Executive Summary
Indicators this week
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค. 57 หดตัวร้อยละ -13.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนมี.ค. 57 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม หดตัวร้อยละ -9.4
- วันที่ 23 เม.ย. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนมี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวร้อยละ -0.3
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 57 หดตัวร้อยละ -9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP จีน ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ขณะที่ GDP เกาหลีใต้ ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรปเดือนเม.ย. 57 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ระดับ -8.7
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Mar : MPI (%yoy) -5.0 -4.4
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความไม่สงบภายในประเทศที่มีการชุมนุมที่ยืดเยื้อมากกว่าที่คาด และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมให้ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนอาจจะชะลอการผลิต อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนมีการปรับตัวมาผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น
Economic Indicators: This Week
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค. 57 ได้จำนวน 129.4 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 19.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 โดยมีรายการสำคัญดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบของการปรับลดอัตราภาษีที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ประกอบกับมีการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมและประกันชีวิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีจากการนำเข้าจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการนำเข้าที่ชะลอล ทั้งนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วงครึ่งแรกของปี งปม. 57 (ต.ค. 56 - มี.ค. 57) ได้จำนวน 935.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 20.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.2
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนมี.ค. 57 มีมูลค่า 54.1 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.4 ตามการลดลงของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่หดตัวร้อยละ -10.0 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -8.0 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.9 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ในช่วง 3 เดือนแรกปี 57 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนมี.ค. 57 หดตัวร้อยละ -9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -4.9 จากเดือนก่อนหน้า) ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานในการคำนวณสูงเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากไปแล้วในปี 56 จากความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุด รวมทั้ง ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มทรงตัวในปี 57 ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 57 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม หดตัวที่ร้อยละ -6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- วันที่ 23 เม.ย. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปีจากการที่ กนง. ประเมินว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นหลัก ขณะที่ภาวะการเงินไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้จ่ายในประเทศ และนโยบายการเงินในปัจจุบันยังผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนมี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ภัยแล้ง สอดคล้องกับผลผลิตยางพารายังคงขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกัน อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวโพดยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทำให้เกษตกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 แล้วหันมาปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าวนาปรัง ส่วนในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกปี 57 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนมี.ค. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.5 ตามราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องราคาข้าวเปลือกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ตามอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตหลักอย่างเวียดนามและอินเดีย อย่างไรก็ดี ราคาผลผลิตกุ้งยังขยายตัวในอัตราเร่ง เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกปี 57 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตกรที่แท้จริงหดตัวเล็กน้อยเช่นกันที่ร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.1 ล้านคน หรือหดตัวร้อยละ -9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ปี 57 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 6.6 ล้านคน หดตัวร้อยละ -5.85 ต่อปี ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่หดตัวลงมาจาก จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง หดตัวร้อยละ -17.8 -15.8 -22.6 และ -56.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเขต กทม.
Economic Indicators: Next Week
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมี.ค. 57 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความไม่สงบภายในประเทศที่มีการชุมนุมที่ยืดเยื้อมากกว่าที่คาด และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมให้ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนอาจจะชะลอการผลิต อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนมีการปรับตัวมาผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
- ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยหากหักยอดขายรถยนต์แล้วจะขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากการขยายตัวของยอดขายหมวดวัสดุก่อสร้างและยอดขายสินค้าทั่วไปที่ขยายตัวดี ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อย่างไรก็ตาม ใบอนุญาตก่อสร้างในเดือนเดียวกันหดตัวร้อยละ -2.4 จากเดือนก่อนหน้า จากการเร่งขออนุมัติการก่อสร้างในเดือน ก.พ. 57 ภายหลังจากสหรัฐฯ ประสบภาวะอากาศหนาวเย็นผิดปกติในช่วงต้นปี
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากไตรมาสก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.7 จากการบริโภค การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศที่ชะลอลง ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ราคาบ้าน เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (HSBC) เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 48.3 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 48.0 จุดในเดือนก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -2.3 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 57 ปรับลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 37.4 จุด สะท้อนมุมมองผู้บริโภคที่ยังคงกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 จากการส่งออกไปยังจีนที่ชะลอลงจากปัจจัยฐานสูงเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 18.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนเดียวกัน ขาดดุล -1.4 ล้านล้านเยน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ระดับ -8.7 สะท้อนภาคการบริโภคที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน เม.ย. 57 (ตัวแลขเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 35 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 54.0 สะท้อนภาคการผลิตที่ขยายตัวดี โดยดัชนีฯภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการอยู่ที่ระดับ 53.3 และ 53.1 ตามลำดับ
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 หรือหดตัวร้อยละ -0.5 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากการส่งออกไปยูโรโซนที่หดตัวร้อยละ -11.3 ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 15.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 6.6 จากการนำเข้าเครื่องจักรที่ขยายตัวเร่งขึ้น ร้อยละ 9.0 ส่งผลให้ ดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 เกินดุล 2.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
- มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 57 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้ ดุลการค้า เดือน ก.พ. 57 ขาดดุล -66.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 1 ปี 57 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งถือว่ายังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่งผลให้คาดว่าธนาคารกลางออสเตรเลียน่าจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ได้ต่อเนื่องในระยะต่อไป
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า จากการลงทุนและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีขึ้น
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 57 ทรงตัวที่ระดับร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าในทุกหมวดย่อยขยายตัวชะลอลง ยกเว้นหมวดอาหารซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย อัตราว่างงาน เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อน จากราคาอาหารและสินค้าอุตสาหกรรมที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อน อัตราว่างงาน เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้น ด้วยมูลค่าซื้อขายเบาบาง โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 24 เม.ย. 57 ปิดที่ 1,422.67 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 32,232 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยในประเทศ และนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ โดยนักลงทุนเริ่มคลายกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ขณะที่ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 - 24 เม.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 4,502.4 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-14 bps ตาม US Treasury ผลจากภาวะ risk appetite ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ในภูมิภาคอีกครั้ง โดยระหว่างวันที่ 21 - 24 เม.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 2,736.3 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 24 เม.ย. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.56 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินหยวน ในขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในระดับที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ -0.19 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 24 เม.ย. 57 ปิดที่ 1,293.24 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,289.54 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th