รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 - 30 พฤษภาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 2, 2014 11:03 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ในเดือนเม.ย. 57 ขยายตัว ร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน เม.ย. 57 พบว่าดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -62.0 พันล้านบาท
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเม.ย. 57 หดตัวร้อยละ -34.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -32.3
  • การส่งออกในเดือน เม.ย. 57 หดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้า หดตัวร้อยละ -14.5
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน เม.ย. 57 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เดือน เม.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือน พ.ค. 57 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ -7.1
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในเดือน พ.ค. 57 อยู่ที่ระดับ ญ 83.0 จุด

Indicator next week

Indicators                               Forecast           Previous
May :  Headline Inflation (% yoy)           2.8               2.5

โดยราคาสินค้าหมวดอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่างคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5 (mom)

Economic Indicators: This Week

  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนเม.ย. 57 ปีงบประมาณ 2557 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 195.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในเดือนเม.ย. 57 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 179.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 156.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.1 (2) รายจ่ายลงทุน 22.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 68.5 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 27.7 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 12.9 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 11.9 พันล้านบาท และรายจ่ายชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 10.5 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 16.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 58.9 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 57 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงปม. เบิกจ่ายได้ 1,423.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 56.4 ของวงเงินงปม.
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน เม.ย. 57พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -62.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 33.1 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 20.0 พันล้านบาท และการคืนเงินทดรองจ่ายในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 จำนวน 10.8 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุลจำนวน -28.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 งบประมาณขาดดุลจำนวน -513.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -36.1 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -549.4 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ 209.7 พันล้านบาท
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนเม.ย. 57 อยู่ที่ 31,168 คัน หรือหดตัวร้อยละ -34.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -55.8 ส่วนหนึ่งจากฐานการคำนวณในครึ่งปีแรกของปี 2556 ที่สูงกว่าแนวโน้มปกติ จากการผลิตเพื่อส่งมอบตามนโยบายรถคันแรก ทั้งนี้ 4 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -51.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนเม.ย. 57 อยู่ที่ 42,092 คัน หรือหดตัวร้อยละ -32.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -37.5 ตามการลดลงของยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -35.0 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -38.5 ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศเนื่องจากมีการเร่งการลงทุนไปแล้วในปีก่อน ประกอบกับปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งนี้ในช่วง 4 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวที่ร้อยละ -36.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การส่งออกในเดือน เม.ย. 57 มีมูลค่า 17,249.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.1 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.8 ตามการหดตัวของสินค้าสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเกษตร ที่หดตัว ร้อยละ -17.8 -3.1 และ -9.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สินค้าอุตสาหกรรมได้กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 1.8 หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.8 จากการขยายตัวของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -4.8 ทั้งนี้ราคาสินค้าส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -1.0 และปริมาณการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.1 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 57 หดตัวที่ร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การนำเข้าในเดือน เม.ย. 57 มีมูลค่า 18,702.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -14.2 จากการหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวร้อยละ -16.3 และ -18.1 ตามลำดับ รวมถึงสินค้ายานยนต์ที่หดตัวในระดับสูงร้อยละ -28.1 ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 5.0 ทั้งนี้ราคาสินค้านำเข้าหดตัวร้อยละ -0.9 และปริมาณการนำเข้าหดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -13.7 ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการส่งออกต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน เม.ย. 57 ขาดดุล -1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน เม.ย. 57 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมยานยนต์และอาหาร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการลดลงของตลาดภายในประเทศเป็นสำคัญ ประกอบกับปัจจัยฐานของปีก่อนที่การเร่งผลิตตามโครงการรถยนต์คันแรก ในขณะที่อุตสาหกรรมอาหารลดลงจากผลิตภัณฑ์เบียร์ตามกำลังซื้อที่ลดลง และกุ้งจากปัญหาโรคระบาด ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่อดัชนีในเดือนนี้ คือ อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอานิสงค์จากตลาดสมาร์ทโฟนที่เติบโตต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงระบบทีวีจากระบบธรรมดาเป็นระบบดิจิทอล นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นที่ขยายตัวได้ คือ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากพิจารณาแบบเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าและขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (%mom_sa) พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.9

Economic Indicators: Next Week

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพ.ค. 57 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยราคาสินค้าหมวดอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่างคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5 (mom)

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ โดยเป็นผลจากการปรับลดตัวเลขภาคการลงทุนและการส่งออกสุทธิเป็นสำคัญ ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ 1.07 ล้านหลัง (annual rate) หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.2 จากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของยอดขายบ้านมือสองที่ประกาศก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 83.0 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 81.7 จุด (ตัวเลขปรับปรุง) จากการที่ผู้บริโภคมีมุมมองต่อภาวการณ์จ้างงานที่ดีขึ้น ส่งผลให้ดัชนีสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับดัชนีคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในอนาคตที่ปรับตัวสูงขึ้น บ่งชี้การบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง
Japan: worsening economic trend
  • ยอดค้าปลีกญี่ปุ่น เดือน เม.ย. 57 กลับมาหดตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาที่ร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวของยอดขายสินค้าในทุกหมวด ภายหลังการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 57 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยทางด้านฐานในปีก่อน โดยเมื่อดูในรายละเอียดพบว่าราคาสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสำคัญ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าทุกหมวดที่ยังคงขยายตัวยกเว้นเชื้อเพลิงพลังงานและสิ่งทอเป็นสำคัญ อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 57 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
Eurozone: improving economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 57 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ -7.1 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 79 เดือนสะท้อนอุปสงค์ภายใน โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่มีทิศทางฟื้นตัวดีต่อเนื่อง โดยล่าสุดยอดค้าปลีกในเดือน มี.ค. 57 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงที่เหลือของปีให้ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง กอปรกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ อาจส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
Taiwan: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในเดือนก่อน จากการผลิตในหมวดเหมืองแร่ที่หดตัวชะลอลง ในขณะที่การผลิตในหมวดอื่นๆ ขยายตัวเร่งขึ้น
Singapore: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 12.1 จากการผลิตสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวร้อยละ -8.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ของช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.2 จากค่าใช้จ่ายในหมวดขนส่งที่กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 5.0
Philippines: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 5.9 ขณะที่ภาคส่วนอื่นขยายตัวเร่งขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ภาคการลงทุนรวมและการส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.2 และ 12.6 ตามลำดับ มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้นในระดับสูง ดุลการค้า เดือน มี.ค. 57 ขาดดุล 198.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Vietnam: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 30.3 จากการส่งออกยางพาราที่หดตัวร้อยละ-44.3 ส่วนมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 11.8 จากการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัว ดุลการค้า เดือน พ.ค. 57 ขาดดุล -400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากราคาสินค้าทุกหมวดที่ปรับตัวสูงขึ้น
Hong Kong: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 57 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่กลับมาหดตัวร้อยละ -5.6 การส่งออกไปประเทศคู่ค้าในอาเซียนที่กลับมาหดตัวร้อยละ -2.4 และการส่งออกไปจีน ซึ่งหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -1.1 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งกลับมาหดตัว ทำให้โดยรวมดุลการค้า เดือน เม.ย. 57 เกินดุล 4.9 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดลงจาก 5.1 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในเดือนก่อน
South Korea: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อนหน้า

Weekly Financial Indicators

  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ โดย 60 ดัชนีฯ ณ วันที่ 29 พ.ค. 57 ปิดที่ 1,408.51 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ค่อนข้างสูงถึง 50 44,583 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนใน 40 ประเทศ ทั้งนักลงทุนสถาบัน บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนรายย่อย ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ30 ยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลงจาก20 สัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนหนึ่งจากการที่นักลงทุนเริ่ม 10 คลายความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศ ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 26 - 29 พ.ค. 57 นัก0ลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 10,859 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุก 32.82 ช่วงอายุปรับตัวสูงขึ้น ประมาณ 1-20 bps.จาก 32.72 แรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 32.62 26 - 29 พ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 9,516 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.) 32.52
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 29 พ.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.68 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเยน ดอลลาร์สิงคโปร์ ริงกิตมาเลเซีย และเงินหยวน ในขณะที่เงินยูโรและเงินวอนแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.20 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 29 พ.ค. 57 ปิดที่ 1,255.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,292.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ