Executive Summary
Indicators this week
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือนเม.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 57.7
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนเม.ย. 57 หดตัวร้อยละ -21.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย.57 หดตัวร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 46.1 ของ GDP
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนเม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.8
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.34 ล้านล้านบาท
- อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Apr : TISI (Index) 84.0 84.7
จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองที่มีการชุมนุมในหลายพื้นที่และอยู่ในช่วงการรอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสถานภาพของนายกรัฐมนตรีรักษาการที่จะมีขึ้นภายในต้นเดือน พ.ค. 57 ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยเนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่นโดยรวม
Economic Indicators: This Week
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือนเม.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 57.7 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ระดับ 59.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ 1. ความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจไทยค่อนข้างสูง เนื่องจากจะกระทบต่อการใช้นโยบายต่างๆของรัฐบาล 2. ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มค่าครองชีพที่ทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และ 3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวให้ลดลง
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนเม.ย. 57 มีจำนวน 139,875 คัน หรือหดตัวร้อยละ -21.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -18.1 โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -22.6 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -20.2 สอดคล้องกับยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.หดตัวร้อยละ -17.0 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่หดตัวลงทั่วทุกภาคของประเทศ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวัง การใช้จ่ายสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย ในเดือน เม.ย.57 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.0 ล้านคน หดตัว ร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ขยายตัว ร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล แต่ยังคงมีการใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ วันที่ 19 มี.ค. -30 เม.ย. 57 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ได้ลดระดับการประกาศเตือนพลเมืองเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,550.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 3.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.1 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 13.5 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณและการบริหารหนี้จำนวน 9.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 97.8 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.1 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนเม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 แล้วหันมาปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าวนาปรัง สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนเม.ย. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.3 ตามราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับราคาข้าวเปลือกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ตามอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตหลักอย่างเวียดนามและอินเดีย อย่างไรก็ดี ราคาผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาผลผลิตกุ้งยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.34 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.6 ขณะที่ยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในเดือนเดียวกันหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ ควรติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการขยายตัวของสินเชื่อ ซึ่งจะส่งผ่านมายังความเข้มข้นในการระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป
- การจ้างงานเดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ 37.32 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.9 หมื่นคน ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 57 มีผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.69 ล้านคน ลดลดจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.24 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ 1.9 โดยมีสาเหตุมาจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมเป็นสำคัญตามการลดลงของผลผลิตข้าวเปลือก เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ดี การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในช่วง 4 เดือนแรกยังคงขยายตัวได้ดีทั้งการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สะท้อนให้เห็นว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรยังคงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.44 แสนคน
Economic Indicators: Next Week
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 57 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 84.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 84.7 จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองที่มีการชุมนุมในหลายพื้นที่และอยู่ในช่วงการรอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสถานภาพของนายกรัฐมนตรีรักษาการที่จะมีขึ้นภายในต้นเดือน พ.ค. 57 ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยเนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่นโดยรวม
Global Economic Indicators: This Week
- การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน เม.ย. 57 เพิ่มสูงขึ้นถึง 288 ตำแหน่ง จากการจ้างงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะหมวดการค้าและขนส่งและหมวดธุรกิจ ทำให้อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 57 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5.5 ปีมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ของกำลังแรงงานรวม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด สูงสุดในรอบ 8 เดือน จากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจและคำสั่งซื้อใหม่ที่สูงขึ้น ดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 ขาดดุล 52.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นเป็นสำคัญ ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากราคาการคมนาคมที่กลับมาขยายตัว
- มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งการส่งออกและนำเข้ากลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวติดต่อกัน 2 เดือน ทำให้ดุลการค้า เดือน เม.ย. 57 เกินดุล 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 57 โดย HSBC อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด เพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากลดลงติดต่อกัน 5 เดือน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน เม.ย. 57 โดย HSBC อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตภาควงจรไฟฟ้า อุปกรณ์การคมนาคมขนส่ง และแก้วที่ขยายตัวดี ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 12.2 ในเดือนก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 55 จากการบริโภคที่ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก่อนการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือน เม.ย. 57
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 ที่ร้อยละ 0.2 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 54.0 จุด เป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยดัชนีฯภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการอยู่ที่ระดับ 53.4 และ 53.1 ตามลำดับด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 57 (ตัวเลข Final) ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นระดับต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
- GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากการส่งออกที่หดตัวและการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลงมูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค.57 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหดตัวร้อยละ -2.5 จากการส่งไปออกไปออสเตรเลียและสหรัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้น ด้านมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -9.9 จากการนำเข้าสินค้าหมวดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 เกินดุล 673.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 12.3 จากการส่งออกไปจีนที่หดตัวร้อยละ -1.8 ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 9.5 จากการนำเข้าสินค้าขั้นกลางที่หดตัวร้อยละ -3.4 โดยสรุปดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 เกินดุล 9.6 พันล้านริงกิต
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 50.8 จุด ผลจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
- มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 11.6 เดือนก่อน จากการส่งออกไปจีนที่หดตัวร้อยละ -13.5 อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.9 จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่เร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.1
- ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดค้าหมวดอาหารที่ชะลอลง มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 16.7 ในเดือนก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในเดือนก่อน ดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 เกินดุล 7.3 ร้อยล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
- มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 7.5 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน เม.ย. 57 เกินดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 57 ทรงตัวที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากช่วงต้นสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 15 พ.ค. 57 ปิดที่ 1,395.21 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 39,707.01 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ อีกทั้ง ในระหว่างวันที่ 12 -15 พ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 455.68 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปปรับลดลง ประมาณ 1-11 bps.จากการที่นักลงทุนเริ่มกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยระยะยาว ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน กอปรกับการออกพันธบัตรใหม่ระยะยาวในเดือนนี้ของรัฐบาลที่มีจำกัด แรงซื้อที่มีมากกว่าปริมาณพันธบัตรส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 12 - 15 พ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ -3,597.9 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาททรงตัว โดย ณ วันที่ 15 พ.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยแข็งค่าขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.03 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเยนและยูโร ในขณะที่สกุลเงินหยวนและเงินภูมิภาค เช่น วอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์ อ่อนค่าลง ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
- ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 15 พ.ค. 57 ปิดที่ 1,296.00 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,295.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th