สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 20, 2014 14:30 —กระทรวงการคลัง

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มีจำนวน 5,550,390.87 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.07 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,919,398.28 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,091,894.91 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 532,183.47 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6,914.21 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 3,874.38 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 13,532.60 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 7,478.47 ล้านบาท 1,239.24 และ 940.51ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 1. หนี้ของรัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 11,953.89 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 914.49 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 270.80 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,185.29 ล้านบาท

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 11,039.40 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก

  • การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 9,849.11 ล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 9,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 849.11 ล้านบาท
  • การเบิกจ่ายเงินกู้ 320 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
  • การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 722.03 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 538.11 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 183.91 ล้านบาท
  • การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 148.26 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 110.22 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง 34.80 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางคู่ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย จำนวน 3.24 ล้านบาท

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 7,421.29 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญดังนี้

  • การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 7,000 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2 จำนวน 4,000 ล้านบาท และใช้เงินทดรองจ่ายที่ยืมจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) จำนวน 3,000 ล้านบาท
  • การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 421.29 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 9,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) เป็น R-bill จำนวน 9,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลจำนวน 7 รุ่น ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 วงเงินรวม 121,035 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จะนำไปให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศบริหารลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้เกิดผลตอบแทนและลดต้นทุนในการทำ Pre-funding 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,450.73 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,206.80 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลงสุทธิ 243.93 ล้านบาท และได้มีการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้เงินกู้สกุลเงินเยนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงิน 35,332.29 ล้านเยน โดยการแปลงหนี้เงินกู้สกุลเงินเยนอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นหนี้สกุลเงินบาทอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 3,546 ล้านบาท เนื่องจาก

  • องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 900 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 496 ล้านบาท
  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 3,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 450 ล้านบาท
  • การเคหะแห่งชาติชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 500 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,357.52 ล้านบาท การลดลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 1,124.22 ล้านบาท เนื่องจาก

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 805 ล้านบาท
  • รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 319.22 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 2,166.81 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 2,486.03 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 114.84 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 3.32 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 111.52 ล้านบาท 3.2 หนี้ในประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 1,124.40 ล้านบาท เนื่องจาก

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 124.40 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 8,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 8,124.40 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ 4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 940.51 ล้านบาท เนื่องจากสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาล เบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 940.51 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 0.41 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 940.92 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,550,390.87 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 383,371.68 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.91 และหนี้ในประเทศ 5,167,019.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.09 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 5,428,720.98 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.81 และหนี้ระยะสั้น 121,669.89 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.19 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512,5522

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 39/2557 19 พฤษภาคม 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ