Executive Summary
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนส.ค. 57 ปีงบประมาณ 2557 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 132.1 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค. 57 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 4.7 พันล้านบาท
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน ส.ค.57 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -41.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -21.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ยอดสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -14.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน โดย HSBC เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เดือน ก.ย. 57 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือน ก.ย. 57ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ -11.4
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยรวมสหภาพยุโรป เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 52.3
- อัตราเงินเฟ้อสิงคโปร์ เดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อฮ่องกง เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.9
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Sep : Headline Inflation (%yoy) 2.0 2.1
- จากราคาพืชผักผลไม้ที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นและมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการตรึงราคาอาหารเจ ประกอบกับมาตรการดูแลค่าครองชีพของ คสช. ส่งผลให้ราคาในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารปรับตัวลดลง และทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนส.ค. 57 ปีงบประมาณ 2557 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 132.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน 124.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.3 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 107.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8 (2) รายจ่ายลงทุน 17.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -27.2 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 5.3 พันล้านบาท รายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 3.0 พันล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกรมการปกครอง 2.1 พันล้านบาท เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีก่อนเบิกจ่ายได้ 7.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -43.4 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงปม. 57 ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงปม. เบิกจ่ายได้ 2,034.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 80.6 ของวงเงินงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค. 57 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 4.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -1.2 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเงินฝากคลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยสุทธิจำนวน 354 ล้านบาท และรายจ่ายเงินคงคลังของโครงการรถยนต์คันแรกจำนวน 1.6 พันล้านบาท จึงส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุลจำนวน 3.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 งบประมาณขาดดุลจำนวน -411.7 พันล้านบาทและเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -67.4 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน -479.1 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ 357.9 พันล้านบาท
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน ส.ค.57 อยู่ที่ 29,992 คัน หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -41.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -37.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประชาชนได้มีการเร่งบริโภคไปแล้วในช่วงก่อนหน้าจากนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลในปี 56 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ประชาชนชะลอการบริโภคสินค้าในหมวดคงทนออกไปก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -46.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ 38,835 คัน หรือหดตัวร้อยละ -21.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.5 ตามการลดลงของยอดขายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -21.4 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -20.7 ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศเนื่องจากมีการเร่งการลงทุนไปแล้วในปีก่อน ประกอบกับผู้ประกอบการรอความชัดเจนของนโยบายภาครัฐ ทำให้ผู้ประกอบการมีการชะลอการลงทุนออกไปก่อน ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรกปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวที่ร้อยละ -31.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 57 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากราคาพืชผักผลไม้ที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้นและมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการตรึงราคาอาหารเจ ประกอบกับมาตรการดูแลค่าครองชีพของ คสช. ส่งผลให้ราคาในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารปรับตัวลดลง และทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากยอดขายบ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนี่ยมที่หดตัวร้อยละ -7.4 และ -8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ราคากลางของบ้านมือสอง เดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ 219,800 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนียมที่ลดลง ยอดสร้างบ้านใหม่ เดิอน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -14.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากยอดสร้างบ้านใหม่ในทุกประเภทที่ลดลง โดยยอดสร้างบ้านเดียว และคอนโดมีเนี่ยม (สัดส่วนร้อยละ 66.7 และ 31.8 ของยอดสร้างบ้านทั้งหมด) กลับมาหดตัวร้อยละ -2.4 และ -31.5 จากเดือนก่อน สอดคล้องกับใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ส.ค. 57 ที่หดตัวร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ในทุกประเภทที่หดตัว โดยเฉพาะคอนโดมีเนี่ยมที่กลับมาหดตัวถึงร้อยละ -13.4 จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม โดย HSBC เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.2 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ยังคงขยายตัวในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 51.7 จุด จากระดับ 52.4 จุดในเดือนก่อนหน้า สะท้อนกิจกรรมภาคการผลิตที่ยังคงขยายตัว จากดัชนีดังกล่าวเกินกว่าระดับ 50 จุดต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อนหน้า โดยเมื่อดูในรายละเอียดพบว่า ราคาสินค้าเกือบทุกหมวดลดลงต่อเนื่อง ยกเว้นราคาสินค้าหมวดอาหารสดและเชื้อเพลิงพลังงานที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ -11.4 สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง สอดคล้องกับยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 57 ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวเป็นครังแรกในรอบ 7 เดือนที่ร้อยละ -0.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยรวม เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 52.3 โดยปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ต่อเนื่อง สะท้อนภาคการผลิตที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.5 และระดับ 52.8 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากราคาสินค้าทุกหมวดที่ขยายตัวชะลอลง
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 52 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีโดยมีจำนวนผู้ว่างงาน 473,000 คน เพิ่มขึ้น 9,000 คน จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการเพิ่มขึ้นของผู้เข้าสู่กำลังแรงงานในช่วงเดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงสำเร็จการศึกษา จึงทำให้มีผู้จบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มมากกว่าปกติ โดยเพิ่มขึ้น 5,000 คน จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับมีผู้ลาออกจากงานเพิ่มขึ้น 2,000 คน ทำให้มีผู้มีงานทำจำนวน 11.11 ล้านคนในเดือนนี้ โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 19,000 คน จากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.2 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการผลิตในหมวดเหมืองแร่และเหมืองหินที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 14 เดือน โดยขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และการผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.1 ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารที่หดตัวต่อเนื่อง ประกอบกับราคาสินค้าหมวดการคมนาคมและหมวดการบริการขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 7.5 ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 ขาดดุล 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดลงจากที่ขาดดุล 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกงในเดือนก่อนหน้า และเป็นการขาดดุลการค้าต่ำที่สุดในรอบ 19 เดือน
มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 0.002 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ภายหลังจากหดตัวเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน โดยการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวร้อยละ -29.8 ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 55 ในขณะที่การนำเข้าเขื้อเพลิงและแร่ขยายตัวร้อยละ 20.4 โดยดุลการค้าในเดือนดังกล่าวขาดดุลมูลค่า -32.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.3จากราคาสินค้าทุกหมวดที่ขยายตัวชะลอลง
- ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 4 เดือน ณ วันที่ 25 ก.ย. 57 โดยปิดที่ 1,591.89 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 49,797 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากการทำ Window Dressing ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ปี 57 เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22 - 25 ก.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 8,293.92 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ปรับลดลง 0 - 6 bps เป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury และจากการเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น Benchmark อายุ 10 ปี และ 30 ปี โดยนักลงทุนยังคงจับตามองการประกาศตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ในคืนวันที่ 26 ก.ย. 57 เพื่อประเมินการความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22 - 25 ก.ย. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 4,785.8 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 25 ก.ย. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.05 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเยน ยูโร ริงกิตมาเลเซีย และดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.29 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำเพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 25 ก.ย. 57 ปิดที่ 1,222.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งสูงกว่าต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,214.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th