Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.3
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ. 57 เกินดุลสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5,065.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 9.0
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวร้อยละ 20.4 จากกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 57 อยู่ที่ร้อยละ 46.1 ของ GDP
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 58.7
- GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) สหรัฐฯ เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด
- วันที่ 1 เม.ย. 57 รัฐบาลญี่ปุ่นปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 8.0 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 5.0
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือน มี.ค. 57 ญ เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 50 มาอยู่ที่ระดับ -9.3
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Mar : API (% YoY) 1.5 1.9
ตามการลดลงของผลิตสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 อย่างไรก็ดี ผลผลิตยางพาราและข้าวโพด คาดว่าจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Economic Indicators: This Week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผักสดและปศุสัตว์ เนื่องจากภัยแล้งส่งผลให้อุปทานลดลง ประกอบกับอาหารสำเร็จรูปมีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากการทยอยปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 สะท้อนถึงเสถียรภาพด้านราคาที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ การผลิตและค่าแรง ปรับตัวสูงขึ้นจะเห็นได้จากดัชนีหมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 7.1 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตสูงขึ้นร้อยละ 5.8 และ หมวด
- สุขภัณฑ์สูงขึ้นร้อยละ 0.3 สำหรับหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 4.2 เป็นผลจากแหล่งธรรมชาติของหิน ทรายและดินหายากขึ้น-I ขณะที่หมวดดัชนีราคาที่ลดลง เป็นผลจากภาวะการณ์ก่อสร้างชะลอตัวลงจากสถานการณ์การเมืองที่ยังคงยืดเยื้อ จะเห็นได้จากดัชนีหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาลดลงร้อยละ 2.1 หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ลดลงร้อยละ 0.9 และหมวดวัสดุฉาบผิวลดลงร้อยละ 0.7 สำหรับหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงร้อยละ 3.1 เป็นผลจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ. 57 เกินดุลสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5,065.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 262.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าเกินดุลสูงถึง 3,896.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการหดตัวของการนำเข้าถึงร้อยละ -18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากปัจจัยฐานสูง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในขณะที่การส่งออกขยายตัว ขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิเกินดุล 1,169.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลดลงของรายจ่ายค่าระวางสินค้า สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวลดลงต่อเนื่อง จากผลกระทบของการชุมนุมทางการเมืองในประเทศ ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 57 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,328.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยหากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่าสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ ควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงอุปสงค์ภายในที่เริ่มมีทิศทางชะลอลง ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณดีขึ้น แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงการขยายตัวของสินเชื่อในอนาคต
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเงินฝากของทั้งธนาคารพาณิชย์ที่เร่งขึ้น ขณะที่เงินฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอลง โดยการแข่งขันระดมเงินฝากทยอยลดความร้อนแรงจากช่วงก่อนหน้าตามทิศทางการขยายตัวของสินเชื่อที่ชะลอลง
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.พ. 57 ขยายตัวร้อยละ 20.4 จากกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.2 ตามการเพิ่มขึ้นของยอดขายเหล็กเส้นข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 64.4 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) ที่ขยายตัวร้อยละ 21.8 ต่อปี เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 13.2) ที่ขยายตัวร้อยละ 24.2 ต่อปี และเหล็กเส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 11.2) ที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ต่อปี เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมในช่วง 2 เดือนแรกปี 57 ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,530.4พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 64.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.1 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 67.5 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณและการบริหารหนี้จำนวน 36.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 98.1 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.2 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 58.7 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ระดับ 59.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ 1. ความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจไทยค่อนข้างสูง เนื่องจากจะกระทบต่อการใช้นโยบายต่างๆของรัฐบาล 2. ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มค่าครองชีพที่ทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และ 3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวให้ลดลง
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มี.ค. 57 มีจำนวน 165,284 คัน หรือหดตัวร้อยละ -18.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนืองจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -14.0 โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -20.2 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -24.1 สอดคล้องกับยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.หดตัวร้อยละ -11.2 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 25.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่หดตัวลงทั่วทุกภาคของประเทศ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน มี.ค. 57 คาดว่าจะขยายในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญโดยเฉพาะข้าวเปลือก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 อย่างไรก็ดี ผลผลิตยางพาราและข้าวโพด คาดว่าจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Global Economic Indicators: This Week
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ ดัชนีการผลิต ดัชนียอดคำสั่งซื้อคงค้าง และดัชนีการส่งออกเป็นสำคัญ ในขณะที่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.1 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.6 จุด จากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ดัชนีการจ้างงาน ดัชนียอดคำสั่งซื้อคงค้าง และดัชนีการนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้น บ่งชี้การฟื้นตัวของภาคการผลิตสหรัฐฯ หลังประสบภาวะอากาศหนาวเย็นผิดปกติในช่วงเดือน ธ.ค. 56 - ก.พ. 57
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม โดย NBS เดือน มี.ค. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด เช่นเดียวกันกับดัชนีฯ ซึ่งจัดทำโดย HSBC ปรับลดอยู่ที่ระดับ 48.0 จุด โดยอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน สะท้อนกิจกรรมการผลิตในจีนที่ส่งสัญญาณชะลอตัว ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ (HSBC) ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ที่ระดับ 51.9 จุด จากการจ้างงานในภาคบริการของจีนที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
- วันที่ 1 เม.ย. 57 รัฐบาลญี่ปุ่นปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 8.0 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการผลิตที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราใหม่อาจกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 53.9 จุด จากระดับ 55.5 จุดในเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ ดัชนีฯ ยังคงอยู่เกินกว่าระดับ 50.0 จุดต่อเนื่อง บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 57 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 50 มาอยู่ที่ระดับ -9.3 สะท้อนการบริโภคที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 57 ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน มี.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) อยู่สูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ระดับ 53.1 โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการอยู่ที่ระดับ 53.0 และ 52.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม โดยในวันที่ 3 เม.ย. 57 ECB ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25 แต่แสดงจุดยืนที่จะพร้อมดำเนินนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมในกรณีที่สถานการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อ อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 57 ลดลงแต่ยังคงอย่ในระดับสงที่ร้อยละ 11.9 ของกำลังแรงงานรวม
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 ลดลงอยู่ระดับ 51.3 จุด และดัชนีฯภาคบริการ เดือน มี.ค. 57 ลดลงอยู่ที่ระดับ 47.5 จุด สะท้อนกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว ขณะที่ภาคบริการมีแนวโน้มหดตัว จากดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดต่อเนื่อง 9 เดือน วันที่ 1 เม.ย. 57 ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มี.ค. 57 ไว้ที่ร้อยละ 8.0 ต่อปีเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน
- มูลค่าส่งออก เดือน ก.พ. 57 หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.9 ผลจากการส่งออกอัญมนีที่ดีขึ้น และมูลค่านำเข้าเดือน ก.พ. 57 หดตัวร้อยละ -10.0 จากการนำเข้าเหล็กลดลง โดยสรุป การนำเข้าที่หดตัวในอัตราสูงกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 57 เกินดุล 785.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 7.7 ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 50.5 จุด จากดัชนีผลผลิตที่ลดลงเป็นสำคัญ
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 50.9 จุด ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ลดลงเป็นสำคัญ
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.1 จากราคาสินค้าในทุกหมวดยกเว้นอาหารที่ปรับตัวลดลง
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ผลจากทุกภาคส่วนที่ขยายตัวชะลอลง โดยภาคการผลิต ภาคการเกษตรและภาคบริการขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ,2.4 และ 6.0 มูลค่าส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากฐานสูงของการส่งออกแร่อัญมณีและเหล็กในปีก่อน ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากฐานสูงของการนำเข้าอาหารสัตว์ในปีก่อน ดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 ขาดดุล -300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 57 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.3
- ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 57 หดตัวร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของสินค้าทุกประเภทยกเว้นหมวดเชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องประดับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน มี.ค. 57 ปรับลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 50 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 49.9 จุด จากการผลิตและดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ชะลอลงเล็กน้อย
- มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ขยายตัวในอัตราเร่งในเดือนดังกล่าว และมูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเกินกว่าระดับ 50 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
- มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 57 ขยายตัวร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าสำคัญอาทิ จีน ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง และมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 57 ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าหมวดอาหาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนดังกล่าวเกินดุลมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้น ใกล้ระดับ 1,400 จุด โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 3 เม.ย. 57 ปิดที่ 1,391.22 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 30,207 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยในประเทศขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 31 มี.ค. - 3 เม.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 5,637.6 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง 1-4 bps จากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติ โดยเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่ออกมาในอาทิตย์นี้ส่งผลบวกต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจโลก โดยระหว่างวันที่ 31 มี.ค. - 3 เม.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 5,115.6 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 3 เม.ย. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.40 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินหยวน ในขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลง ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในระดับที่สูงกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.59 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำทรงตัว โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 3 เม.ย. 57 ปิดที่ 1,287 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,284 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th