Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือนก.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 68.5
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนก.ค.57 หดตัวร้อยละ -8.3 เมื่อเทียบกับจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 46.6 ของ GDP
- อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม
- วันที่ 6 ส.ค. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี
- GDP อินโดนีเซีย ในไตรมาสที่ 2 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. 57 เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 57.1 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน เดือน ก.ค. 57 โดย NBS อยู่ที่ระดับ 54.2 จุด
- ยอดค้าปลีกสหภาพยุโรป เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมสหภาพยุโรป เดือน ก.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 53.8 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมฮ่องกง โดย ญ HSBC เดือน ก.ค. 57 อยู่ระดับ 50.4 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Jul : API (%yoy) 3.0 1.2
- ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตยางพารา และข้าวโพดที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือนก.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 68.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 65.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง ส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลเริ่มมีความชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวที่มีการทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนาแล้ว รวมถึงการเห็นชอบยุทธศาสตร์แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมยังปรับขึ้นไม่สูงนัก เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออกไทย
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนก.ค.57 มีจำนวน 171,465 คัน หรือหดตัวร้อยละ -8.3 เมื่อเทียบกับจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -15.6 โดยเป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -9.0 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -18.2 ในขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.ยังคงหดตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -5.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของเกษตรกรเพิ่มขึ้น จากรัฐบาลที่ได้มีการทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนาแล้ว อย่างไรก็ดี จากการที่ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังหดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังคงหดตัวลงเช่นกัน และส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัว ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- วันที่ 6 ส.ค. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี จากการที่ กนง. ประเมินว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในปัจจุบันยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยไม่กระทบต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความพยายามของภาครัฐในการปฏิรูปเพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิ.ย. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,642.4พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 109.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.6 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นสุทธิ 88.9 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่มีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 89.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 97.4 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.2 ของยอดหนี้สาธารณะ)
- การจ้างงานเดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ 38.49 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 8.12 หมื่นคน ส่งผลให้ 7 เดือนแรกของปี 57 มีผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.91 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.47 แสนคน หรือคิดเป็น การหดตัวร้อยละ -0.9 ซึ่งเป็นการปรับลดลงในหมวดการจ้างงานภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.4 ในขณะที่การจ้างงานภาคบริการเริ่มมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่มีการปรับลดลงไปมาก ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.78 แสนคน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนก.ค. 57 คาดว่าจะขยายที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตยางพารา และข้าวโพดที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่ง ตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะสุกร ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค. 57 เพิ่มขึ้น 209 พันตำแหน่ง จากตำแหน่งงานในภาคบริการทางธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต ค้าปลีก และก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 57 เพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 6.2 ของกำลังแรงงานรวม จากกำลังแรงงานเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 57 เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 57.1 จุด สูงสุดในรอบ 3.5 ปี จากดัชนีย่อยทุกประเภทที่เพิ่มขึ้น ดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.ค. 57 สูงสุดในรอบกว่า 9 ปี จากดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่เร่งขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนคู่ค้าอันดับ 2 ที่ชะลอลงเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเร่งขึ้นมาที่ร้อยละ 6.6 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงมาที่ 59.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 7.2 ในเดือนก่อน มูลค่าการนำเข้ากลับมาหดตัวร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 ในเดือนก่อน ดุลการค้าเกินดุล 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ค. 57 โดย NBS อยู่ที่ระดับ 54.2 จุด อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน สอดคล้องกับดัชนีฯ โดย HSBC ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.0 จุด ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนการผลิตภาคบริการยังคงขยายตัวอย่างเปราะบาง
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สะท้อนการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม เดือน ก.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 53.8 จุด โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 54.2 และระดับ 51.8 ตามลำดับ สะท้อนภาคการผลิตที่ขยายตัวต่อเนื่อง
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นมาที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีนและฮ่องกง (คู่ค้าอันดับ 1 และ 2) ที่เร่งขึ้นมากร้อยละ 3.1 และ 14.0 ตามลำดับ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกันมาที่ร้อยละ 9.5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นมาที่ 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม โดย HSBC เดือน ก.ค. 57 อยู่ระดับ 50.4 จุด สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากจีนที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม จัดโดย HSBC เดือน ก.ค. 57 อยู่ระดับ 53.0 จุด สูงสุดในรอบ 17 เดือนจากคำสั่งซื้อที่อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนเช่นกันขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ ลดลงมาที่ระดับ 52.2 จุด จากคำสั่งซื้อที่ลดลง
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 5.2 จากการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนรวมที่หดตัวร้อยละ -0.7 และขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.5 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -8.1 จากการส่งออกไปสหรัฐฯที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหดตัวร้อยละ -11.3 จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากพลาสติกที่ขยายตัวเร่งขึ้น ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 57 ขาดดุล -305.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 6.7 จากค่าใช้จ่ายในหมวดขนส่งและราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ขยายตัวชะลอลง
มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 จากการส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นที่หดตัวร้อยละ -2.6 และ -1.9 เป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนทขยายตัวร้อยละ 11.8 จากการนำเข้าวัตถุดิบที่หดตัวร้อยละ -18.2 ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 57 เกินดุล 4.0 พันล้านริงกิต
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.4 จากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.2
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 57 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากยอดขายเครื่องแต่งกายที่กลับมาขยายตัวเป็นหลัก มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 กลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งคู่ค้าอันดับ 1 ที่กลับมาขยายตัวถึงร้อยละ 10.7 เป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นมาที่ร้อยละ 6.4 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 1.7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้านอัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 57 อยู่สูงสุดในรอบ 12 ปีร้อยละ 6.4 ของกำลังแรงงานรวม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด ลดลงจาก 57.5 จุด ในเดือนก่อน และแม้เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน แต่ยังคงถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยในระยะยาว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคก่อสร้าง เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 62.4 จุด ทรงตัวที่ระดับ 62.6 จุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 59.1 จุด เป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน เพิ่มขึ้นจาก 57.7 จุด ในเดือนก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน จากการผลิตสินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภค และสินค้าคงทนที่ขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ
ดัชนีผ้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ 50.5 จุด จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- ดัชนี SET ผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 7 ส.ค. 57 ปิดที่ 1,522.41 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 47,141.08 ล้านบาท จากปัจจัยบวกที่ คสช. เร่งรัดแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในงบประมาณปี 57-58 มูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่ยังมีปัจจัยลบจากนักลงทุนกังวลประเด็นความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซียเนื่องจากรัสเซียปรับเพิ่มกำลังทหารชายแดนด้านยูเครน ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 4 - 7 ก.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 240.96 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลง 3 - 10 bps จากสัปดาห์ก่อน จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนรายย่อย จากที่กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 57 ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลในวันที่ 7 ส.ค. 57 มีผู้สนใจค่อนข้างมาก ทำให้ระหว่างวันที่ 4 - 7 ส.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิถึง 1,911.2 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 7 ก.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.56 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ยกเว้นค่าเงินหยวนและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ 0.45 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 7 ส.ค. 57 ปิดที่ 1,313.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งสูงกว่าต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,288.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th