.9     -5.7    -2.1     -3.3      n.a.       -
ดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (%yoy)               3.9   -0.2      0.5    -3.4     -4.3      5.3     -0.4
   %qoq_SA / %mom_SA                     -   -1.5      1.1    -3.1     -1.7      7.7        -
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                16.2   18.9     21.3    26.1     27.6     14.7     22.3
   %qoq_SA / %mom_SA                     -    2.1      8.3     6.6     -2.2     -2.0        -

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอตราเงินเฟ้อท่วไปในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม เป็นสำคัญ สำหรับอตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 สำหรับอตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเท่ากับ 2.64 แสนคน สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณัต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 45.5 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองรัหว่างปรัเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2556 อยู่ในระดับสูงที่ 172.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

     เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ            2555                   2556
                                               Q1     Q2     Q3      ก.ย.    ต.ค.    YTD
ภายในประเทศ
  เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                    3.0    3.1    2.3    1.7      1.4     1.5     2.3
  เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                   2.1    1.5    1.0    0.5      0.6     0.7     1.0
  อัตราการว่างงาน (yoy%)                 0.7    0.7    0.7    0.8      0.7     0.6     0.7
  หนี้สาธารณะ/GDP                       44.0   44.2   44.5   45.5     45.5     n.a.   45.5
ภายนอกประเทศ
  ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)              -1.5    1.5   -6.7   -0.9     -0.5     0.4    -5.7
  ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)            181.6  177.8  170.8  172.3    172.3   172.1   172.1
  ฐานะสุทธิ Forward (พันล้าน $)           24.1   23.7   23.7   21.2     21.2    21.8    21.8

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ