เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 29, 2014 12:41 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2557 ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มมีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเทียบกับปีก่อนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย หลังการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนเมษายน 2557 มีสัญญาณหดตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนเมษายน 2557 หดตัวที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อเดือน จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้ายังคงหดตัวที่ร้อยละ -5.4 สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2557 หดตัวร้อยละ -21.5 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -22.6 จากเดือนก่อนที่ หดตัวร้อยละ -20.2 สอดคล้องกับยอดขายรถจักรยานยนต์ใน กทม. ที่หดตัวร้อยละ -17.0 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่หดตัวลงทั่วทุกภาคของประเทศ ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเมษายน 2557 หดตัวร้อยละ -34.4 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อเดือน นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายน 2557 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.7 ต่อเดือน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนเมษายน 2557 อยู่ที่ระดับ 57.7 และเป็นการปรับลดลงในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ 1) ความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ 2) ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มค่าครองชีพที่ทรงตัวในระดับสูง และ 3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ลดลง

    เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2556               2556                       2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     มี.ค.  เม.ย.   YTD
    ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)     -0.7    6.8   -0.3   -7.3   -1.0   -0.2    -1.2   -1.2   -0.5
    %qoq_SA / %mom_SA                      -2.0   -3.2   -0.9    5.5   -1.1    -2.5    1.1      -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)      4.4    4.6    7.7    6.2   -0.2   -3.9     3.3    5.0   -1.7
    %qoq_SA / %mom_SA                      -2.7   -1.3   -0.5    4.2   -6.3     7.3    6.7      -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)        -6.1   97.2   -3.3  -24.8  -39.7  -55.3   -55.8  -34.4  -51.4
    %qoq_SA / %mom_SA                      -3.3  -27.3   -2.8  -11.0  -27.5    -1.6   14.3      -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)    -6.0    5.4   -6.2   -8.7  -20.8  -20.8   -18.1  -21.5  -21.0
    %qoq_SA / %mom_SA                      -2.0   -4.9   -3.7   -8.2   -8.2    -6.9    0.1      -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                  70.2   73.8   72.8   69.3   64.9   59.9    58.7   57.7   59.4

2. การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนเมษายน 2557 หดตัวร้อยละ -3.1 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อเดือน ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนเมษายน 2557 หดตัวร้อยละ -7.7 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์ เชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2557 หดตัวร้อยละ -32.3 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.7 ต่อเดือน สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนเมษายน 2557 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -16.9 ต่อปี

    เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                   2556                    2556               2557
                                                     Q1     Q2    Q3    Q4     Q1    มี.ค.  เม.ย.  YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)         17.9   35.2   11.0   22.0   9.1   -6.6   -9.4   -7.7  -6.9
   %qoq_SA / %mom_SA                               -1.5   -1.4    8.2   4.0  -14.2   -5.0    5.5     -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                    8.3   15.9   14.6    3.0   0.3   -2.4   -3.5   -3.1  -2.5
   %qoq_SA / %mom_SA                               -0.6    1.3   -1.3   1.0   -2.4    0.1    1.3     -
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)             -8.4   19.4    3.2  -26.2 -24.1  -36.6  -37.5  -32.3  35.6
   %qoq_SA / %mom_SA                               -3.1   -7.6  -14.2  -0.9  -18.5   -9.4   10.7     -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                     -5.9    3.7   -1.5   -7.9 -16.6  -14.1  -15.2  -16.9 -14.8
   %qoq_SA / %mom_SA                              -10.5   -0.4   -4.7  -1.9   -7.7   -3.2   -0.9     -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน เรือและรถไฟ (%yoy)-10.2   -0.7  -11.2  -10.0 -18.0  -11.4   -6.9   -3.8  -9.6
   %qoq_SA / %mom_SA                               -8.8   -5.0   -1.0  -4.3   -1.6   -2.3    6.1     -

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนเมษายน 2557 พบว่า รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนเมษายน 2557 ได้จำนวน 195.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 179.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 156.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี (2) รายจ่ายลงทุน 22.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 68.5 ต่อปี ทั้งนี้ รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนเมษายน 2557 ได้จำนวน 134.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี สำหรับดุลเงินงบประมาณในเดือนเมษายน 2557 ขาดดุล -62.0 พันล้านบาท

    เครื่องชี้ภาคการคลัง          FY2556                    FY2556                          FY2557
       (พันล้านบาท)                      Q1/     Q2/      Q3/     Q4/     Q1/    Q2/   มี.ค.  เม.ย.    YTD
                                      FY56    FY56     FY56    FY56    FY57   FY57
รายได้สุทธิของรัฐบาล            2,161.3  508.5   469.6    641.9   537.5   503.4  437.2  132.1  134.7  1,075.4
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
    (%y-o-y)                    9.4   27.6    13.7       3.4   -1.2    -1.0   -6.9  -12.0    4.3     -2.9
รายจ่ายรัฐบาลรวม              2,402.5  785.9   585.7     482.0  548.9   831.1  553.0  165.5  195.8  1,579.9
   (%y-o-y)                     4.7   60.5   -24.9       4.8   -3.0     5.7   -5.6  -26.6    8.6      1.8
ดุลเงินงบประมาณ                -239.0 -283.6  -109.1     165.1  -11.4  -334.7 -116.5  -24.4  -62.0   -513.2

4. การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนเมษายน 2557 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนเมษายน 2557 มีมูลค่า 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผล ทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อเดือน โดยสินค้าส่งออกที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ และอุตสาหกรรมเกษตร ที่หดตัวร้อยละ -4.8 -1.5 และ -9.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่สินค้าที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี สอดคล้องกับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปมีทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนเมษายน 2557 มีมูลค่าอยู่ที่ 18.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -14.5 ต่อปี ทั้งนี้ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนเมษายน 2557 ขาดดุลที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

     ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ                          2556                      2557
 (สัดส่วนการส่งออกปี55 >ปี 56 )       2556      Q1     Q2    Q3    Q4    Q1     มี.ค.    เม.ย.   YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)               -0.3     3.9   -2.2  -1.7  -1.0  -1.0    -3.1     -0.9   -1.0
%qoq_SA / %mom_SA                    -    -1.3   -2.8   1.7   1.7  -0.7    -4.1      1.8      -
 1.จีน (11.7%>>>11.9%)              1.4     7.3  -13.4  -0.3  12.9  -4.4   -11.2     -9.5   -5.6
 2.สหรัฐฯ (9.9%>>>10%)              0.8     0.8   -3.5   0.7   5.2   0.6     3.6      0.6    0.6
 3.ญี่ปุ่น (10.2%>>>9.7%)             -5.2     1.5   -6.3 -10.1  -5.5   2.0     1.6     -4.5    0.5
 4.สหภาพยุโรป (8.5%>>>8.8%)         2.7     7.0   -5.3   3.3   6.3   4.8     2.9      5.4    4.9
 5.ฮ่องกง (5.7%>>>5.8%)             0.7    11.2    7.7  -1.4 -12.0  -1.8     0.1     -7.5   -3.0
 6.มาเลเซีย (5.4%>>>5.7%)           4.7    -0.8    5.8  12.4   2.0  -0.1    -2.5     10.3    2.4
 7.ทวีปออสเตรเลีย (4.9%>>>5.2%)      5.6    30.4   14.5  -5.2  -9.4 -16.1   -23.3    -13.6  -15.6
 PS.อาเซียน-9 (24.6%>>>26.0%)       5.0     5.9    2.4  10.8   1.2  -5.4   -10.9     -1.9   -4.5
 PS.อาเซียน-5 (17.2%>>>17.6%)       2.0     5.4   -0.7  11.2  -7.1 -11.0   -16.3     -8.3  -10.4
 PS.อินโดจีน-4 (7.4%>>>8.3%)        11.8     7.0    9.9  10.0  20.3   7.1     0.7     11.5    8.2

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานส่งสัญญาณหดตัวในอัตราที่ลดลง ขณะที่สามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวกเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (m-o-m SA) ในสาขาอุตสาหกรรมและภาคบริการ สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2557 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -3.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อเดือน โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอาหาร เป็นสำคัญ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ เป็นสำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2557 อยู่ที่ระดับ 84.0 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 58 เดือน เป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจากการที่ไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบกับความกังวลต่อปัญหาต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบและพลังงาน และส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับภาคบริการเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.0 ล้านคน หดตัวร้อยละ -1.7 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อเดือน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล แต่ยังคงมีการใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ วันที่ 19 มีนาคม - 30 เมษายน 2557 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ได้ลดระดับการประกาศเตือนพลเมืองเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนเมษายน 2557 ยังคงสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวโพดและผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้กลับหดตัวต่อเนื่องโดยหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -5.8 ต่อปี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงหดตัว -4.2 ต่อปี

     เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน           2556                   2556                    2557
                                              Q1     Q2     Q3    Q4    Q1     มี.ค.     เม.ย.  YTD
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%yoy)             -3.2    2.9   -4.9   -3.5  -7.1   -7.1   -10.5    -3.9   -6.4
    %qoq_SA / %mom_SA                       -2.9   -5.4   -1.4   3.4   -7.1    -6.7     2.9      -
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)               18.8   22.1   24.3   21.4   9.3   -5.8    -9.4    -1.7   -4.9
    %qoq_SA / %mom_SA                   -    4.4    6.4    1.0  -2.2  -10.2    -0.9     7.6      -
ดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (%yoy)             -1.0    2.1   -5.0   -4.3   1.5    2.8     2.5     5.6    3.5
    %qoq_SA / %mom_SA                       -0.4   -3.2   -0.2    5.4   1.1   -1.9     1.0       -

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผักสดและปศุสัตว์ เนื่องจากภัยแล้งส่งผลให้อุปทานลดลง ประกอบกับอาหารสำเร็จรูปมีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากการทยอยปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเท่ากับ 3.44 แสนคน สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 46.1 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 นอกจากนี้ เสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 อยู่ในระดับสูงที่ 168.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

     เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ            2556                   2556                  2557
                                               Q1     Q2     Q3     Q4    Q1    มี.ค.  เม.ย.    YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                      2.2    3.1    2.3    1.7    1.7   2.0    2.1    2.5     2.1
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                     1.0    1.5    1.0    0.5    0.8   1.2    1.3    1.7     1.3
อัตราการว่างงาน (yoy%)                   0.7    0.7    0.7    0.8    0.6   0.9    0.9    0.9     0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                         45.7   44.2   44.5   45.5   45.7  46.1   46.1    n.a.   46.1
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)                -2.8    0.5   -6.7    0.4    3.0   8.2    5.1    2.9     8.2
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)              167.2  177.8  170.8  172.3  167.2 167.4  167.4  168.9   168.9
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)            23.0   23.7   23.7   21.2   23.0  23.6   23.6    23.2   23.2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ