Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. 57 หดตัวลงร้อยละ -5.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนส.ค.57 หดตัวร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม หดตัวที่ร้อยละ -14.1
- วันที่ 17 ก.ย. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี
- ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ส.ค. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 88.7
- ที่ประชุม FOMC ในวันที่ 16- 17 ก.ย. 57 มีมติลดขนาด QE ลงเหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกญี่ปุ่น เดือน ส.ค. 57 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกสหภาพยุโรป เดือน ก.ค. 57 ขยายตัวญ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Aug : Passenger car sales (%yoy) -35.0 -37.5
- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประชาชนได้มีการเร่งบริโภคไปแล้วในช่วงก่อนหน้า จากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลในปี 56 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ประชาชนชะลอการบริโภคสินค้าในหมวดคงทนออกไปก่อน
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. 57 ได้จำนวน 203.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 36.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ -15.1 โดยมีรายการสำคัญดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -5.9 จากปีก่อน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -6.4 จากปีก่อน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -4.1 จากปีก่อน ตามการปรับลดอัตราภาษี และ(2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการบริโภคจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากปีก่อน สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และภาษีจากการนำเข้าจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -6.3 จากปีก่อน ทั้งนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี งปม. 57 (ต.ค. 56 - ส.ค. 57) ได้จำนวน 1,881.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.3 จากปีก่อน และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 168.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ -8.2
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน ส.ค.57 มีมูลค่า 56.87 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ตามการลดลงของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่หดตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ -8.1 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ดีภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 5.1 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรกปี 57 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ส.ค. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -9.7 (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -4.5 จากเดือนก่อนหน้า) เนื่องจากสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นไปมากในปี 56 จากความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 57 สอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติในการก่อสร้างรวมในเดือน ก.ค. 57 (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน) ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -24.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- วันที่ 17 ก.ย. 57 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี จากการที่ กนง. ประเมินว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระยะเริ่มแรก โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงิน
- ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ส.ค. 57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.4 (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า)บ่งชี้ถึงการลงทุนในการก่อสร้างยังคงชะลอตัวในปี 57 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุดที่ยังคงชะลอลง เช่นเดียวกับอุปทานที่ชะลอตัว สอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติในการก่อสร้างรวมในเดือน ก.ค. 57 (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน) ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -24.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 88.7 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 89.7 เป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับหลายพื้นที่ของประเทศเกิดภาวะน้ำท่วม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะสามารถผลักดันนโยบายและมาตรการที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน ส.ค.57 คาดว่าหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -35.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -37.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประชาชนได้มีการเร่งบริโภคไปแล้วในช่วงก่อนหน้าจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลในปี 56 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ประชาชนชะลอการบริโภคสินค้าในหมวดคงทนออกไปก่อน
Global Economic Indicators: This Week
ที่ประชุม FOMC ในวันที่ 16- 17 ก.ย. 57 มีมติลดขนาด QE ลงเหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเข้าซื้อตราสาร MBS 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวที่ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายเกือบทุกหมวดที่ชะลอลง โดยเฉพาะรถยนต์และส่วนประกอบที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.3 สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงมาที่ร้อยละ 2.6 เป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 ลดลงมาที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากต้นทุนค่าขนส่ง ค่าบริการสุขภาพ และการศึกษาและโทรคมนาคมเป็นสำคัญ
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ราคาบ้าน เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และต่ำสุดในรอบ 20 เดือน โดยราคาบ้านทุกเมืองลดลง สะท้อนตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดความร้อนแรงลงต่อเนื่อง
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปสหรัฐฯ และจีน (คู่ค้าสำคัญอันดับ 1 และ 2) หดตัวร้อยละ -4.4 และ -0.2 เป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 57 หดตัวชะลอลงเช่นกันที่ร้อยละ -1.5 จากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.2 เป็นสำคัญ ส่งผลให้ทำให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 ขาดดุล -9.5 แสนล้านเยน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวครั้งแรกในรอบ 11 เดือนที่ร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ที่หดตัว
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 57 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 0.3 สะท้อนความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดที่ยังคงมีอยู่สูงต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ผลจากราคาสินค้าในทุกหมวดขยายตัวเร่งขึ้น
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -0.7 ผลจากยอดขายรถยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 36.8 เป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.6 จากการส่งออกไปยังเวียดนามและอินเดียที่ขยายตัว 19.9 และ 19.7 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -8.6 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.5 จากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่หดตัวร้อยละ 15.4 โดยสรุป ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 เกินดุล 6.8 พันล้านดอลลาร์ อัตราว่างงาน ไตรมาสที่ 2 ปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากไตรมาสก่อน ท่ามกลางตลาดแรงงานยังคงตึงตัว จากจำนวนการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเพิ่มขึ้น 22,000 ตำแหน่ง ลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 28,300 ตำแหน่ง อีกทั้งการจ้างงานชาวต่างชาติอยู่ที่ 3,800 ตำแหน่ง ต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 52
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากยอดขายสินค้าเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ภายในบ้านเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารที่หดตัวเร่งขึ้น อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 6.4 ในเดือนก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้นประมาณ 2.0 ล้านคน ผลอย่างไม่เป็นทางการ (31 จาก 32 เขต) ของการลงประชามติของสกอตแลนด์เมื่อ 18 ก.ย. 57 ระบุว่า ชาวสกอตแลนด์ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 55.4 ยังต้องการให้สกอตแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร
อัตราว่างงาน เดือน ส.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานในภาคบริการอาหารและเครื่องดื่ม ซ่อมแซม และค้าปลีกเป็นสำคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวร้อยละ 5.2 ในเดือนก่อน จากการส่งออกไปจีนที่ยังคงหดตัวแม้ในอัตราชะลอลง และการส่งออกไปญี่ปุ่นและประเทศคู่ค้าอื่นในอาเซียนที่กลับมาหดตัว ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าจากญี่ปุ่นที่หดตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขปรับปรุง) เกินดุล 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จากปัจจัยด้านอุปทานที่ผลผลิตลดลงเป็นสำคัญ มูลค่านำเข้าขยายตัวชะลอลงเช่นกันที่ร้อยละ 2.1 จากการนำเข้าน้ำมันดิบที่หดตัวร้อยละ -13.8 เป็นหลัก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1.1 หมื่นล้านรูปี อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารที่ชะลอลง และค่าพลังงานและเชื้อเพลิงที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ วันที่ 18 ก.ย. 57 ปิดที่ 1,570.64 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 44,979 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจาก ธปท. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ อีกทั้งผลการประชุม FOMC บ่งชี้ว่า Fed ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำอีกระยะ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,657.08 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนรายย่อยในประเทศ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 3,082.14 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 18 ก.ย. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.27 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินทุกสกุล จากการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยของดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.33 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำปรับตัวลดลงจากต้นสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 18 ก.ย. 57 ปิดที่ 1,225.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งต่ำกว่าต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,232.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th