Executive Summary
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนก.พ. 57 ปีงบประมาณ 2557 ขยายตัวร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ. 57 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน 48.9 พันล้านบาท
- การส่งออกในเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้า หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -16.6
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ. 57 หดตัวร้อยละ -54.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวร้อยละ -35.9
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ. 57 หดตัวที่ร้อยละ -4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ระดับ 85.7
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 4 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 4 ปี 56 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากoช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC Mfg. PMI) จีน เดือน มี.ค. 57 ปรับลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 48.1 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อสหภาพยุโรป เดือน มี.ค. 57 อยู่สูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ระดับ 53.2
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Mar : Headline Inflation (% YoY) 2.1 2.0
โดยราคาสินค้าหมวดอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่างคาดว่าจะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 (mom)
Economic Indicators: This Week
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนก.พ. 57 ปีงบประมาณ 2557 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 174.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.7 ต่อปี โดยในเดือนก.พ. 57 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 154.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.1 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 141.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.8 (2) รายจ่ายลงทุน 12.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 53.6 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการ 24.0 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 23.9 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 20.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 57 ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงปม. เบิกจ่ายได้ 1,101.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 43.6 ของวงเงินงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ. 57 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -48.9 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -5.7 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเบิกเงินที่ได้รับจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 4.1 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน -54.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 งบประมาณขาดดุลจำนวน -433.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -54.5 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -487.7 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ 236.6 พันล้านบาท
- การส่งออกในเดือน ก.พ. 57 มีมูลค่า 18,363.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.0 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวร้อยละ -1.3 จากการหดตัวสูงของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ร้อยละ -11.9 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.8 และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัวที่ร้อยละ -28.9 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.15 อย่างไรก็ตาม สินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 6.4 จากการขยายตัวดีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ร้อยละ 9.6 และ 7.2 ตามลำดับ ประกอบกับสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ราคาสินค้าส่งออกหดตัวร้อยละ -1.9 และปริมาณการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปี 57 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2
- การนำเข้าในเดือน ก.พ. 57 มีมูลค่า 16,596.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -16.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.5 จากการหดตัวในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -28.9 รวมถึงสินค้ายานยนต์ที่หดตัวร้อยละ -33.7 และสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -9.7 ในขณะที่สินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -1.5 ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าหดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -15.3 จากการที่มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 57 เกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ 29,066 คัน หรือหดตัวร้อยละ -54.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -55.9 ส่วนหนึ่งจากฐานการคำนวณในครึ่งปีแรกของปี 2556 ที่สูงกว่าแนวโน้มปกติ จากการผลิตเพื่อส่งมอบตามนโยบายรถคันแรก ทั้งนี้ 2 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -55.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ 42,614 หรือหดตัวร้อยละ -35.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -36.2 ตามการลดลงของยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -35.6 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -37.1 ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศเนื่องจากมีการเร่งการลงทุนไปแล้วในปีก่อน ประกอบกับปัญหาความไม่สงบทางการการเมือง ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งนี้ในช่วง 2 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวที่ร้อยละ -36.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.พ. 57 หดตัวที่ร้อยละ -4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องประดับ อย่างไรก็ดี บางอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องแต่งกาย วิทยุโทรทัศน์ เคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ หากพิจารณาแบบ (%mom_sa) พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ระดับ 85.7 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 86.9 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 56 เดือน เป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ทำให้กำลังซื้อโดยรวมของประเทศอ่อนแอลง เห็นได้จากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมี.ค. 56 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 โดยราคาสินค้าหมวดอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่างคาดว่าจะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 (mom)
Global Economic Indicators: This Week
- GDP ไตรมาส 4 ปี 56 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าการประกาศครั้งก่อนๆหน้า ทำให้ทั้งปี 56 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 82.3 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 78.3 จุดในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี โดยเป็นผลจากดัชนีแนวโน้มธุรกิจ ดัชนีภาวการณ์จ้างงาน และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.พ. 57 หดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ใบอนุญาตก่อสร้างในช่วงเดียวกันขยายตัวร้อยละ 7.7 จากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ภาคการก่อสร้างที่ยังคงขยายตัวได้หากไม่มีปัจจัยด้านภูมิอากาศ ยอดขายสินค้าคงทน เดือน ก.พ. 57 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนหน้า แต่หากหักยานพาหนะออกจะขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรยังขยายตัวดี บ่งชี้แนวโน้มการลงทุนที่ขยายตัวต่อเนื่อง
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (HSBC Mfg. PMI) (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน มี.ค. 57 ปรับลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 48.1 จุด โดยดัชนีดังกล่าวอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกันแล้ว จากผลผลิตและยอดซื้อสินค้าใหม่ที่ชะลอลง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านวันหยุดยาวในช่วงตรุษจีนเป็นสำคัญ
- อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 57 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนภาพรวมตลาดการจ้างงานภายในประเทศซึ่งเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อกำลังซื้อของคนญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจาก อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 56 และกลับมาอยู่ในแดนบวกเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันจากราคาสินค้าหมวดอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มิใช่อาหารที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 57 ที่ขยายตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน มี.ค. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่สูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ระดับ 53.2 โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 53.0 และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 52.4 ซึ่งสะท้อนการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการผลิต สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจที่มีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 57 เศรษฐกิจยูโรโซนจะกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรก หลังจากหดตัว 2 ปีติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราการว่างงานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 12.0 ของกำลังแรงงาน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางยุโรปที่ตั้งไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยล่าสุดในเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งถือว่าต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 56 สร้างความกังวลว่ายูโรโซนอาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 57 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 ผลจากราคาหมวดขนส่งที่หดตัว ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ปรับตัวลดลง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 57 ขยายตัวร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 6.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการผลิตหมวดเครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง สิ่งพิมพ์ เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และเครื่องจักรกลที่ขยายตัวเร่งขึ้น บ่งชี้ภาคอุปทานที่กลับมาขยายตัว
- มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นสัญญาณของการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ การนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมาก ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ม.ค. 57 ขาดดุล -1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลมากกว่าเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 57 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ในช่วง 2 เดือนแรกการส่งออกหดตัวร้อยละ -0.4 จากการส่งออกไปยังคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และอินเดียที่หดตัวเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 57 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 57 ขาดดุลที่ 53.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง
- GDP ไตรมาส 4 ปี 56 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า จากทั้งภาคการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ทั้งปี 56 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับสูงกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ระดับ 108.0 จุด ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้น สะท้อนภาคการบริโภคที่ส่งสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 57 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ
- อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 470,000 คน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 57 กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวร้อยละ -1.8 ในเดือนก่อนหน้าส่วนหนึ่งจากเทศกาลตรุษจีนที่มีวันหยุดยาว โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -10.4 ส่วนหนึ่งจากราคาสินแร่ในตลาดโลกที่ยังคงซบเซาในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตกลับมาขยายตัวร้อยละ 7.6 หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ภาคอุปทานที่ยังคงขยายตัวได้
- ดัชนี SET เคลื่อนไหวในลักษณะ sideway ด้วยมูลค่าซื้อขายเบาบาง โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 27 มี.ค. 57 ปิดที่ 1,355.95 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพียง 23,833 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยในประเทศและนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 24 - 27 มี.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 5,448.4 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะปานกลางและยาวปรับตัวลดลง 1-6 bps จากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนให้ความสนใจประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 30 ปี ที่มีการประมูลในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระหว่างวันที่ 24 - 27 มี.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ -492.2 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 27 มี.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.62 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ค่าเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินหยวน แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.96 จากปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 27 มี.ค. 57 ปิดที่ 1,290.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงเล็กน้อยจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,309.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th