Executive Summary
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค. 57 ปีงบประมาณ 2557 ขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- สินเชื่อเดือน พ.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงิน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.1
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. 57 ขาดดุล -664.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 65.3
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 2 ปี 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP อังกฤษ ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน มิ.ย. 57 โดย NBS อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด
- อัตราว่างงานสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 57 ลดลงมาที่อยู่ที่ระดับญ ต่ำสุดในรอบ 5 ปี ที่ร้อยละ 6.1 ของกำลังแรงงานรวม
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Jun : API (%yoy) 5.0 6.9
ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค. 57 ปีงบประมาณ 2557 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 154.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในเดือน พ.ค. 57 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 142.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.3 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 125.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.5 (2) รายจ่ายลงทุน 16.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.6 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 6.9 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 6.5 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 11.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.8 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 57 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงปม. เบิกจ่ายได้ 1,565.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 62.0 ของวงเงินงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค. 57 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 9.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -7.5 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำนวน 1.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 งบประมาณขาดดุลจำนวน -500.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -47.0 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -547.6 พันล้านบาท และเงิน คงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 57 อยู่ที่ 243.0 พันล้านบาท
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากมาตรการดูแลค่าครองชีพ ประกอบกับสภาพอากาศที่เหมาะสมทำให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ราคาพืชผักผลไม้ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 สะท้อนถึงเสถียรภาพด้านราคาที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.1 หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ การผลิตและค่าแรง ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจะเห็นได้จากดัชนีหมวดกระเบื้อง ร้อยละ 0.2 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ร้อยละ 0.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 0.2 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 3.0 หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 4.3 ขณะที่หมวดสุขภัณฑ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 และหมวดซีเมนต์ ร้อยละ 1.2 สำหรับหมวดวัสดุฉาบผิว ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวปีก่อน
- สินเชื่อเดือน พ.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.3 โดยหากวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งในส่วนของสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ขณะที่ สินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น กอปรกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณดีขึ้น แม้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ ส่งผลให้คาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทย น่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 57 และส่งผลให้คาดว่าสินเชื่อกลับมาขยายตัวได้มากขึ้นในระยะต่อไป
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามการชะลอลงของเงินฝากภาคครัวเรือนที่ธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ผู้ฝากจึงอาจเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์การออมประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ขณะที่ การแข่งขันระดมเงินฝากโดยรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ยังมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อรักษาฐานลูกค้า (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เงินฝากระยะยาว)
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. 57 ขาดดุล -664.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -643.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าเกินดุล 1,629.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการหดตัวของ การนำเข้าในระดับสูง ผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ในขณะที่การส่งออกหดตัวเล็กน้อย ผลของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงตกต่ำ รวมทั้งอุปสงค์จากภูมิภาคเอเชียที่ยังคงชะลอตัว ขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล 2,294.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายรับภาคท่องเที่ยวที่ลดลง และการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 57 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,918.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือนมิ.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 65.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 60.7 โดยมีสาเหตุสำคัญจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง ส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลเริ่มมีความชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวที่มีการทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนาแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมยังปรับขึ้นไม่สูงนัก เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออกไทย
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 ตามการขยายตัวของเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (น้ำหนักร้อยละ 13.2 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) ที่ขยายตัวร้อยละ 39.2 ต่อปี ท่อเหล็กกล้า (น้ำหนักร้อยละ 3.7) ที่ขยายตัวร้อยละ 81.6 ขณะที่ยอดขายเหล็กเส้น ข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 64.4) ที่หดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี และเหล็กเส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 11.2) ที่หดตัวร้อยละ -6.0 ต่อปี เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมในช่วง 5 เดือนแรกปี 57 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน มิ.ย. 57 คาดว่าจะขยายที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
Global Economic Indicators: This Week
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีน (สัดส่วนร้อยละ 5.4 ของการส่งออกรวม) ที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 5.3 มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน มิ.ย. 57 เพิ่มขึ้น 2.9 แสนตำแหน่ง จากการจ้างงานภาคบริการที่มีทักษะ ภัตตาคาร บริการสุขภาพ ภาคการเงิน และภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. 57 ลดลงมาที่อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ที่ร้อยละ 6.1 ของกำลังแรงงานรวม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่สูงกว่าระดับ 50.0 ที่ระดับ 55.3 จุด บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวได้ แม้จะเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 ลดลงมาที่ระดับ 56.0 จุด แต่ยังอยู่หนือระดับ 50.0 ชี้การขยายตัวของภาคบริการ จากกิจกรรมทางธุรกิจ และวัตถุดิบที่ชะลอลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวเกินกว่าระดับ 50 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน สะท้อนกิจกรรมภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณดีขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 โดย NBS อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน สอดคล้องกับ ดัชนีฯ โดย HSBC ซึ่งเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.7 จุด เป็นการอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 โดย NBS อยู่ที่ระดับ 55.0 จุด ลดลงจากระดับ 55.5 จุด ในเดือนก่อน สวนทางกับ ดัชนีฯ โดย HSBC ซึ่งเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.1 จุด จาก 50.7 จุด ในเดือนก่อนเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 15 เดือน สะท้อนการผลิตภาคบริการที่ขยายตัวเร่งขึ้นและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัว
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน มิ.ย. 57 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าแต่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50.0 จุดต่อเนื่อง ที่ระดับ 52.8 โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการอยู่ที่ระดับ 51.8 และระดับ 52.8 ตามลำดับ สะท้อนภาคการผลิตที่ยังขยายตัวได้ แม้เริ่มมีทิศทางชะลอลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดที่ยังมีอยู่สูงต่อเนื่อง อัตราว่างงาน เดือน พ.ค. 57 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.6 ของกำลังแรงงานรวม
มูลค่ากส่งออก เดือน พ.ค. 57 หดตัวร้อยละ -8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นที่หดตัวเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องจักรที่หดตัวส่งผลให้ดุลการค้า 69.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการขยายตัวเร่งขึ้นในทุกภาคส่วน มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าประเภทสิ่งทอและรองเท้าที่ขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 14.7 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 200.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค.57 หดตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าคงทนและเครื่องประดับที่หดตัวชะลอลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด บ่งชี้การขยายตัวของภาคผลิตเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน จากการขายวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังยุโรปและออสเตรเลียที่เร่งขึ้น มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 4.5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่เพิ่มขึ้น ดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ 54.4 จุด จากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นภายหลังรัฐบาลประกาศนโยบายปฏิรูปโครงสร้างภาคบริการ
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนที่ชะลอลงมาก มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.3 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 610 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้านยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากสภาพอากาศร้อนในฤดูหนาวทำให้ยอดขายสินค้าหมวดเสื้อผ้าชะลอลง
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ราคาบ้านเดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาบ้านในกรุงลอนดอนขยายตัวสูงสุดในรอบ 27 ปี ที่ร้อยละ 25.8 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 57.5 จุด และระดับ 57.7 จุด สะท้อนภาคการผลิตที่ขยายตัวได้
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 3 ก.ค. 57 ปิดที่ 1,493.21 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 40,455 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ จากการทำ Window Dressing ก่อนสิ้นครึ่งแรกของปี และแรงซื้อจากนักลงทุนชาวต่างขาติ เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญของโลก บ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.- 3 ก.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,471.89 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ประมาณ 1 bps จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.- 3 ก.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 2,458.2 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 3 ก.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.26 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นทั้งหมด ยกเว้น ค่าเงินเยน และค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.10 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 3 ก.ค. 57 ปิดที่ 1,319.49 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,327.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th